Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Wild?
•
ติดตาม
29 มี.ค. เวลา 03:29 • สิ่งแวดล้อม
อย่าหากิน! 'ว่านจักจั่น' ไม่ใช่ว่าน แต่เป็นจักจั่นที่ตายเพราะ 'ติดเชื้อรา’
หน้าฝนนี้ต้องระวัง! จากกระแสวัตถุมงคลที่ผ่านมาที่เชื่อว่า ว่านจักจั่น เป็นว่านสมุนไพร รักษาโรคร้ายต่าง ๆ และมีพุทธคุณ หากใครได้บูชาก็จะมีทรัพย์สินงอกเงยไม่ขาดมือ หรือได้กินก็จะรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้
แต่ในความเป็นจริง ว่านจักจั่น ไม่ใช่ว่าน และไม่ใช่พืช แต่เป็นจักจั่นที่ตายแล้วจากการติดเชื้อราต่างหาก!
วันนี้แอดมินจึงขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับว่านจักจั่น หรือซากจักจั่นว่ามันคืออะไรกันแน่ แล้วทำไมถึงมีรูปร่างหน้าตาประหลาดเช่นนี้
#ว่านจักจั่นคืออะไร?
ว่านจักจั่นไม่ใช่พืช แต่เป็น ‘จักจั่นที่ตายแล้วจากการติดเชื้อรา’ จักจั่นสามารถติดเชื้อราได้ในขณะที่เป็นตัวอ่อน ช่วงที่ขึ้นมาลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยเหนือดิน เนื่องจากระยะนี้จักจั่นจะอ่อนแอมาก บวกกับช่วงหน้าฝนที่สภาพอากาศมีความชื้นสูง ทำให้เชื้อราแพร่กระจายได้ดีในอากาศ
เมื่อเชื้อราตกลงสู่พื้นดินไปอยู่บนตัวจักจั่นผู้อ่อนแอ ภูมิต้านทานต่ำ จึงทำให้เชื้อราสามารถแทงเส้นใยเข้าไป และเจริญเติบโตภายในตัวจักจั่นได้ดี แย่งน้ำ อาหาร แร่ธาตุต่าง ๆ และทำให้จักจั่นตายในที่สุด!
เมื่อจักจั่นตายแล้ว เชื้อราไม่สามารถหาอาหารได้อีกต่อไป จึงต้องพยายามไปหาอาหารที่อื่น โดยมีการปรับตัวให้โครงสร้างสืบพันธุ์มีลักษณะเหมือนเขายืดขึ้นเหนือพื้นดิน คล้ายหน่อพืชหรือว่าน ซึ่งลักษณะนี้เอง จึงเป็นที่มาของชื่อที่ใช้เรียกสิ่งนี้ว่า ‘ว่านจักจั่น’ แต่มันไม่ใช่ว่าน! และไม่มีสรรพคุณรักษาโรค หรือมีพุทธคุณแต่อย่างใด
สปอร์ หรือ เซลล์สืบพันธุ์ที่ติดอยู่บริเวณปลายเขาที่สร้างขึ้น จะต้องอาศัยลมหรือน้ำในการพัดพาให้ไปตกอยู่ในที่อื่น ๆ เพื่อค้นหาจักจั่นโชคร้ายตัวต่อไป
#จักจั่นที่ตายแล้วติดเชื้อราอะไร?
เชื้อราที่มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ในตัวแมลงที่มีชีวิตเช่นนี้ จัดอยู่ในประเภทเชื้อราทำลายแมลง จากงานวิจัยนักวิจัยสันนิษฐานว่าเป็นเชื้อรา Cordyceps sobolifer และจากการศึกษาจากไบโอเทค พบว่ามีเชื้อราทำลายแมลงในประเทศไทยมากกว่า 400 ชนิด พบได้ทั้งในหนอน แมลงวัน มวน เพลี้ย ผีเสื้อ ปลวก แมลงปอ แมงมุม หรือแม้แต่มดก็ตาม
และข้อมูลจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ชี้ให้เห็นว่า ‘ว่านจักจั่น’ มีความใกล้เคียงกับเชื้อรา Ophiocordyceps sobolifera เมื่อกินแล้วจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว ชัก กล้ามเนื้อเกร็งกระตุก ดวงตาหมุนวนไปรอบ ๆ ไม่มีทิศทางที่ชัดเจน อ่อนแรง ใจสั่น เวียนศีรษะ และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ หรืออาการ tremorgenic mycotoxins ซึ่งไม่มียาแก้ ต้องรักษาไปตามอาการ แบบประคับประคองเท่านั้น
นอกจากนี้ในประเทศเวียดนาม มีรายงานการกินว่านจักจั่นชนิด Ophiocordyceps heteropoda ทำให้เกิดอาการเวียนหัว อาเจียน น้ำลายไหล ม่านตาขยาย กรามแข็ง ไม่สามารถขับปัสสาวะได้ตามปกติ ชัก เพ้อคลั่ง เกิดภาพหลอน ง่วงซึม โคม่า และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ นั่นก็คืออาการ tremorgenic mycotoxins เช่นกัน
เห็นไหมว่า ว่านจักจั่นที่อ้างว่ามีสรรพคุณต่าง ๆ นา ๆ นอกจากจะไม่ได้เป็นยารักษาโรคแล้ว ยังมีโทษรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ลองนึกภาพตาม ขนาดขนมปังขึ้นรา เรายังหลีกเลี่ยงที่จะไม่กิน แล้วซากจักจั่นที่ตายเพราะเชื้อรา เรายังจะกล้ากินและกล้าบูชากันอีกหรือ
และนี่คือเหตุผลว่าทำไมเราไม่ควรหากินว่านจักจั่น เพราะมันไม่ใช่ว่าน แต่คือเชื้อรา นั่นเอง
อ้างอิง
-
http://www1a.biotec.or.th/brt/index.php/biodiversity/320-cordyceps-sobolifer
-
https://www.thaipbs.or.th/news/content/304506
-
https://www.facebook.com/profile/100037816481049/search/?q=%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B9%8A%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99
เรื่องเล่า
ข่าวรอบโลก
environment
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย