Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
InvestWay
•
ติดตาม
30 มี.ค. เวลา 23:58 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เหตุใดภาวะหนี้ที่สูงบวกกับเงินฝืดจึงเท่ากับความพินาศ
เงินเฟ้อเป็นสภาวะที่สินค้าและบริการมีราคาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือพูดง่ายๆ ก็คือ เป็นสภาวะที่เงินในกระเป๋าของเราซื้อของได้น้อยลง
หลายๆครั้งภาวะเงินเฟ้อเป็นสิ่งที่น่ากังวลใจ ไม่ว่าจะในฐานะนักลงทุน นักธุรกิจ หรือแม้ต่างประชาชนทั่วไป แต่อย่างไรก็ตามภาวะเงินเฟ้อนั้นก็ยังคงดีกว่าภาวะเงินฝืด
"เงินเฟ้อดีกว่าเงินฝืด" เป็นประโยคที่ใครหลายๆคนอาจจะเคยได้ยิน ซึ่งถึงแม้อัตราเงินเฟ้อจะเป็นสิ่งที่บ่งชี้ว่าราคาสินค้าและบริการมีการปรับตัวสูงขึ้น
แต่ในอีกบริบทหนึ่งอัตราเงินเฟ้อก็บ่งบอกถึง ระบบเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตและสะท้อนให้เห็นถึงการขยายตัวของอุปสงค์หรือความต้องการสินค้าและบริการ
ในทางกลับกันภาวะเงินฝืดสะท้อนถึงการชะลอตัวของระบบเศรษฐกิจและความต้องการสินค้าและบริการ โดยหากเกิดภาวะเงินฝืดเป็นเวลานานก็อาจทำให้เกิดการหดตัวของเศรษฐกิจ
ซึ่งทั้งภาวะเงินเฟ้อและภาวะเงินฝืดจะเป็นสิ่งที่มักเกิดขึ้นสลับกันไปมาอยู่ตลอดเวลา และมักจะมีธนาคารกลางและรัฐบาลค่อยกำกับดูแลเพื่อไม่ให้ภาวะดังกล่าวส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจมากจนเกินไป โดยเครื่องมือที่พวกเขามักใช้กัน ก็คือ การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายและนโยบายทางการคลังต่างๆ
อย่างไรก็ตาม ภาวะเงินฝืดที่กินเวลานานจนเกินไปนั้นสามารถกลายเป็นวิกฤตทางการเงินสำหรับบุลคลหรือวิกฤตเศรษฐกิจได้ หากภาวะเงินฝืดนั้นมาพร้อมกับปริมาณหนี้ที่สูง
เราลองมาพิจารณาสถานการณ์สมมุติของจอห์น เจ้าของบ้านที่มีสินเชื่อจำนองกัน
จอห์นซื้อบ้านในช่วงที่เกิดเงินเฟ้อในราคา 200,000 ดอลลาร์ และมีสินเชื่อจำนอง 180,000 ดอลลาร์ (เงินกู้ที่ใช้ซื้อบ้านจำนวน 180,000 ดอลลาร์) โดยมีอัตราดอกเบี้ยคงที่
แต่เมื่อเวลาผ่านไปกลับเกิดภาวะเงินฝืดเป็นเวลานาน ทำให้ราคาบ้านของจอห์นลดลง 10% เหลือ 180,000 ดอลลาร์ แต่สินเชื่อจำนองยังคงอยู่ที่ 180,000 ดอลลาร์
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คือ ภาระหนี้ที่แท้จริงของจอห์นจะเพิ่มขึ้น
เพราะแม้ว่ามูลค่าที่ระบุของหนี้จะยังคงเท่าเดิม แต่มูลค่าที่แท้จริงของหนี้จะเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาบ้านลดลง ภาระหนี้ที่แท้จริงของจอห์นจึงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยเมื่อเทียบกับมูลค่าทรัพย์สินของเขา
ซึ่งสถานการณ์นี้อาจนำไปสู่ปัญหาทางการเงินของจอห์นได้นั่นเอง
ทีนี้เราลองมาพิจารณาสถานการณ์สมมุติที่กว้างขึ้น อย่างประเทศ A ที่มีหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ 180%
การมีหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ 180% นั่นหมายความว่าประเทศ A มีรายได้น้อยกว่าหนี้สินของพวกเขาเกินกว่าครึ่งเท่าตัว
และอย่างที่รู้กันว่าการลดหนี้ต่อ GDP นั่นจำเป็นจะต้องมีการเพิ่ม GDP ซึ่งการเพิ่ม GDP ก็มักจะตามมาด้วยอัตราเงินเฟ้อ
เนื่องจากเมื่อ GDP เพิ่มขึ้น หมายความว่า คนมีรายได้มากขึ้น เมื่อคนมีรายได้มากขึ้นผู้คนจะใช้จ่ายมากขึ้น ความต้องการสินค้าและบริการก็จะเพิ่มขึ้นตาม และเมื่ออุปสงค์มากกว่าอุปทาน ราคาสินค้าและบริการจะเพิ่มขึ้นและก่อให้เกิดเงินเฟ้อ
ทีนี้ลองนึกภาพตามดูว่า แล้วถ้าหากประเทศ A ที่มีหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ 180% ในขณะเดียวกันก็เกิดภาวะเงินฝืดเป็นเวลานานอะไรจะเกิดขึ้น?
แน่นอนว่าภาระหนี้ที่แท้จริงของรัฐบาล ธุรกิจและประชาชนจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนและผู้กู้ยืมจึงประสบปัญหาในชำระหนี้
เนื่องจากภาวะเงินฝืดที่กินเวลานานนั่นบ่งบอกถึงอุปสงค์ภายในประเทศที่ซบเซา ผู้บริโภคชะลอการซื้อสินค้าและบริการ ทำให้ธุรกิจมีรายได้ลดลงและอาจชะลอการลงทุนใหม่ ส่งผลให้การจ้างงานชะลอตัวตาม
ผลพวงต่างๆท้ายที่สุดจะทำให้ประเทศมีรายได้ลดน้อยลง และทำให้ GDP หดตัว
แต่ในขณะที่หนี้ของประเทศ A ยังเท่าเดิมซึ่งก็คือ 180% ต่อ GDP แต่ด้วยปัจจัยที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ทำให้ GDP ของประเทศ A หดตัวลง
ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น คือ อัตราส่วนหนี้สินต่อ GDP จะเพิ่มขึ้นในขณะที่เศรษฐกิจกำลังซบเซานั่นเอง
ที่กล่าวไว้ข้างต้นนี้จึงเป็นคำตอบให้ได้บางส่วนว่า เหตุใดภาวะหนี้ที่สูงบวกกับเงินฝืดจึงเท่ากับความพินาศ
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จึงเป็นคำตอบว่าเหตุใดภาวะหนี้ที่สูงบวกกับเงินฝืดจึงเท่ากับความพินาศ
แต่อย่างไรก็ตาม การที่ภาวะหนี้ที่สูงบวกกับเงินฝืดจะสามารถกลายความพินาศที่รุนแรงได้นั้นก็ยังต้องมีปัจจัยแยกย่อยอื่นๆร่วมด้วยอีกมากมาย
อย่างเช่น อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่มักเป็นตัวแปรสำคัญในการสับสวิตช์จากภาวะเงินเฟ้อมาเป็นภาวะเงินฝิด หรือจากภาวะเงินฝืดกลับไปเป็นภาวะเงินเฟ้อ อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมการผิดนัดชำระหนี้ในระบบเศรษฐกิจอีกด้วย
ลองสมมุติว่าประเทศ A ที่มีหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ 180% และเกิดภาวะเงินเฟ้อที่เกินควมคุม ทำให้ในช่วงแรกธนาคารกลางจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
ในขณะเดียวกันอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ก็ไปเพิ่มภาระหนี้ในภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะหนี้ของรัฐบาล และด้วยภาระหนี้ที่อยู่ในระดับที่สูงอยู่แล้วจึงทำให้พวกเขาเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้มากกว่าปกติ
อีกทั้งด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น จะเริ่มทำให้เกิดเงินฝืดหรือการชะลอตัวของเศรษฐกิจหลังจากเกิดเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้ความสามารถในการหารายได้มาชำระหนี้ลดลง
ท้ายที่สุด เมิ่อเงินเฟ้อสงบลงหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินโดยเร็ว ด้วยระดับหนี้ที่สูงและภาวะเงินฝืด อาจนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า เศรษฐกิจถดถอย (Recession)
ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่อันตรายและเสี่ยงต่อการเกิดการผิดนัดชำระหนี้สูงยิ่งกว่าเดิม
ดังนั้นการทำความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้เราสามารถเอาตัวรอดได้จากวิกฤตทางการเงินหรือวิกฤตเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นได้นั่นเอง
บทความนี้เป็นเพียงแค่การยกข้อมูลปัจจัยบางส่วนมานำเสนอเท่านั้น เพื่อนๆ หรือนักลงทุนที่สนใจ สามารถศึกษาเพิ่มเติมโดยละเอียดได้ด้วยตนเอง
References:
https://skilling.com/row/th/blog/trading-terms/deflation-new/
https://www.investopedia.com/terms/d/debtdeflation.asp
https://carnegieendowment.org/chinafinancialmarkets/86397
เศรษฐกิจ
ข่าวรอบโลก
การลงทุน
4 บันทึก
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
INVESTING NEWS AND ECONOMY SERIES by InvestWay
4
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย