29 มี.ค. 2024 เวลา 10:12 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

ผู้ประกาศข่าว AI ทั่วโลกมีที่ไหนบ้าง หลัง ณัชชา AI ผู้ประกาศข่าวเนชั่นทีวี จุดกระแสให้บูมในไทย

กลายเป็นไวรัลของสังคม เมื่อ เนชั่นทีวี จะใช้ AI เป็นผู้ประกาศข่าวในรายการ News Alert โดยจะเริ่มวันที่ 1 เมษายน 2567 ภายใต้ชื่อ ณัชชา กับ ณิชชาน นอกจากนี้ ผู้ประกาศ AI ของเนชั่นทีวีนั้น สามารถต่อยอดสู่งานหลากหลายรูปแบบ อาทิ Influencer, พิธีกรงาน Event และ Virtual conference โดย Ai Reporter จะทำหน้าที่เสมือน Brand Ambassador ของเนชั่นทีวี ต่อไปด้วย
เมื่อกองไฟแห่งกระแสเทคโนโลยี ถูกจุดให้ลุกโชนขึ้นแล้ว , เราขอรวบรวมพัฒนาการ ผู้ประกาศข่าว หรือ นักข่าว ในบทบาท AI ที่โลกเคยมีมา , โลกมี คนอ่านข่าว มีผู้ประกาศข่าว ครั้งแรกเมื่อไร ? แล้ว ณ เวลานี้ มีประเทศไหนบ้าง (บางส่วนไม่ใช่ทั้งหมดในโลก) ที่เริ่มทดลองใช้ ปัญญาประดิษฐ์ ในการทุ่นแรงในการทำงานคนวงการสื่อสารมวลชน
ในแง่ของการริเริ่มในการใช้ AI เป็นผู้ประกาศข่าวนั้น คงต้องยกให้กับ จีน , โดยสำนักข่าวซินหัว Xinhua เคยเปิดตัวผู้ประกาศข่าว AI คนแรกของโลก ในช่วงปี 2561 อาศัยโมเดลหน้าของนักข่าวที่มีตัวตนอยู่จริงเป็นต้นแบบ โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อให้สามารถรายงานข่าวและพร้อมปฏิบัติหน้าที่ในทุกแพลตฟอร์มตลอด 24 ชั่วโมง โดยทั้ง 2 AI มีชื่อว่า Xin Xiahao และ Xin Xiaomeng
1
และเมื่อเข็มนาฬิกาแห่งโลกความทันสมัย เดินไปจนกระทั่งทุกวันนี้ มี AI เกิดขึ้นมาเรื่อยๆ ปัจจุบันหลังจากการเปิดตัวของ ChatGPT ทำให้คนตื่นตัวและพร้อมที่จะพุ่งกระโจนเข้าไปในเรื่องปัญญาประดิษฐ์ และเมื่อมัน ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็จะนำไปสู่การประกาศเปิดตัวและใช้งานนักข่าวเอไอเป็นวงกว้างทั่วโลก
เช่น
สำนักข่าว FTV News จากไต้หวัน มีการใช้ การใช้เทคโนโลยี มาใช้ ผู้ประกาศข่าว AI รับหน้าที่อ่านข่าวพยากรณ์อากาศของ เปิดตัววันที่ 3 กรกฎาคม 2023
โดยในมาเลเซีย Joon และ Monica จากบริษัท Astro Awani โดย Joon จะรับหน้าที่เสนอข่าวในรูปแบบภาษามลายู ส่วน Monica จะนำเสนอข่าวในภาษาอังกฤษ เปิดตัวครั้งแรกในมาเลเซียช่วงเดือนพฤษภาคม 2023
Lisa ผู้ประกาศข่าว AI ที่มาพร้อมชุดส่าหรีสีทองผสมม่วงแดง ตามสไตล์อินเดีย มาทำหน้าที่ อ่านข่าวรายวัน ทำนายโชคชะตา ข่าวกีฬาและรายงานสภาพอากาศ โดยสามารถพูดได้ถึง 75 ภาษา
ขณะที่ อินโดนีเซีย มี เอไอ Nadira, Sasya และ Bhoomi ในช่อง ข่าว tvOne
ส่วน ฟิลิปปินส์ , Maia และ Marco ซึ่ง ทางช่องGMA ได้ใช้ พิธีกร AI มาในงานที่ยกระดับขึ้นอีกขั้น ด้วยการทำงาน รายงานข่าวกีฬาภาคสนาม ในกีฬามหาวิทยาลัยแห่งชาติ และใช้ภาษาได้ทั้ง อังกฤษ และ ตากาล็อก ด้วย
ขณะที่ ใน ภูมิภาค ตะวันออกกลาง ก็มี ผู้ประกาศข่าว AI เช่นกัน โดย ประเทศคูเวต มี AI ชื่อว่า Fedha ซึ่งแปลว่าเงิน (silver) มีไว้อ่านข่าวตามสคริปต์ ด้วยน้ำเสียงที่น่าฟัง
ทั้งนี้ นี่เป็นเพียงตัวอย่างในการนำผู้ประกาศข่าว AI มาใช้งานในโลกแห่งสื่อสารมวลชนที่เกิดขึ้นแล้ว
ปัจจุบันยังมีอีกหลายประเทศที่กำลังอยู่ในขั้นตอนพัฒนาและริเริ่มนำเอาผู้ประกาศข่าว AI เข้ามาสนับสนุนการทำรายการอย่างกว้างขวาง
อย่างไรก็ตาม อีกหนึ่งกระแสที่โจมตี และ วิจารณ์ AI ก็คือ พวกเธอและเขาเหล่านั้น ขาดความเป็นธรรมชาติ การจิตวิญญาณและความพริ้วไหวในการอ่านข่าว น้ำเสียงอาจจะติดความเป็น Mono โทนไปสักนิด และยังไม่สามารถมี ปฏิกิริยาโต้ตอบได้แบบทันทีทันใด
และในแง่มุมอื่นๆ AI ก็เข้ามามีบทบาทในการทำงาน เพราะ เกือบครึ่งหนึ่งของสำนักข่าวทั่วโลกใช้เครื่องมือ AI อยู่แล้ว ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าตัวเลขนี้จะเติบโตขึ้นอีก
แต่ สิ่งที่เกิดขึ้นมาทั้งหมดนั้น คงจะปฏิเสธความจริงไม่ได้เลยว่า ธารกระแสอันเชี่ยวกรากของ AI ในการเป็นผู้ประกาศข่าวนั้น มันกำลังมาแรงจริงๆ....
 
#SPRiNG #SPRiNGTech #AI #ผู้ประกาศข่าวAI #ณัชชา #ณิชชาน
โฆษณา