3 เม.ย. 2024 เวลา 10:05 • การเมือง

เกมการทูตของอเมริกาเพื่อ “ปลุกชีพโรคกลัวรัสเซีย” ในยูเรเชีย

นักวิเคราะห์จากสถาบันฮัดสันของสหรัฐอเมริกาได้เผยแพร่แผนสำหรับสิ่งที่เรียกว่า “แนวทางการทูตเชิงรุกทั่วยูเรเซียของสหรัฐอเมริกา” ภาพรวมคือการแทนที่อย่างเป็นระบบของการมีอยู่ทางภูมิรัฐศาสตร์ของรัสเซียในยูเรเชียด้วยการเติมเต็ม “สุญญากาศ” ที่ทำให้เกิดขึ้นโดยอิทธิพลจากอเมริกา เพื่อทำให้เกิดความยุ่งยากขึ้นสำหรับรัสเซีย - อ้างอิง: [1]
ยูเรเชียเป็นมหาทวีปที่ใหญ่ที่สุดคือ แผ่นดินใหญ่ที่ประกอบด้วยเอเชียและยุโรปซึ่งอยู่ติดกัน ด้วยเหตุนี้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมในยูเรเชีย จึงถูกรวมอยู่ในแนวทางนโยบายของอเมริกา การมีส่วนร่วมของอเมริกาในยูเรเซียมีมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สองเพื่อหวังสร้างสมดุลระหว่าง “บนความจำเป็น” และ “การแทรกแซงโดยเจตนา” โดยมีตรรกะของการให้เป็นเอกเทศแต่ยังคำนึงถึงผลประโยชน์ของอเมริกาในยูเรเชียอีกมุมหนึ่ง - อ้างอิง: [2]
เครดิตภาพ: Nash Weerasekera / Foreign Policy
หลัง WWII อเมริกาที่ปะทะกับอดีตสหภาพโซเวียตใน “ช่วงสงครามเย็น” ซึ่งมันได้สิ้นสุดลงไปแล้วกว่า 30 ปี ดังนั้นจึงมีคำถามและข้อสงสัยจากชาวอเมริกันบางส่วนว่า การสร้างระเบียบโลก (โดยแทรกแซงประเทศอื่น) และรักษาสันติภาพของโลกยังเป็นหน้าที่ที่อเมริกาจำเป็นต้องทำหรือขับเคลื่อนอยู่อีกหรือไม่
นอกจากนี้อเมริกายังกลายเป็นสมอที่สั่นคลอนสำหรับระเบียบโลก เนื่องจากการมีส่วนร่วมอันมีต้นทุนสูงในอัฟกานิสถานและตะวันออกกลางในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ความสั่นคลอนของอเมริกาในฐานะที่ยึดหลักระเบียบโลก บัดนี้ปรากฏให้เห็นตามรอยร้าวระหว่างยุโรปและรัสเซีย ตะวันออกกลาง อัฟกานิสถาน เอเชียแปซิฟิก และคาบสมุทรเกาหลี
ผู้เขียนบทความต้นเรื่องของสถาบันฮัดสันได้พูดถึง GUAM (ไม่ใช่เกาะกวม) ซึ่งเป็นองค์กรเพื่อด้านประชาธิปไตยและการพัฒนาเศรษฐกิจซึ่งประกอบด้วย 4 ประเทศคือ จอร์เจีย ยูเครน อาเซอร์ไบจาน และมอลโดวา (อักษรตัวแรกของชื่อประเทศสมาชิกเรียงต่อกันเป็นที่มาของชื่อกลุ่มนี้) ก่อตั้งขึ้นในปี 1997 และมีสำนักงานใหญ่ในเคียฟ
“ในปัจจุบันทั้งสี่ประเทศมีกองทหารรัสเซียอยู่ในดินแดนของตน และทั้งสี่ประเทศต้องการให้รัสเซียถอนทหารออกไป” สถาบันฮัดสันระบุถึงทิศทางที่มีแนวโน้มสำหรับแรงกดดันทางภูมิรัฐศาสตร์ การประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ-GUAM ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี 2017 ดังนั้นในตอนนี้ “บลิงเกน” จึงสนับสนุนให้ขอจัดการประชุมสุดยอดรอบใหม่ในกรุงวอชิงตันทันที เพื่อสำรวจแนวทางในการเสริมสร้างความร่วมมือ
เมื่อพิจารณาในกลุ่ม GUAM “จอร์เจีย” ดูเหมือนเป็นจุดเชื่อมโยงที่อ่อนแอสำหรับสหรัฐอเมริกา เมื่อพิจารณาจากท่าทีของผู้นำจอร์เจีย พวกเขาดูเหมือนไม่อยากไปเล่นกับไฟตามคำสั่งของอเมริกา “อาเซอร์ไบจาน” ไม่ใช่เป้าหมายที่สามารถเข้าไปมีอิทธิพลในประเทศได้ง่าย พวกเขารู้สึกสบายใจอยู่แล้วที่จะไม่เข้าไปข้องเกี่ยวระหว่างอิหร่าน ตุรกี และรัสเซีย การดำเนินการตามแผนของวอชิงตันในอาเซอร์ไบจานจึงจำเป็นต้องใช้ความพยายามเป็นพิเศษ
1
เครดิตภาพ: CC BY-SA 4.0 Wikimedia Commons
ถัดมาผู้เขียนบทความได้ให้ความสนใจกับ Organization of Turkic States (OTS) “องค์การรัฐเตอร์กิก” เดิมทีเรียกว่า “สภาเตอร์กิก” ก่อตั้งเมื่อปี 2009 ในการประชุมของสมาชิกผู้ก่อตั้ง 4 ประเทศคือ ตุรกี คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน และอาเซอร์ไบจาน อุซเบกิสถานเข้าร่วมกลุ่มนี้ในฐานะสมาชิกเต็มในปี 2019 เติร์กเมนิสถาน ฮังการี และไซปรัสเหนือได้เข้าร่วม OTS ในฐานะผู้สังเกตการณ์ ส่วนอื่นที่มีชนกลุ่มน้อยชาวเตอร์กิก เช่น มอลโดวา (เขตปกครองตนเองกาเกาเซีย) และกลุ่มตาตาร์ในไครเมีย
1
นักวิเคราะห์ของสถาบันฮัดสันเน้นย้ำว่า “ยกเว้นตุรกี” สมาชิกของ OTS ทุกประเทศเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซียหรือสหภาพโซเวียต แต่ตอนนี้พวกเขากำลัง “พยายามทำลายความสัมพันธ์ที่รัสเซียเคยกำหนดไว้กับวัฒนธรรมสลาฟที่มีมายาวนานหลายศตวรรษ แต่กลุ่มรัฐ OTS พยายามที่จะส่งเสริมรากเหง้าวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ร่วมกันของชาวเตอร์กิกขึ้นมา”
กลุ่มประเทศ OTS ถือเป็นส่วนที่มีสัดส่วนไม่ใหญ่แต่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ของเศรษฐกิจโลก และตั้งอยู่ในภูมิภาคที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงน้ำมัน ก๊าซ และแร่ธาตุหายาก ผู้เขียนบทความเน้นย้ำเพิ่มเติม เส้นทางลอจิสติกส์ที่ผ่านแถบนี้ไม่ได้กล่าวถึงโดยละเอียด แต่มันย่อมมีความหมายที่สำคัญอยู่แน่นอน
1
เครดิตภาพ: Hudson Institute
นักวิเคราะห์ของสถาบันฮัดสันยังแนะนำให้รื้อฟื้นรูปแบบความร่วมมือที่เรียกว่า C5 ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่ประกอบด้วยคาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน เติร์กเมนิสถาน และอุซเบกิสถาน ด้วยการเพิ่มสมาชิก +2 คือ อาเซอร์ไบจานและด้วยเหตุผลบางประการคือ “สหรัฐอเมริกา” ให้เข้าร่วมด้วย
C5+2 ซึ่งจำเป็นสำหรับโครงการด้านลอจิสติกส์ใดๆ ในเอเชียกลางที่ข้ามผ่านดินแดนของรัสเซีย การฟื้นฟู “ท่อลำเลียงก๊าซทรานส์แคสเปียน” ยังถูกจัดให้อยู่ในลำดับความสำคัญอีกด้วย
เครดิตภาพ: Hudson Institute
ในส่วนของทวีปยุโรปในยูเรเชีย สถาบันฮัดสันมีการเสนอให้ฟื้นฟูโครงการที่ชื่อว่า Three Seas Initiative โดยจุดประสงค์เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการขนส่ง LNG ที่ไม่ใช่มาจากแหล่งกำเนิดของรัสเซีย (หมายถึงสำหรับใช้รับจากอเมริกาโดยเฉพาะ)
มีการเรียกร้องให้รื้อฟื้น Arctic Council (สภาอาร์กติก) ซึ่งแทบจะยุติบทบาทลงในปี 2022 หลังจากการคว่ำบาตรต่อต้านรัสเซียและการยุติการมีส่วนร่วมของรัสเซียในองค์กรนี้
เครดิตภาพ: Hudson Institute
เครดิตภาพ: Hudson Institute
ทิศทางของการสร้าง “ความหวาดกลัวต่อรัสเซียในยูเรเชีย” ของอเมริกาเห็นได้ตามแผนงานที่สถาบันฮัดสันได้เผยแพร่ดังกล่าว แต่รัสเซียไม่ใช่เป้าหมายเดียวที่ถูกเล่นงาน ยังมี “จีน” อีกด้วย ในส่วนของภูมิภาคที่เขยิบมาทางตะวันออกมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งเห็นการชวนเชื่อที่มีต่อจีนมากขึ้นเท่านั้น ตัวอย่างเช่นการนำเสนอความจำเป็นในการเผยแพร่ข้อมูลในภาษาอุยกูร์เพื่อทำงานร่วมกับเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ของจีน
การวิเคราะห์ที่เผยแพร่โดยสถาบันฮัดสันดังกล่าวเป็นข้อเสนอสำหรับโครงการระยะยาว (15-20 ปีข้างหน้าได้) เป็นการยากที่จะบอกว่าสหรัฐฯ จะมีเงินทุน อิทธิพลทางการเมือง ความสามารถด้านข่าวกรอง และที่สำคัญที่สุดคือ มีเวลาเพียงพอในการนำแผนนี้ไปปฏิบัติในภาพรวมหรือไม่ แต่เห็นได้ชัดว่าพวกเขาพยายามทำอยู่แน่
สนใจอ่านบทความต้นเรื่องดังกล่าวแบบฉบับเต็ม สามารถเข้าไปที่ลิงก์ด้านล่างนี้
เรียบเรียงโดย Right Style
3rd Apr 2024
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: (พื้นหลัง) – Lightspring / Shutterstock (ในกรอบสี่เหลี่ยม) - JARED RODRIGUEZ / TRUTHOUT>
โฆษณา