28 มี.ค. เวลา 05:00 • หนังสือ

The Courage To Be Disliked

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือประหลาดมาก เขียนโดยชาวญี่ปุ่น พูดถึงวิธีการจัดการกับชีวิตตัวเองให้มีความสุข ถ้าให้เปรียบเทียบคงจะเห็นเหมือน Marie Kondo แต่เป็นเวอร์ชั่นสำหรับจิตใจ แทนที่จะเป็นบ้านตัวเอง
Ichiro Kishimi ผู้แต่ง (ร่วมกับ Fumitake Koga) เป็นผู้แปลหนังสือของ Alfred Adler ที่ชื่อว่า The Science of Living and Problems of Neurosis เขาจึงมีความเข้าใจเกี่ยวกับจิตวิทยาแบบของ Alfred Adler ที่พยายามจะบอกว่า คนเราเป็นคนที่รับผิดชอบ และเลือกที่จะมีความสุขเอง ไม่ได้เกี่ยวกับสภาวะในอดีต
หนังสือเล่มนี้เขียนเป็นแบบเป็นบทสนทนาระหว่างผู้อาวุโสคนหนึ่งที่มีความรู้ทางจิตวิทยาเป็นอย่างดี กับเด็กหนุ่มอีกคน ห้าคืนด้วยกัน คล้ายคลึงกับการที่ Fumitake Koga ที่ได้สนทนากับ Ichiro Kishimi ในเรื่องการใช้ชีวิต
🌕 คืนแรก : การปฏิเสธแผลใจ
Alfred Adler เป็นนักจิตวิทยาที่ทำงานกับ Sigmund Freud แต่มีความคิดที่ขัดแย้งกันมาก
Freud เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์มีผลมาจากประสบการณ์ และสิ่งแวดล้อมในอดีต ทำให้มีแผลใจ และแผลใจส่งให้มนุษย์มีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน พฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจึงอธิบายที่มาที่ไปได้ เช่น คนๆ หนึ่งอาจจะมีพฤติกรรมไม่ดี เพราะเคยถูกทอดทิ้งตอนเด็กๆ เป็นต้น
Adler กลับเชื่อว่า อดีตไม่ได้มีควรจะมีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมในปัจจุบัน หรืออนาคตเลย แต่มนุษย์เลือกที่จะมีวิธีการดำรงชีวิต วิธีการตัดสินใจต่างๆ เป็นของตัวเอง ที่ในหนังสือเล่มนี้เรียกว่า Lifestyle และ Lifestyle เป็นสิ่งที่เราเลือกเอง อย่าได้ไปอ้างกับอดีต หรือคิดว่าตัวเองมีข้อจำกัดต่างๆ ในการเลือก Lifestyle ของตัวเอง
Your life is not something that someone gives you, but something you choose yourself, and you are the one who decides how you live.
No experience is in itself a cause of our success or failure. We do not suffer from the shock of our experiences—the so-called trauma—but instead, we make out of them whatever suits our purposes. We are not determined by our experiences, but the meaning we give them is self-determining.
ดังนั้น ไม่มีใครที่เปลี่ยนแปลงตัวเองไม่ได้ เราเพียงอ้างโน่นอ้างนี่ เพื่อที่จะไม่เปลี่ยนตัวเองต่างหาก เพราะมันช่วยให้ใช้ชีวิตได้ง่าย
เทคนิคการสังเกตตัวเอง คือ การดูว่า เราใช้ทำว่า "ฉันอยากจะมีชีวิตเหมือนคนแบบนี้ เพราะฉันจะได้..... " หรือ "ถ้าฉันแบบนี้ ฉันจะ...." ถ้าคิดแบบนี้ เท่ากับการจำกัดทางเลือกที่จะมี Lifestyle ที่ควรจะเป็น และมีความสุขตามที่ควรจะเป็น
(เดี๋ยวไว้มาต่อคืนที่สอง)
โฆษณา