Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Thai Burma railway ทางรถไฟสายมรณะ
•
ติดตาม
31 มี.ค. เวลา 04:29 • ประวัติศาสตร์
เส้นทางรถไฟสายมรณะ
เครือข่ายอุโมงค์กองทัพญี่ปุ่นใกล้กับชายแดนไทย-พม่า ที่ อ.สังขละบุรี กาญจนบุรี
ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อกองญี่ปุ่นเพลี่ยงพล้ำในสมรภูมิพม่า จนต้องเริ่มถอนทหารกลับสู่ประเทศไทย
ในช่วงเวลานั้นทหารญี่ปุ่นไม่คาดคิดว่าทางสมเด็จพระจักพรรดิจะยอมแพ้สงครามได้โดยง่าย ทหารในแนวหน้าต่างคิดว่าการรบกับฝ่ายอังกฤษยังคงจะต้องยืดเยื้อยาวนาน
1
ทหารญี่ปุ่นวางแผนที่จะใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการรบกับทหารอังกฤษ จะเห็นได้จากการสร้างแนวป้องกันและตั้งรับในหลายจุด เช่นที่ด่านพระเจดีย์สามองค์ หรือจะเป็นที่นครนายกหรือสระบุรีก็มีข้อมูลการสร้างแนวตั้งรับเช่นกัน
ในส่วนของพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า ในพื้นที่กาญจนบุรี ทหารญี่ปุ่นคาดว่าเมื่อกองทัพญี่ปุ่นถอนทหารออกจากพม่าหมดแล้ว ฝ่ายอังกฤษจะต้องรุกข้ามชายแดนพม่าเข้าสู่ประเทศไทยในเส้นทางด่านพระเจดีย์สามองค์ (ก็คือตามแนวเส้นทางรถไฟสายมรณะย้อนกลับมาทางประเทศไทย)
ซึ่งตรงด่านพระเจดีย์สามองค์ มีลักษณะเป็นช่องเขา ในอดีตครั้งโบราณเป็นเส้นทางการค้า และเส้นทางเดินทัพทำสงครามของทั้งไทยและพม่ามาอย่างยาวนาน เพราะมีลักษณะเป็นช่องเขาที่สามารถขนยุทธปัจจัยและส่งทหารจำนวนมากเคลื่อนทัพผ่านได้
พื้นที่บริเวณด่านพระเจดีย์สามองค์เป็นพื้นที่ราบ แต่ทางใต้ลงมาเส้นทางจะถูกบังคับโดยช่องเขาครับ และจะแคบลงไปเรื่อยๆจนถึงทางเหนือของแม่น้ำซองกาเลีย
เส้นทางแคบระหว่างช่องเขาเหนือแม่น้ำซองกาเลีย ถูกใช้เป็นพื้นที่ตั้งรับของกองทัพญี่ปุ่น
เพื่อที่จะชะลอหรือยับยั้งการรุกของกองทัพอังกฤษที่กำลังรุกไล่ทหารญี่ปุ่นเข้ามายังประเทศไทย
กองทัพญี่ปุ่นจึงตัดสินใจสร้างแนวป้องกันในพื้นที่สูงแถบชายแดนไทย-พม่า ที่ด่านเจดีย์สามองค์
ในเอกสารจากหอจดหมายเหตุอังกฤษและหนังสือ The Thailand Burma railway 1942-1946
ระบุว่ากองทัพญี่ปุ่นได้เลือกพื้นที่ลาดทางตะวันออกของด่านพระเจดีย์สามองค์นั้นเป็นจุดที่จะสร้างแนวตั้งรับและป้องกันการรุกของกองทัพอังกฤษ
เพราะพื้นที่บริเวณนั้นเป็นพื้นที่โล่ง ทหารญี่ปุ่นที่เป็นฝ่ายตั้งรับจะได้เปรียบเพราะสามารถยิงถล่มฝ่ายอังกฤษได้โดยง่าย
1
ส่วนฝ่ายอังกฤษที่จะทำการรุกเข้ามานั้นจะต้องรุกฝ่าเข้ามาอย่างยากลำบากทั้งทางบกและทางน้ำ เพราะเป็นพื้นที่ค่อนข้างรกทึบ
เดือนมิถุนายน 1945
ทหารญี่ปุ่นได้ส่งเชลยศึกสัมพันธมิตรประมาณ 500 นาย ไปทางเหนือของแม่น้ำซองกาเลีย เพื่อสร้างแนวป้องกันแถวด่านพระเจดีย์สามองค์
เชลยศึกที่ถูกส่งขึ้นไปสร้างแนวป้องกันแห่งนี้ ได้รับความลำบากทั้งสภาพความเป็นอยู่ และการทำงาน ซึ่งต้องทำงานตั้งแต่เวลา 04.30 น. ถึง 23.00 น. โดยมีเวลาพักทานอาหารในแต่ละครั้งเพียงเล็กน้อย
ปรกติแล้วกลุ่มเชลยศึกสัมพันธมิตรหากเดินทางไปที่ใดก็จะมีเชลยศึกที่เป็นเสนารักษ์หรือหมอทหารร่วมเดินทางไปด้วย
เสนารักษ์หรือหมอทหารจะเป็นผู้ที่คอยช่วยเหลือรักษาคนเจ็บหรือให้คำแนะนำในการรักษาได้ในระดับหนึ่งถึงแม้ยารักษาโรคจะไม่เพียงพอก็ตาม
แต่กลุ่มเชลยศึก 500 นายนี้ไม่มีเสนารักษ์หรือหมอทหารร่วมเดินทางไปด้วย มีเพียงยารักษาโรคเล็กน้อยที่นำติดตัวมา ส่งผลให้เชลยศึกต้องดูแลกันเองตามยถากรรม
ส่วนอาหารนั้นก็คือข้าวที่มีปริมาณที่จำกัดและผักแห้งๆ
ด้วยสภาพความเป็นอยู่และการทำงานหนัก มีเชลยศึกเสียชีวิตในเดือนแรกของการก่อสร้างจำนวน 18 ราย เชลยศึกที่เจ็บป่วยมีอีกจำนวนหนึ่ง
เพื่อเร่งให้งานแล้วเสร็จตามกำหนดเวลา ก็จะเกิดเหตุการณ์ที่ทหารญี่ปุ่นจะเข้ามาเลือกเชลยศึกที่ป่วยจากโรงพยาบาลสนาม บังคับทุบตี เพื่อให้เชลยที่ป่วยออกไปทำงานอยู่บ่อยครั้ง
2
แนวป้องกันที่กล่าวมานั้น ทหารญี่ปุ่นมีการสร้างรังปืนกลจำนวนหลายแห่งด้านบนยอดเนินในพื้นที่
2
โดยรังปืนกลหรือจุดที่เป็นบังเกอร์ทั้งหมดจะถูกเชื่อมต่อกันด้วยระบบอุโมงค์
ในระบบอุโมงค์นั้นรวมไปจนถึงมีการขุดอุโมงค์ขนาดใหญ่ไว้สำหรับเป็นคลังเก็บยุทธปัจจัย
มีการขุดคูดักรถถัง และมีการสร้างสิ่งกีดขวางบริเวณพื้นที่ราบใกล้กับทางรถไฟอีกด้วย
1
การก่อสร้างอย่างเร่งรีบ เชลยศึกต้อง ทำงานทั้งกลางวันและกลางคืนภายใต้การกดดัน โดยมีกำหนดการที่ต้องเสร็จภายในต้นเดือนสิงหาคม 1945
แต่แล้วสงครามกลับสิ้นสุดเสียก่อนที่ระบบอุโมงค์จะถูกใช้งาน โดยในวันที่ 15 สิงหาคม 1945 กองทัพญี่ปุ่นยอมจำนนและสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ได้สิ้นสุดลง
แนวป้องกันเหล่านี้จึงไม่ได้ถูกใช้งานจริง และเมื่อเวลาผ่านเนิ่นนานมา ผืนป่าก็กลับเข้าปกคลุมพื้นที่อีกครั้ง ระบบเครือข่ายอุโมงค์ก็ถูกลืมเลือนและหลายแห่งก็พังเสียหายไปตามกาลเวลา
รูปพี่บุญสินครับ
ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่ระบุการมีอยู่ของกลุ่มอุโมงค์แนวตั้งรับของญี่ปุ่นนั่น ตรงกับข้อมูลที่พี่บุญสิน ชาวบ้านสังขละบุรี(ผู้ที่สนใจเรื่องกองทัพญี่ปุ่น)
ได้ให้ข้อมูลการสำรวจกับผมไว้เมื่อนานมาแล้วว่า ในวัยเด็กพี่บุญสินเคยเข้าไปในกลุ่มอุโมงค์เหล่านี้
ในอดีตปากอุโมงค์จำนวนมากยังมีสภาพดี สามารถเดินเข้าไปได้
พี่บุญสินกล่าวว่า อุโมงค์มีหลายจุดมาก นับร้อย บางจุดขุดทะลุเขาในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก
2
บางจุดขุดเป็นอุโมงค์มีทางแยก
บางจุดขุดได้ไม่กี่เมตรก็ไม่มีการขุดต่อ
หรือบางจุดมีการขุดเป็นโถงใหญ่ สามารถจุคนได้นับร้อยคน มีทางเข้าออกหลายทาง (แต่น่าเสียดายเครือข่ายอุโมงค์จุดนี้ ถูกขุดเอาดินไปทำดินลูกรังเพื่อทำถนนเมื่อนานมาแล้ว ด้วยความไม่รู้ของผู้รับเหมา)
ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ทางทีมแอดมินเพจก็ได้ไปสำรวจอุโมงค์มาสองสามจุด
ปัจจุบันยังพอมีอุโมงค์เข้าไปสำรวจได้บ้างแต่เหลือไม่มากนัก
ทีมงานเพจทางรถไฟสายมรณะครับ
ทีมงาน
พี่บุญสิน และ น้อย ทีมงานเพจทางรถไฟสายมรณะ ที่อยู่ที่สังขละบุรีครับ
และก็มีอุโมงค์จำนวนมากที่เข้าไปสำรวจไม่ได้เพราะอยู่ในพื้นที่ป่ารก หรือบางแห่งดินถล่มปิดปากทางเข้าไปแล้ว
บางจุดดินถล่มปิดทางเข้าจนแทบมิดหรือมิดไปแล้ว แต่บางจุดดินถล่มปิดทางเข้ายังไม่หมด พอเหลือช่องให้ส่องไฟลอดเข้าไปได้บ้างแต่คนมุดเข้าไม่ได้ (อันตราย)
1
ดินถล่มปิดปากทางเข้า คนไม่สามารถเข้าไปได้ครับ ทได้เพียงส่องไฟแล้วถ่ายรูป
บางจุดเหลือทางเข้าแค่นี้
จากการสำรวจเป็นที่น่าสังเกตว่าปัญหาของอุโมงค์เหล่านี้จะอยู่ตรงช่วงปากทางเข้า ที่เวลาฝนตก น้ำจะเซาะดินบนปากอุโมงค์หรือแม้กระทั่งแผ่นดินไหว ก็ส่งผลทำให้ดินค่อยๆตกลงมาปิดปากทางเข้าครับ
ส่วนภายในแทบไม่เห็นร่องรอยการถล่มของอุโมงค์เลย บางจุดมีลักษณะขุดเป็นร่องข้างผนังอุโมงค์คล้ายกับใช้สำหรับวางแนวเสาไม้ค้ำยัน
เป็นที่น่าสังเกตอีกอย่างคือ อุโมงค์จะมีการจุดช่องเล็กๆข้างผนังอุโมงค์สำหรับเป็นที่จุดไฟแสงสว่าง
บางอุโมงค์ก็มีก่อไผ่ขึ้นบังปากทางเข้าต้องมุดเข้าไป
ที่รู้ได้เพราะว่าจุดบริเวณนั้นจะมีเขม่าควันไฟติดอยู่
และพี่บุญสินให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เมื่อในอดีตเคยเห็นซากตะเกียงในอุโมงค์เหล่านี้ แต่ถูกชาวบ้านในพื้นที่เก็บไปหมดเมื่อนานมาแล้ว
พี่บุญสินยังได้บอกกับผมว่า ยังมีอุโมงค์หนึ่งที่ยังมีโถงใหญ่ข้างใน มีทางเข้าออกได้ทางเดียว อุโมงค์มีความลึกพอสมควร แต่ดินถล่มปิดปากอุโมงค์ไปนานแล้ว
ล่าสุดพี่ชัย นักข่าวของสังขละบุรี และเพื่อนๆของพี่ชัยได้ไปเยี่ยมชมหนึ่งในอุโมงค์ของกองทัพญี่ปุ่น ที่อยู่ก่อนถึงสำนักงานเกษตรที่สูงสังขละบุรี ผมจึงขออนุญาตนำภาพสวยๆมาให้ชมกัน
ภาพเพื่อนๆของพี่ชัยครับ
และหวังว่าในอนาคต ทางหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดเองหรือท้องถิ่นเองจะมีการสำรวจอุโมงค์อีกหลายๆจุด รวมไปถึงการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวต่อไป
ภาพเพื่อนๆของพี่ชัยครับ
สุดท้ายนี้ท่านใดจะไปเที่ยวก็อย่านำขยะไปทิ้ง หรือระมัดระวังในการเข้าไปข้างในด้วยนะครับ
ปล.อุโมงค์ที่ทางทีมงานเพจทางรถไฟสายมรณะไปสำรวจนั่นไปหลายอุโมงค์นะครับ ภาพอาจจะไม่ได้เรียงลำดับสลับไปมาต้องขออภัย
ภาพสุดท้ายขอลาไปด้วยภาพเครื่องมือขุดอุโมงค์ที่ถูกค้นพบภายในตัวอุโมงค์ครับ ปัจจุบันผมใช้สารกัดสนิมและทำการอนุรักษ์สภาพผิวให้ปลอดสนิมให้มากที่สุดครับ ตรงกลายของใบขุดผุเสียหายไปเนื่องจากกาลเวลา
ท่องเที่ยว
ประวัติศาสตร์
การศึกษา
29 บันทึก
36
6
37
29
36
6
37
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย