3 เม.ย. 2024 เวลา 03:00 • ธุรกิจ

สรุปเรื่อง Gigafactory โรงงานยักษ์ของ Tesla ที่ใหญ่กว่า ทั้งเขตราชเทวี

ไม่นานมานี้มีข่าวใหญ่ว่า Tesla หนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าชั้นนำของโลก กำลังพิจารณามาเปิดโรงงานในประเทศไทย
โดยตามข่าวบอกว่า Tesla มีเงื่อนไข คือต้องการพื้นที่ทั้งหมด 2,000 ไร่ และกำลังเล็งพื้นที่ในย่านลาดกระบังอยู่
4
เรื่องนี้ถ้าลองวิเคราะห์ดู เหตุผลที่ Tesla ต้องการพื้นที่มากถึง 2,000 ไร่
มันก็มีความเป็นไปได้เหมือนกันว่าโรงงานที่ Tesla จะมาเปิดในไทย
อาจจะเป็น “Gigafactory”
2
แล้ว Gigafactory คืออะไร ?
1
Gigafactory สรุปเร็ว ๆ ก็คือ โรงงานผลิตแบตเตอรี่ และประกอบรถยนต์ของ Tesla ที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ
ซึ่งถ้ามันเกิดขึ้นจริง ก็อาจหมายถึงทั้งเงินลงทุนและตำแหน่งงานอีกมากจะเกิดขึ้นในประเทศของเรา คิดเป็นรายได้ที่จะเข้าประเทศแบบมหาศาล
2
- ต้นกำเนิดของ Gigafactory
อย่างที่เราทราบกันดีว่าชิ้นส่วนที่สำคัญที่สุดของรถยนต์ไฟฟ้าคือ แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ที่คิดเป็นต้นทุนเยอะมาก เมื่อเทียบกับราคารถ
เช่น ถ้าเราจ่ายเงิน 1,000,000 บาท ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าสักคัน
บางแบรนด์ เงินมากกว่า 500,000 บาทของเรา จะจ่ายไปกับค่าแบตเตอรี่
ดังนั้นถ้าอยากได้แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ที่มีราคาถูก
Tesla เลยจำเป็นต้องสร้างโรงงานที่ใหญ่พอจะทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาดให้ได้
3
จึงเกิดเป็นคอนเซปต์ตั้งต้นของ Gigafactory โรงงานที่สามารถผลิตแบตเตอรี่
ลิเทียมได้ตั้งแต่ต้นจนจบ “ภายใต้หลังคาเดียว”
3
โดย อีลอน มัสก์ เคยบอกว่าโรงงาน Gigafactory
จะทำให้ราคาของแบตเตอรี่ถูกลงถึง 30% จากการผลิตทีละมาก ๆ
แถมการไปสร้างในประเทศต่าง ๆ ยังเป็นการลดต้นทุน ค่าขนส่ง รวมไปถึงภาษีนำเข้าได้อีกเยอะ
1
โดย Gigafactory แห่งแรก ถูกสร้างขึ้นที่รัฐเนวาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 2557
บนพื้นที่กว่า 2,900 เอเคอร์ ด้วยงบประมาณกว่า 128,800 ล้านบาท
3
ซึ่งถ้าหากเอาโรงงานดังกล่าวมาตั้งในกรุงเทพมหานคร มันจะใหญ่เท่ากับเขตราชเทวีทั้งเขตพอดี
โดยพื้นที่เขตราชเทวี เท่ากับ 7.126 ตารางกิโลเมตร
1
และ 1 เอเคอร์ = ประมาณ 0.004047 ตารางกิโลเมตร
เพราะฉะนั้น Gigafactory ที่เนวาดา มีพื้นที่ประมาณ 11.7 ตารางกิโลเมตร
โดย Gigafactory ที่เนวาดา จะรับหน้าที่ในการผลิตแบตเตอรี่ และมอเตอร์สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า
1
รวมไปถึงมีแผนในการผลิต Tesla 18-wheeler Semi ที่เป็นรถบรรทุกรุ่นบุกเบิกของ Tesla อีกด้วย
และนอกจากที่เนวาดาแล้ว Tesla ก็ยังมีโรงงานขนาดยักษ์ ที่ขึ้นชื่อว่าเป็น Gigafactory อีก 4 แห่ง
โดยแต่ละแห่งจะมีหน้าที่ในการผลิตสินค้าที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่
1
- Gigafactory ที่เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี รับหน้าที่ในการผลิตเซลล์แบตเตอรี่ และผลิตรถยนต์ Tesla Model Y
- Gigafactory ที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน รับหน้าที่ในการผลิต Tesla Model 3 และ Tesla Model Y
1
- Gigafactory ที่เท็กซัส เป็นสำนักงานใหญ่ของ Tesla รับหน้าที่ผลิต Tesla Model Y
และมีแผนจะผลิต Tesla Cybertruck ที่เป็นรถกระบะไฟฟ้าในอนาคต
2
- Gigafactory ที่นิวยอร์ก รับหน้าที่ในการผลิตส่วนประกอบต่าง ๆ ของสถานีชาร์จไฟ Superchargers
 
ทีนี้ในส่วนของกำลังการผลิตของ Gigafactory นั้น ใหญ่ขนาดไหน ?
เนื่องจาก Tesla เป็นแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้า เราเลยอยากนำสถิติของโรงงาน
Gigafactory เซี่ยงไฮ้ ที่ผลิตรถยนต์ให้ Tesla ปีละกว่า 500,000 คัน มายกตัวอย่างให้ดู
5
โรงงาน Gigafactory ที่เซี่ยงไฮ้ ใช้เวลาก่อสร้างเพียง 168 วันเท่านั้น เรียกได้ว่าเจ๋งตั้งแต่ก่อสร้าง
1
ในส่วนของนวัตกรรมการผลิต Tesla จะมีเทคนิคการผลิตเฉพาะตัวที่เรียกว่า “Giga Casting”
ที่จะลดชิ้นส่วนของรถยนต์ต่อคันให้ได้มากที่สุด เพื่อเพิ่มความเร็วในการผลิตและลดต้นทุน
และในขั้นตอนการผลิต ที่โรงงานแห่งนี้จะมีการใช้หุ่นยนต์กว่า 446 ตัว มาช่วยมนุษย์ในการประกอบรถยนต์
1
จนทำให้ Tesla ใช้เวลาเพียง 40 วินาทีเท่านั้น ในการผลิตรถยนต์แต่ละคัน
เทียบกับ Toyota ที่ใช้เวลาเฉลี่ย 66 วินาที ในการผลิตรถยนต์ 1 คัน
รวมไปถึง Ford ที่ใช้เวลาเฉลี่ย 53 วินาที ต่อรถยนต์ 1 คัน..
2
นอกจากการผลิตรถยนต์แล้ว การผลิตแบตเตอรี่ของ Tesla ก็เรียกได้ว่าไม่ธรรมดาเหมือนกัน
เพราะ Gigafactory ที่เนวาดา มีรายงานว่าสามารถผลิตแบตเตอรี่ ได้ปีละกว่า 37 GWh หรือ 37,000 เมกะวัตต์ต่อปี
ซึ่งตัวเลขดังกล่าวมันมากกว่าความต้องการในการใช้พลังงานของคนไทย
ทั้งประเทศไทยทั้งปี ที่ 32,254 เมกะวัตต์เสียอีก..
(อ้างอิงจากความต้องการไฟฟ้าของคนไทยปี 2565)
นอกจากนั้นยังมีอีกหลายเรื่องที่น่าสนใจ เกี่ยวกับ Gigafactory
อย่างเช่น เรื่องของสวัสดิการพนักงาน รวมไปถึงสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่ค่อนข้างต่างกับโรงงานที่มีอยู่ในไทยตอนนี้อยู่พอสมควร
สุดท้ายนี้แม้จะยังไม่ชัดเจนว่า Tesla จะมาตั้งโรงงานที่ไทยจริงไหม
แต่ถ้าอ้างอิงตามที่ อีลอน มัสก์ เจ้าของ Tesla เคยให้สัมภาษณ์กับสื่อไว้ว่า
ในอนาคต Tesla ต้องการจะผลิตรถให้ได้ปีละ 20 ล้านคัน
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมี Gigafactory ทั้งหมดประมาณ 10-12 แห่งทั่วโลก เพื่อให้ไปถึงจุดนั้นได้
1
ก็หมายความว่า ไทยอาจมีลุ้นเป็นผู้โชคดี ที่จะได้เกาะกระแสการเติบโตของเทรนด์รถยนต์ไฟฟ้า ไปด้วยนั่นเอง..
3
โฆษณา