29 มี.ค. เวลา 01:34 • สุขภาพ

10 ข้อที่ต้องรู้..ในการดูแลผู้สูงอายุ

เมื่อมีผู้สูงอายุภายในบ้านส่วนหนึ่งแล้วหลายๆบ้านหรือหลายๆคนมักที่จะไม่รู้ว่าหลักใหญ่ๆของการดูแลผู้สูงอายุนั้นมีความสำคัญมากน้อยพียงใด ทั้งการดูแลที่บ้านโรงพยาบาลหรือแม้แต่ศูนย์บริการดูแลผู้สูงอายุ ในบทความนี้จะมาแนะนำ 10 ข้อที่ต้องรู้..ในการ ดูแลผู้สูงอายุ* และ เรื่องการปรับการกินอาหาร* และการปรุงอาหารให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ
เรื่องที่มีเกือบทุกบ้านและเป็นเรื่องยากที่ต้องบอกเลยว่าละเอียดอ่อนมากๆอีกหนึ่งเรื่องคงจะหนีไม่พ้นเรื่องของ การดูแลผู้สูงอายุ วันนี้บทความนี้จะมาแนะนำการดูแลผู้สูงอายุที่สามารถทำได้เองที่บ้าน
เรื่องของการทานอาหาร
อาหารควรจะเป็นลักษณะที่ว่าช่วยสับช่วยบด การปรุงก็อาจจะเป็นลักษณะที่ว่าเปลี่ยนมาเป็นการต้มการนึ่งให้และคอยหมั่นสังเกตช่องปากว่า ปากและฟันของผู้สูงอายุมีอะไรผิดปกติหรือเปล่า ควรพบแพทย์ปีละ 2 ครั้ง หรือ 6 เดือนครั้ง
เรื่องของการออกกำลังกาย
ผู้ดูแลสามารถที่จะช่วยเหลือผู้สูงอายุในคนไข้ที่เคลื่อนไหวร่างกายไม่ค่อยได้หรือไม่ค่อยสะดวก อาจจะช่วยเขาได้บ้างในการยกแขนยกขา หรือว่าจัดเวลาที่ไม่ควรใช้ในการออกกำลังกายมากเกินไป เอาเท่าที่ผู้สูงอายุพอไหว
เรื่องสุขวิทยา
เป็นลักษณะที่ผู้สูงอายุบางคนที่เขายังมีการติดสิ่งเสพติดไม่ว่าจะเป็นของมึนเมารวมไปจนถึงบุหรี่ ก็สามารถแนะนำให้ผู้สูงอายุลด ละ เลิก ให้ได้ และจำกัดสิ่งต่างๆที่มันจะทำให้สุขภาพของผู้สูงอายุเสีย
เรื่องของการขับถ่าย
การขับถ่ายส่งผลอย่างไรในผู้สูงอายุจะเป็นค่อนข้างเยอะทั้งด้านปัสสาวะและอุจจาระ แนะนำว่าให้ทางผู้ดูแลคอยหมั่นสังเกตว่าวันนี้ปัสสาวะของผู้สูงอายุนั้นผิดปกติไหมน้อยไปหรือเปล่าหรือว่าการขับถ่ายก็เช่นกันว่าขับถ่ายได้ไหม หรือว่ากี่วันแล้วถึงจะขับถ่ายหนึ่งครั้ง
เรื่องของความสะอาด
ในแต่ละวันเขาอาบน้ำกี่ครั้งอาบแล้วสะอาดหรือเปล่าซอกมือซอกเล็บซอกเท้า หรือว่าการแช่มือแช่เท้าให้เขาก็ต้องคอยดูว่า หลังจากที่ทำแล้วมีอะไรผิดปกติตามร่างกายหรือเปล่า
เรื่องของการใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ
การใช้เครื่องมือช่วยพยุงหรือว่าการใช้ไม้เท้าในการที่ผู้สูงอายุเขาเดินไปเดินมาการเดินของเขามันผิดปกติไหม
เรื่องการรับประทานยา
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะต้องมียาประจำตัวอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเรื่องของยาเราอาจจะเป็นลักษณะที่ว่า ดูว่าผู้สูงอายุมียาอะไรบ้างจัดเองได้ไหมหรือต้องให้ช่วยจัดหรือเปล่าหมอสั่งอะไรมาให้แล้วผู้สูงอายุสามารถทานได้ตรงตามเวลาหรือเปล่า กับในเรื่องของการไปพบแพทย์ ผู้ดูแลอาจจะเป็นลักษณะที่ต้องคอยดูว่าในแต่ละวันในแต่ละครั้งที่จะต้องไปพบแพทย์เนี่ยผู้สูงอายุสามารถไปตรงเวลาได้ไหม หากมีอาการที่ผิดปกติก่อนที่จะต้องควรไปพบแพทย์ด่วน เราก็สามารภที่จะพาเขาไปพบแพทย์ก่อนได้
เรื่องของสภาพจิตใจ
คนไข้อาจจะเป็นลักษณะที่ว่ามีการปล่อยวางบ้างในบางสิ่งบางอย่าง หรือว่าในเรื่องของการพาเขาออกไปทำบุญเปลี่ยนบรรยากาศให้ผู้สูงอายุรู้สึกสบายการสบายใจ
สิ่งแวดล้อมในบ้าน
บ้านลักษณะของบ้านที่อยู่อาศัยที่เป็นสิ่งแวดล้อมที่มันเสียงต่อการที่เขาต้องพลัดกันตกหกล้มไหม ห้องน้ำมีสิ่งกีดขวางหรือเปล่าพื้นเป็นพื้นลักษณะแบบไหน เขาเดินแล้วเขามั่นใจในการเดินไหมแล้วก็ต้องคอยสังเกตดู
ความอบอุ่นในบ้าน
ผู้สูงอายุถึงแม้ว่าเขาย่างเข้าสู่วัยผู้สูงอายุบางคนอาจจะอยากอยู่คนเดียว อย่างงบๆแต่ลึกๆของเขาแล้ว การที่เราพาลูกหลานมาหาเขาหรือว่ามาชวนพูดคุยหรือพาเขาออกไปเที่ยวข้างนอกบ้านบ้าง ก็จะทำให้เขามีความสุขมากขึ้น
เมื่อรู้จักหลัก 10 ข้อของการดูแลผู้สูงอายุแล้วสิ่งหนึ่งที่ต้องรู้คือเรื่องของอาหารการกิน ที่ต้องการความใส่ใจเป็นพิเศษเพราะกลุ่มผู้สูงอายุนั้นไม่สามารถทานอาหารได้เหมือนสมัยวัยหนุ่มสาววันนี้เราจะพามารู้จักว่า อาหารชนิดไหนบ้างที่ควรทานและไม่ควรทาน
อาหารสำหรับผู้สูงอายุที่ควรหลีกเลี่ยง
เนื้อสัตว์เคี้ยวยาก หรือผักเนื้อแข็ง
ผักผลไม้ที่มีเส้นใยอาหารสูง
ขนมเหนียวๆ เช่น เปียกปูน ขนมชั้น เพราะติดคอได้ง่าย
กุยช่าย และเห็ดเข็มทอง เพราะติดฟันง่าย จึงกลืนยาก
ขนมกรุบกรอบ เช่น ขนมปัง หรือคุกกี้
อาหารที่เป็นผง เช่น นมผง งาบด
สาหร่ายต่างๆ เพราะ ติดคอง่าย
ของหมักดองที่มีกลิ่นแรง ทำให้สำลักได้ง่าย
อาหารประเภทเส้น เช่น บะหมี่ อูด้ง เส้นก๋วยเตี๋ยวที่ไม่ได้ตัดให้สั้นลง
ปรุงอาหารอย่างไรให้การกิน อาหารสำหรับผู้สูงอายุ เป็นเรื่องง่าย
การเปลี่ยนวิธีการอาหารสำหรับผู้สูงอายุนั้นจะช่วยทำให้ผู้สูงอายุ เคี้ยวหรือกลืนอาหารได้โดยไม่ต้องใช้ความพยายาม และช่วยป้องกันการสำลักที่มักเป็นสาเหตุให้ทานอาหารได้น้อยลง และการเปลี่ยนแปลงการปรุงอาหารจะที่ให้ผู้สูงอายุที่ได้รับการเฝ้าไข่ทั้งที่บ้านโรงพยาบาลหรือแม้แต่ศูนย์บริการดูและผู้สูงอายุควรรู้ ซึ่งสามารถทำได้โดยการเปลี่ยนส่วนผสม ปรับปริมาณ ขนาด ความแข็ง ความเหนียว และความข้นของอาหาร ให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุแต่ละคนได้
1.ข้าว / เส้นต่างๆ / ขนมปัง
หุงข้าวให้นุ่มกว่าปกติ
ทำเป็นข้าวต้ม โดยใช้อัตราส่วนข้าวสาร 1 ส่วน น้ำ 5 ส่วน
ทำเป็นข้าวเปียก โดยใช้อัตราส่วนข้าวสาร ½ ส่วน น้ำ 5 ส่วน
หั่นเส้นพาสต้า หรือเส้นก๋วยเตี๋ยวให้สั้นลง
แช่ขนมปังในนมจนนุ่มเพื่อให้เคี้ยวง่ายขึ้น
หลีกเลี่ยงเบเกอรี่เนื้อกรุบกรอบ
ปั่นข้าวต้มให้เป็นเนื้อเนียนละเอียด
2.กับข้าว
เนื้อสัตว์ควรเลือกเนื้อติดมันเล็กน้อย เช่น สันนอกหมู หรือสะโพกไก่ และตัดเอ็นออก ต้มให้นิ่ม
เนื้อปลาควรเลือกปลาเนื้อไม่แข็ง เช่น ปลานิล ปลาตาเดียว ปลากะพง
เนื้อสัตว์ ต้มจนนิ่มจนใช้ตะเกียบหรือช้อนตัดขาดได้ง่าย
เนื้อปลา เลือกปลาเนื้อนิ่มต้มจนสุก
3.ผัก
ผักที่มีเส้นใยควรหั่นเป็นชิ้นสามเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยม หนา 5-8 มิลลิเมตร
ต้มจนนิ่มเพื่อให้กลืนง่าย
ต้มจนนิ่มแล้วทำเป็นน้ำราด เช่น ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า
ต้มจนเปื่อยสามารถกินได้โดยไม่ต้องเคี้ยว เช่น จับฉ่าย
ตัวอย่างเมนู อาหารผู้สูงอายุ
โจ๊ก ข้าวต้มปลา ข้าวโอ๊ตต้มใส่นม ไข่ตุ๋น
ซุปมะเขือเทศ ซุปเห็ด ซุปฟักทอง ซุปลูกเดือย ซุปข้าวกล้อง ซุปธัญพืช
ถั่วแดงกวน ถั่วเขียวต้มน้ำตาล ลูกเดือยต้มน้ำตาล กล้วยบวชชี ฟักทอ
ผัดไข่ เห็ดผัดน้ำมันหอย ผัดดอกกุ้ยช่ายตับ ผัดไชโป้วใส่ไข่ ผัดผัดบุ้ง
ต้มเลือดหมู กระเพาะตุ๋นน้ำแดง ต้มยำปลากระพง
ปลาเล็กปลาน้อยทอด ทอดมันปลากราย
แกงส้มผักรวม แกงจืดไข่เจียว แกงป่าไก่ แกงจืดตำลึงหมูสับ ต้มจับฉ่าย
ก๋วยเตี๋ยวหลอด สลัดปลาทูน่า สุกี้กุ้ง ฟักไก่ตุ๋นมะนาวดอง
สรุป
อันนี้คือหลักๆ 10 ข้อสำหรับในการดูแลผู้สูงอายุขณะอยู่บ้านหรือแม้แต่ในโรงพยาบาลหรือศูนย์บริการรับดูแลผู้สูงอายุ และเรื่องการรับประทานอาหารของกลุ่มผู้สูงอายุ หมายเหตุก่อนเลือกใช้ส่วนผสมทำอาหารแต่ละเมนู ควรดูความสามารถในการกินอาหาร เช่น การเคี้ยว และการกลืน ของผู้สูงอายุอาหารประเภทต้มจนเปื่อยนิ่ม เช่น เมนูต้มจับฉ่าย หมูตุ๋น ปลานึ่งซีอิ๊ว แล้วหั่นให้เป็นชิ้นพอดีคำ เป็นอาหารยอดฮิตที่เหมาะกับผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม
หากท่านกำลังกังวลเรื่องการดูแลผู้ป่วยพักฟื้น ผู้สูงอายุ การกายภาพบำบัด การจัดกิจกรรมบำบัด การชะลอความเสื่อม สามารถให้ Care24 จัดส่งผู้ดูแลมืออาชีพเข้าไปช่วยดูแล และประคับประคองให้ท่านได้นะคะ Care24 สามารถช่วยท่านดูแล ได้ทั้งระยะสั้น และระยะยาวค่ะ (รายวัน รายเดือน รายสัปดาห์)
สนใจติดต่อ | Contact
Tel 099-1897615
Line https://lin.ee/PWCt2GC (@Care24th)
#Care24 #ผู้สูงอายุ #ดูแลผู้สูงอายุ #เฝ้าไข้ที่บ้าน #สุขภาพ #อาหารสุขภาพ #โรงพยาบาล #ประกันสุขภาพ #สุขภาพ #เฝ้าไข้โรงพยาบาล #การดูแลผู้ป่วยพักฟื้น #การกายภาพบำบัด #การชะลอความเสื่อม
โฆษณา