28 มี.ค. เวลา 01:11 • การศึกษา

7 ข้อสนเท่ห์ ที่สุรินทร์

Achara Phanurat*
วันนี้เป็นวันดี วันจักรี เป็นวันคล้ายวันปฐมครองราชของราชวงศ์จักรี และเป็นเดือนแห่งการเคลื่อนข้ามปีของพระอาทิตย์หรือวันขึ้นปีใหม่ของไทย ชุมชนผู้เลี้ยงช้างจึงเห็นสมควรจัดสงกรานต์ช้างโลกครั้งที่ 1 ใdห้เป็นประเพณีอันเนื่องจากความสามารถของวัดแห่งนี้สามารถบูรณาการลัทธิปะกำโบราณเข้ากีบพุทธศาสนาอย่างลงตัว เป็นข้อน่าสนเท่ห์ประการที่ (1)
กิจกรรมหลายอย่างทุ่มเทเพื่อให้ช้างมีความสุขสนุกสนานในการเล่นน้ำและพ่นน้ำ หมอช้างจะได้สำนึกแห่งความอาวุโสอีกปีหนึ่ง และตระหนักรู้ที่จะอนุรักษ์ช้างให้เป็นมรดกของโลก หมอช้าง 30 คนทั่วประเทศ ได้ปรากฏตัวที่นี่ ทำให้ข้าพเจ้าตื่นรู้ว่าองค์ความรู้คชศาสตร์โบราณถูกเก็บรักษาอย่างดีในกายและใจของหมอช้าง เสมือนเตือนสติให้ชุมชนรับรู้ว่าการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขต้องมีปราชญ์ทัองถิ่นเป็นองค์ประกอบสำคัญ นี่คือข้อสนเท่ห์ประการที่(2)
การอนุรักษ์และฟื้นฟูกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมอย่างเป็นรูปธรรมของชาวจังหวัดสุรินทร์ กระทั่งมีระบำชนสามเผ่าอันเป็นคติชนสะท้อนความสันติสุข...สอดคล้องกับนโยบายขององค์การยูเนสโก นี่เป็นข้อสนเท่ห์ประการที่(3)
การใช้กลไก"บวร"
(บ้าน-วัด-ส่วนราชการ)ตามแนวพระราชดำริของกษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 9 โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางรวบรวมและอำนวยการพิธีกรรมและประเพณีอย่างต่อเนื่องจนเกิดความสามัคคีมีความสันติสุขจนเป็นหมู่บ้านคุณธรรมอันดับ 1 ของประทศไทย นี่ก็เป็นข้อสนเท่ห์ประการที่(4)
ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์และหัวหน้าส่วนราชการริเริ่มจัดการแสดงคล้องช้างป่าให้เป็นงานประจำปีตั้งแต่ 1962 เป็นตันมา บัดนี้ป็นเวลา 62 ปี ยาวนานพอที่บ่มเพาะให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันแตะต้องไม่ได้และเป็นเชิงประจักษ์แก่ชาวโลกต่อไป นี่ก็เป็นข้อสนเท่ห์ประการที่(5)
ช้างสุรินทร์ 549 ตัว เท่ากับจังหวัดสุรินทร์มีประชากรเพิ่มขึ้น 300,000 คน แต่ช้างต้องเป็นอยู่อีกระบบหนึ่งต่างหาก ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรทั้ง
8 นักการเมืองท้องถิ่นอีกหลายคน พระสังฆาธิการทุกวัด และหัวหน้าส่วนราชการทั้งจังหวัดรวมทั้งองค์กรภาคประชาชนและเอกชนต้องทุ่มเททำงานเพิ่มขึ้นมากกว่าจังหวัดอื่น หลายเท่า นี่คือข้อสนเท่ห์ประการที่(6)
แม้การแสดงของช้างสามารถดึงดูดคนทั่วโลกมาชมเพียง1-2 วัน แต่พบความชาญฉลาดของชาวสุรินทร์ที่ใช้มรดกทางวัฒนธรรมหรือsoft power ดึงดูดศิลปินทั่วโลกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมกันพัฒนาคติชนวิทยาอย่างเป็นสากล กิจกรรมของมูลนิธิส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมสุรินทร์ก่อตั้งมา 27 ปีและทำงานเสริมทั้งเศรษฐกิจการศึกษา วัฒนธรรมของประเทศไทยมาอย่างเข้มแข็งนี่ก็เป็นข้อสนเท่ห์ประการที่(7)
ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจ 7 ประการนี้เป็นที่สนใจของทุกประเทศทั่วโลก เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับชุมชนมนุษย์และช้างในลุ่มน้ำลำชีมูล ขอขอบคุณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ หัวหน้าส่วนราชการ ขุนนาง นักวิชาการท้องถิ่น และชุมชนคนเลี้ยงช้างที่ให้บรรยากาศอบอุ่นที่สุรินทร์
ถึงเวลาอันสมควรเปิดงานสงกรานต์ช้างโลกครั้งที่ 1
หนังสืออ้างอิง
อัจฉรา ภาณุรัตน์(2020)รายงานผลงาน 20 ปี SIFF/ThailandIFF สุรินทร์ : TIFF PRESS.
สมศรี บุญมี(2567)รายงานผลงานมูลนิธิส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์. สุรินทร์: รุ่งธนเกียรติออฟเซ็ต.
-
* อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ประเทศไทย
* ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเมฆาลัย ประเทศอินเดีย
โฆษณา