Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Antfield
•
ติดตาม
3 เม.ย. เวลา 13:57 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ถ้าเราจะส่งยานสำรวจออกนอกระบบสุริยะ ควรวิ่งออกไปในเส้นทางไหนดี?
จากรูปเปิดในบทความ ปัจจุบันมียานสำรวจทั้งหมด 5 ลำที่กำลังมุ่งหน้าออกจากระบบสุริยะอันได้แก่ ยานวอยเอจเจอร์ 1 และ 2 ยานไพโอเนียร์ 10 และ 11(สัญญาณดับไปนานแล้ว) และยานนิวฮอไรซันส์
ซึ่งยานสำรวจทั้ง 5 ลำนี้มุ่งหน้าออกนอกระบบสุริยะในเส้นทางที่แตกต่างกัน ยานวอยเอจเจอร์ 1 และ 2 ทำมุมประมาณ 45 องศากับจมูกเฮลิโอสเฟียร์(ด้านฝั่งที่เฮลิโอสเฟียร์ปะทะกับฝุ่นรังสีอวกาศระหว่าง โดยแนวปะทะนี้เรียวกว่า Bow Shock) ส่วนไพโอเนียร์ 10 ไปทางหางของเฮลิโอสเฟียร์ ไพโอเนียร์ 11 ไปทางจมูกของเฮลิโอสเฟียร์และยานนิวฮอไรซันส์เดินทางไประหว่างเส้นทางของยานไพโอเนียร์ 11 กับยานวอยเอจเจอร์ 2
ภาพจำลองของเฮลิโอสเฟียร์
ระบบสุริยะของเรานั้นกำลังเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา เหล่าเทหะวัตถุที่อยู่ในระบบสุริยะนี้กำลังหมุนรอบหลุมดำมวลยิ่งยวดที่ใจกลางกาแล็คซี่ทางช้างเผือกของเรา และบริเวณพื้นที่อิทธิพลของดวงอาทิตย์อันเกิดจากลมสุริยะซึ่งกินอาณาบริเวณประมาณ 100-150 AU จากดวงอาทิตย์เราเรียกว่าเฮลิโอสเฟียร์
ที่บอกว่าประมาณนั้นเพราะว่ารูปทรงที่แท้จริงของเฮลิโอสเฟียร์แท้จริงเป็นอย่างไรนั้นเราไม่รู้ บ้างก็ว่าน่าจะเป็นทรงกลม บ้างก็ว่ารูปร่างเหมือนขนมครัวซองต์
รูปทรงของเฮลิโอสเฟียร์อาจจะคล้ายขนมครัวซองต์ซึ่งอันนี้ก็ยังไม่อาจจะรู้ได้
ความพยายามทำความเข้าใจกับรูปทรงของเฮลิโอสเฟียร์ก็เปรียบเหมือนปลาทองที่พยายามอยากรู้ว่าโหลปลาทองที่ตัวเองอยู่นั้นมีหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งไม่มีทางจะรู้ได้เลยถ้าไม่ออกมามองโหลปลาทองจากด้านนอก
ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือส่งยานสำรวจออกไปตรวจสอบเพิ่มเติมจากที่มีอยู่ เพราะปัจจุบันมีเพียง 3 ลำที่ยังใช้งานได้และส่งสัญญาณกลับมายังโลก
แบบจำลองของเฮลิโอสเฟียร์ที่เป็นทรงกลมเคลื่อนที่ผ่านฝุ่นรังสีอวกาศเป็นอาณาบริเวณที่ดูคล้ายกับดาวหางขนาดยักษ์
วอยเอจเจอร์ 1 และ 2 อยู่ในสภาพที่เรียกว่าแก่รอมร่ออยู่มาได้ถึงทุกวันนี้ก็เกินความคาดหมายไปมากโข และปัจจุบันอาการของปู่วอยเอจเจอร์ 1 เรียกได้ว่าตรีฑูตแล้ว เหล่านักวิทยาศาสตร์ของ NASA ต่างพยายามเต็มที่ในการช่วยปั๊มหัวใจแต่ก็ไม่รู้ว่าจะยื้อได้อีกนานแค่ไหน
1
ส่วนนิวฮอไรซันส์นั้นคาดว่าจะไปถึงขอบเฮลิโอสเฟียร์ก็อีก 14 ปีข้างหน้าและต้องหวังว่ายานจะยังอยู่รอดไปถึงวันนั้น โดยยานนิวฮอไรซันส์นั้นตามแผนเดิมจะหยุดภารกิจในปี 2569
เส้นทางที่เหมาะสมสำหรับภารกิจสำรวจพื้นที่นอกระบบสุริยะจะเป็นเส้นทางไหน?
เช่นนี้แล้ว เหล่านักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจึงต่างพากันศึกษาและนำเสนอเส้นทางสำรวจสำหรับภารกิจถัดไปของยานสำรวจนอกระบบสุริยะ ซึ่งหนึ่งในนั้นรวมถึงข้อเสนอจากทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน
ซึ่งได้นำเสนอว่าเส้นทางสำรวจที่น่าจะเหมาะสมในการที่จะทำให้เห็นภาพรวมของเฮลิโอสเฟียร์มากที่สุดนั้นน่าจะเป็นเส้นทางวิ่งขนานกับแนวหางของเฮลิโอสเฟียร์ หรือก็คือวิ่งตัดขวางแนวการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์นั่นเอง
พุ่งออกข้าง ๆ ก็จะทำให้เห็นภาพรวมตั้งแต่ Bow Shock ไปยังแนวหางได้ทั้งหมด
โดยทีมนักวิจัยได้ศึกษาเส้นทางเปรียบเทียบทั้งหมด 6 แนวเริ่มตั้งแต่ด้านจมูกของเฮลิโอสเฟียร์มายังด้านหาง จนได้ข้อสรุปว่าวิ่งตัดขวางน่าจะดีที่สุดแล้ว
ซึ่งในงานวิจัยยังนำได้เสนอลักษณะรูปแบบของยานสำรวจ รวมไปถึงรายละเอียดของเส้นทางบินก่อนจะเดินทางออกนอกระบบสุริยะของแต่ละเส้นทาง ทั้งนี้ทีมนักวิจัยยังเสนอด้วยว่ายานสำรวจรุ่นถัดไปนั้นควรออกแบบให้สามารถทำภารกิจได้ต่อเนื่องอย่างน้อย 50 ปีเพื่อที่จะได้มีเวลาศึกษาและรวบรวมข้อมูลของโหลปลาทองของเราได้มากพอ
1
การเดินทางที่ยาวนานและแสนยาวไกลของยานวอยเอจเจอร์ทั้ง 2 ลำ
ตำแหน่งของวอยเอจเจอร์ 1 ปัจจุบันนั้นอยู่ห่างจากโลกราว 24,300 ล้านกิโลเมตร (162 AU) ถือเป็นวัตถุที่สร้างโดยน้ำมือมนุษย์ที่ออกเดินทางไปได้ไกลที่สุดในประวัติศาสตร์
ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ยานสำรวจนอกระบบสุริยะยุคถัดไปน่าจะเดินทางแซงวอยเอจเจอร์ 1 ได้ในเวลาไม่กี่ปีได้ แต่ยานวอยเอจเจอร์ก็จะยังคงเป็นตำนานแห่งนักเดินทางของมวลมนุษยชาติตลอดไป
อ้างอิง:
https://interestingengineering.com/innovation/scientists-reveal-the-best-possible-route-to-exit-our-solar-system
https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fspas.2023.1163519/full#B35
https://weather.com/en-IN/india/space/news/2020-08-25-voyager-1-first-human-made-object-to-enter-interstellar-space-in-2012
เทคโนโลยี
ความรู้รอบตัว
อวกาศ
17 บันทึก
28
1
10
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Beyond Earth & Space Technology
17
28
1
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย