30 มี.ค. เวลา 12:49 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ดงสาร

ติดตั้งต้นแบบเทคโนโลยีคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว สิ้นสุดการรอคอย

ถือเป็นการพัฒนาโจทย์วิจัย ที่ใช้เวลานานพอสมควร เพื่อวิเคราะห์สาเหตุ ปัจจัยอะไรที่ทำให้ข้าวไม่งอก เกิดไม่สมบูรณ์ เติบโตพร้อมกัน และมีความท้าทายคือ กำลังแก้ปัญหานี้กับข้าวนาปรัง บ.ดงสาร ต.โพนงาม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
ชาวบ้านดงสาร ใช้ภูมิปัญญาเรื่องพันธุ์ข้าวจากบรรพบุรุษ มีองค์ความรู้เดิมคือ จะนำแปลงข้าวที่สวย ๆ อยู่กลางทุ่ง เก็บเป็นพันธุ์ข้าวไว้ใช้ต่อปีหน้า
แต่ด้วยนวัตกรรมสมัยใหม่ ทั้งใช้รถเกี่ยว รถสีข้าว หรือแม้แต่พื้นที่แปลงทำนา มีขนาดน้อยลงจาก 10 ไร่ เหลือ 5 ไร่ ล้วนแล้วเป็นปัจจัยที่เอื้อทำให้พันธุ์ข้าวปน
สิ่งที่ชาวบ้านยังขาด คือองค์ความรู้ด้านการคัดคุณภาพเมล็ดพันธุ์ ส่งผลให้พบกับปัญหาข้าวไม่งอก เติบโตไม่สมบูรณ์ วิธีการเดิมที่ใช้คือก่อนหว่านกล้าจะนำเมล็ดมาแช่น้ำ เมล็ดลีบจะลอยขึ้นแล้วตักออก
ผู้ริเริ่มลองใช้ต้นแบบเทคโนโลยี “ตะแกรงร่อน” คัดเมล็ดพันธุ์ข้าว ย้ำอีกครั้ง ”คัดเมล็ดข้าว“ ไม่ใช่คัดพันธุ์ข้าวองค์ความรู้ต่างกันและใช้วิธีแก้ปัญหาไม่เหมือนกัน ซึ่งชาวดงสารมีปัญหาทั้งสอง ถ้าจะซื้อเมล็ดพันธุ์ก็ไม่มีเงินทุนมากพอ
พ่อเด่น กล่าวว่า “เรารู้แค่วิธีคัดพันธุ์ข้าว ถ้าข้าวปนสังเกตได้คือต้นข้าวจะโตต่างจากเพื่อน ส่วนการคัดเมล็ดพันธุ์ เราทำได้แค่แช่น้ำเอาเมล็ดลีบออก เมล็ดพันธุ์ข้าวเปรียบเหมือน พ่อ-แม่ บางครั้งอาจมีลูกที่ไม่แข็งแรง จึงเติบโตไม่ทันหรือเสียชีวิตก่อน ข้าวก็เช่นกัน”
ต้นแบบเทคโนโลยี ตะแกรงร่อน เข้ามาแก้ปัญหานี้ คัดเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ ส่วนเมล็ดที่ไม่ผ่านนำไปสีนึ่งกินต่อได้ เหมือนเป็นแผนก QC เมล็ดข้าวก่อนลงทำนา
ทำให้ข้าวงอกทุกเมล็ด ต้นข้าวแตกกอ ออกรวงเยอะมีอัตราเกิดเมล็ดถึง 150 - 250 เมล็ดต่อรวง นี่ไม่ใช่ความสำเร็จทั้งหมด เพราะยังต้องจัดการกับพันธุ์ข้าวปน เช่น ถอนต้นข้าวปน เกี่ยวข้าวแปลงที่สมบูรณ์อยู่กลาง ๆ หรือแม้แต่ตีข้าวแบบสมัยก่อนแทนการใช้รถสีเฉพาะพันธุ์ข้าว
แต่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ครั้งนี้คือ ชาวบ้านตระหนักกับปัญหา พร้อมที่จะเรียนรู้การปลูกพันธุ์ข้าวมากขึ้น รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าว จนสามารถรวมกลุ่มเพื่อเป็นระบบและกลไกขับเคลื่อนงานต่อไป
ด้วยกระบวนการวิจัยเริ่มจากศาสตร์ ด้านมนุษย์เข้าไปเป็นพวกกลมกลืนวัฒนธรรมเดียวกัน ต่อด้วยศาสตร์ด้านวิทย์แนะนำเสนอความรู้ใหม่ ทดลองใช้แบบง่าย จนสามารถพัฒนาเป็นต้นแบบเทคโนโลยี โดยคณะอุตสาหกรรม ฯ พร้อมเพิ่มขีดความสามารถด้านการตลาดจาก UBI
พร้อมทั้งเปิดโอกาสใหม่ สัมผัสกับบรรยากาศการท่องเที่ยวชุมชนวิถีชาวบ้านกับ “พิพิธภัณฑ์เกษตรกรรมที่มีชีวิต” โดย Local Alike เร็ว ๆ นี้
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ CiL. คือการจัดสวัสดิการการเรียนรู้ เพิ่มทุนมนุษย์ ร่วมกับกระบวนการวิศวกรสังคม และรวมทุกศาสตร์
ในการปฏิบัติการโมเดลคลังเมล็ดพันธุ์ข้าว ด้วยระบบเกษตรมูลค่าสูง บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีในพื้นที่ และที่ทำการปกครองอำเภออากาศอำนวย โดยได้รับทุนวิจัยจาก บพท.
#เกษตรมูลค่าสูง #โมเดลแก้จน #onepoverty #วิจัยแก้จน #บพท. #มรสน.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา