1 เม.ย. เวลา 07:59 • สุขภาพ
โรงพยาบาลพระรามเก้า

“โรคลมแดด” หรือ ฮีทสโตรก (Heat Stroke)

เมื่อประเทศไทยเราก้าวสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการ ภาวะอากาศร้อนจัด อาจเป็นเหตุให้ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนออกจนเกิดภาวะ “โรคลมแดด” หรือ ฮีทสโตรก (Heat Stroke) ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในคนที่มีโรคประจำตัวเดิมอยู่แล้ว หรือกลุ่มคนที่มีภาวะสุขภาพเปราะบาง เช่น เด็กหรือผู้สูงอายุ ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
2
พญ.อัณณาช์ เตรียมอนุรักษ์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลพระรามเก้า เล่าว่า ฮีทสโตรก หรือ ลมแดด เกิดจากร่างกายได้รับอุณภูมิความร้อนมากเกินไป ทำให้ผลส่งกระทบต่อสมองได้ เช่น มีภาวะชัก หมดสติได้ เมื่อเกิดการชักหมดสติแล้วหากไม่ได้ให้สารน้ำ หรือไม่ได้ทำอุณหภูมิร่างกายให้ลดลงหรือเย็นลงทันที ก็จะสามารถทำให้คนไข้เสียชีวิตได้
2
กลุ่มบุคคลที่เสี่ยงต่อภาวะฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือลมแดด ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มคนที่เป็นโรคหัวใจ เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวหลายโรคที่ต้องรับประทานยาอยู่แล้วหลาย ๆ ตัว ถ้าไปอยู่ในอุณหภูมิที่ร้อนมาก ๆ เป็นเวลานาน ๆ จะมีความเสี่ยงในการเป็นฮีทสโตรกสูงขึ้น และมีโอกาสเสียชีวิตได้มากกว่านั่นเอง
นอกจากนี้ ยังสามารถเกิดขึ้นได้กับกลุ่มคน ที่ทำงานกลางแจ้งที่สัมผัสกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิ เกษตรกร ตำรวจ ทหาร กลุ่มบุคคลที่เสี่ยงต่อภาวะฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือลมแดด ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มคนที่เป็นโรคหัวใจ เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวหลายโรคที่ต้องรับประทานยาอยู่แล้วหลาย ๆ ตัว ถ้าไปอยู่ในอุณหภูมิที่ร้อนมาก ๆ เป็นเวลานาน ๆ จะมีความเสี่ยงในการเป็นฮีทสโตรกสูงขึ้น และมีโอกาสเสียชีวิตได้มากกว่านั่นเอง
นอกจากนี้ ยังสามารถเกิดขึ้นได้กับกลุ่มคน ที่ทำงานกลางแจ้งที่สัมผัสกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิ เกษตรกร ตำรวจ ทหาร
หากเจอผู้ป่วยที่มีอาการฮีทสโตรก ท่านสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้นได้โดย
  • ต้องพาคนไข้ออกมาจากอุณหภูมินั้นก่อน เช่น พามาอยู่ในที่ร่ม พยายามเปิดเสื้อผ้าออกให้มากที่สุด เพื่อให้ระบายความร้อนออกจากเสื้อผ้า
  • พยายามหาน้ำ ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็ง มาประคบตามร่างกาย
  • ถ้าคนไข้รู้สึกตัวให้ดื่มน้ำเยอะ ๆ หรือว่าถ้ามีคนอยู่บริเวณนั้นที่ปฐมพยาบาลได้ เช่น มีรถพยาบาลก็ควรให้น้ำเกลือ เพื่อให้อุณหภูมิร่างกายเย็นลง เพราะอุณหภูมิร่างกายที่สูงมากเกินไป จะไปกระตุ้นทำให้หัวใจเต้น ผิดจังหวะและทำให้เสียชีวิตได้ คนที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคหัวใจและมีภาวะฮีทสโตรกร่วมด้วยจึงเสี่ยงเสียชีวิตได้
1
วิธีป้องกันหากเราจำเป็นต้องไปอยู่ในที่ที่อุณหภูมิสูงมากๆ คือ ต้องกินน้ำให้มากๆ , ใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี และ หากต้องอยู่ในที่ที่ร้อนจัดเป็นเวลานาน ควรพักในที่โล่งหรือที่มีอากาศระบายได้ดีในทุก 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการเกิดลมแดด
อย่างไรก็ดี ผู้ที่มีโรคประจำตัวและไม่มีโรคประจำตัว ควรหลีกเลี่ยงการไปอยู่ในอุณหภูมิที่ร้อนมากเป็นเวลานาน ๆ เป็นระยะเวลาที่นานเกิน 1 ชั่วโมงและหลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าหนาซึ่งทำให้การระบายอากาศไม่ดี เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงไม่ให้เกิดอาการดังกล่าว
พญ.อัณณาช์ เตรียมอนุรักษ์
สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า
#โรงพยาบาลพระรามเก้า
#Praram9Hospital
#HealthcareYouCanTrust
โฆษณา