27 มี.ค. เวลา 13:30 • ข่าว

ไทยเสี่ยง ขาดแคลน “แรงงาน” ประชากรน้อย แนวโน้มลด เดินตามรอยจีน อีก 10 ปีข้างหน้า สวนทางเพื่อนบ้าน

จำนวนแนวโน้ม ประชากร ที่ลดน้อยถอยลง กำลังเป็นเรื่องใหญ่ทางเศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลก โดย “จีน” เป็นตัวอย่าง ของความน่ากังวลที่ชัดเจนที่สุด เพราะอยู่ระหว่างเผชิญปัญหา ประชากรจีนลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 60 ปี จน อินเดีย ขึ้นมาแซงหน้า
1
ซึ่งนั่นอาจทำให้อนาคต นอกจากจีนจะมีฐานรายได้จากภาษีที่ลดลง และฟุ่มเฟือยค่าใช้จ่ายของรัฐ ไปกับการดูแล สังคมสูงวัยมากขึ้น ในภาคอุตสาหกรรม ก็มีโอกาส “ขาดแคลนแรงงาน” สูงด้วย
1
อย่างไรก็ดี สถานการณ์เช่นนี้ อาจกำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย อ้างอิงข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ไทยมีสัดส่วนประชากรวัยทำงานน้อย และมีแนวโน้มลดลงมากขึ้น
1
เนื่องจาก ไทยกำลังเข้าสู่ Super-Aged Society ซึ่งหมายถึง ประเทศที่มีสัดส่วนประชากรอายุมากกว่า 65 ปี มากกว่า 20% ของประชากรทั้งหมด ก่อนหลายประเทศในเอเชีย ในอีก 10 ปีข้างหน้า สวนทางกับประเทศเพื่อนบ้าน
4
★ ไทย
- ปี 2567 สัดส่วนแรงงาน อยู่ที่ 61% แต่ ปี 2577 อาจลดลงเหลือเพียง 56%
★ จีน
- ปี 2567 สัดส่วนแรงงาน อยู่ที่ 63% แต่ ปี 2577 ลดลงเหลือ 59%
1
★ ฟิลิปปินส์
-ปี 2567 สัดส่วนแรงงาน อยู่ที่ 61% แต่ ปี 2577 จะเพิ่มขึ้นเป็น 62%
★ เวียดนาม
-ปี 2567 สัดส่วนแรงงาน อยู่ที่ 63% แต่ ปี 2577 ลดลงเหลือ 62%
★ อินโดนีเซีย
-ปี 2567 สัดส่วนแรงงาน อยู่ที่ 64% แต่ ปี 2577 ลดลงเหลือ 63%
★ อินเดีย
-ปี 2567 สัดส่วนแรงงาน อยู่ที่ 65% ขณะ ปี 2577 ยังคงสูงที่ 65%
จะเห็นได้ว่า จำนวนประชากรของอินเดีย ที่จะเปลี่ยนเป็น วัยแรงงาน ยังคงแข็งแกร่ง โดยมีอัตราการเติบโตราว 8.1% (1,557.9 ล้านคน) ในอีก 10 ปีข้างหน้า ขณะแชมป์เก่าผู้ครองตำแหน่ง ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก อย่างจีน ตามข้อมูลจะลดลง 1.5% จาก กว่า 1,425.2 ล้านคน มาอยู่ที่ 1,403.3 ล้านคน
เช่นเดียวกับแนวโน้มของประเทศไทย ที่จากปัจจุบันมีจำนวนประชากรรวมทั้งประเทศ 71.9 ล้านคน ในอีก 10 ปีข้างหน้า จะลดลง 0.1% มาอยู่ที่ 71.8 สวนทางประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ เช่น อินโดนีเซีย แนวโน้มสัดส่วนประชากรสูงขึ้น 7%, ฟิลิปปินส์ 14.2% และเวียดนาม เพิ่มขึ้น 4.8%
1
ทั้งนี้ จากจำนวนประชากรไทยที่ลดลง และจะมีสัดส่วนแรงงานสูงอายุและผู้เกษียณอายุเพิ่มขึ้น มีผลกระทบต่อตลาดแรงงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากประเทศไทยยังคงเน้นใช้ปัจจัยแรงงานเป็นปัจจัยสำคัญในกระบวนการผลิต ซึ่งภาคเกษตรและภาคบริการ ก็ยังคงเป็นภาคที่มีความเข้มข้นในการใช้แรงงานเป็นปัจจัยการผลิตสูง
แต่กลุ่มแรงงานที่สำคัญที่สุด ต่อกระบวนการผลิต คือ แรงงานกลุ่มวัยทำงานที่มีอายุตั้งแต่ 25–59 ปี ซึ่งเมื่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่ส่งผลให้กำลังแรงงานในวัยทำงานลดลง อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อผลผลิตในภาคการผลิต และทิศทางการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย
ข้อมูล : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, วิทยาลัยประชากรศาสตร์ มหิดล
ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ Thairath Money ได้ที่
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney
โฆษณา