4 เม.ย. เวลา 12:23 • การศึกษา
ลาบต้นข่อย

ไขมันช่องท้องลดให้ลง ก่อนสายเกินไป

ใครที่มีหน้าท้องตึง ๆ หรือป่องออกมามาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายก็ตาม ต้องระวังไว้นะครับ เพราะอาการนี้ อาจบ่งบอกได้ว่าคุณมีไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat)อยู่เยอะไขมันช่องท้องตัวนี้มีความอันตรายเรียกได้ว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคอ้วน และทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่ทำร้ายสุขภาพหากรู้ตัวแล้วว่าตัวเองน่าจะมีไขมันช่องท้องเยอะไม่ควรปล่อยทิ้งไว้
ไขมันช่องท้อง VISCERAL FAT คือไขมันอะไร
ไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat)
เป็นไขมันชนิดหนึ่งของร่างกาย ที่พอกตัวและแทรกซึมอยู่ในอวัยวะภายในช่องท้อง เช่น ตับ (ไขมันพอกตับ), กระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็ก เป็นต้น อีกทั้ง ตัวไขมันในช่องท้องนี้ ยังสามารถแทรกซึมเข้าไปอยู่ในหลอดเลือดแดงของเราได้ด้วยทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ไขมันใต้ชั้นผิวหนัง(Subcutaneous Fat)
ไขมันที่เกิดจากพลังงานส่วนเกินที่หลงเหลืออยู่จากการที่เรารับประทานอาหารเข้าไปเยอะหากเราใช้ชีวิตด้วยพฤติกรรมที่ไม่ได้กระตุ้นให้เกิดการเผาผลาญมากนักร่างกายก็จะไม่ได้ดึงไขมันในช่องท้องออกมาใช้ ดังนั้นนานวันเข้าไขมันในช่องท้องยิ่งเพิ่มขึ้น
ไขมันในช่องท้องอันตรายแค่ไหน?
ไขมันในช่องท้อง(Visceral Fat)
ชนิดไขมันที่ส่งผลกับสุขภาพของเราโดยตรงแตกต่างจากไขมันใต้ชั้นผิวหนัง ที่ส่งผลต่อความสวยงามของรูปร่างเท่านั้นคนที่มีไขมันในช่องท้องเยอะ จะมีลักษณะเป็นหน้าท้องตึง ๆ แน่น ๆ โดยเฉพาะคุณผู้ชายที่มักจะออกไปสังสรรค์เป็นประจำ (ดื่มแอลกอฮอล์เยอะ)
ความอันตรายของไขมันในช่องท้อง
หลังจากที่มีการสะสมของไขมันในช่องท้องแล้ว เมื่อไขมันช่องท้องนี้สลายตัวเป็นกรดไขมันอิสระ มันก็จะเข้าไปขัดขวางกระบวนการ
เผาผลาญกลูโคสในกล้ามเนื้อ เป็นเหตุให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน น้ำตาลในร่างกายก็พุ่งสูงขึ้น สุขภาพร่างกายก็จะแย่ลงและโรคที่อันตราย
ก็จะค่อยๆตามมา
โรคที่เกิดจากไขมันในช่องท้อง
ไขมันตัวร้ายชนิดที่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้สุขภาพร่างกายของเราแย่ลง เกิดโรคต่าง ๆ ขึ้นมากมาย โดยเฉพาะโรคอ้วน และโรคแทรกซ้อนทั้งหลายที่ตามมา
โรคอ้วน
โรคมะเร็ง
โรคหัวใจ
โรคเบาหวาน
โรคข้อเข่าเสื่อม
โรคความดันสูง
โรคกรดไหลย้อน
โรคนิ่วในถุงน้ำดี
โรคไขมันพอกตับ
โรคหลอดเลือดอุดตัน
โรคหลอดเลือดสมองตีบ
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และรวมไปถึงการที่ประจำเดือนของเรามาผิดปกติด้วย
การตรวจวัดไขมันในช่องท้อง
การวัดเส้นรอบเอว (Waist circumference)
การตรวจความเสี่ยงของไขมันในช่องท้องวิธีนี้ ทำได้โดยการใช้สายวัด วัดบริเวณรอบเอว ในตำแหน่งสะดือ และตอนที่หายใจออก ซึ่งการวัดเส้นรอบเอวนั้น จะต้องวัดแบบพอดีตัว ไม่รัดแน่นหรือหลวมเด็ดขาด ซึ่งขนาดเส้นรอบเอวของคนปกติทั่วไปคือ ผู้หญิงที่มีรอบเอวไม่เกิน 32นิ้ว และผู้ชายที่มีรอบเอวไม่เกิน36 นิ้ว หากเกินกว่านี้ แปลว่ามีความเสี่ยงสูง ที่จะมีไขมันช่องท้องอาศัยอยู่
การคำนวณ (Waist-to-Hip Ratio)
การคำนวณ Waist-to-Hip Ratio คือการคำนวณอัตราส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพก ซึ่งวิธีนี้ เป็นวิธีที่ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้การยอมรับและแนะนำ การคำนวณ Waist-to-Hip Ratioเพื่อดูความเสี่ยงของไขมันในช่องท้อง มีวิธีการดังนี้
ใช้สายวัด วัดส่วนที่คอดที่สุดของช่วงเอว (ซม.)
จากนั้น ให้วัดบริเวณรอบสะโพกต่อ (ซม.)
นำตัวเลขที่ได้จากการวัดรอบเอว และรอบสะโพกมาหารกัน
เมื่อได้เลขทศนิยม 2 หลักแล้ว ให้ดูค่าความเสี่ยงตามนี้
ผู้หญิง ไม่ควรมีค่ามากกว่า 0.80
ผู้หญิง ไม่ควรมีค่ามากกว่า 0.95
การคำนวณดัชนีมวลกาย (BMI)
การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI : Body Mass Index)เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินสภาวะของร่างกาย ว่ามีความเสี่ยงของโรคอ้วนมากน้อยเพียงใด (โรคอ้วนเกิดจากไขมันในช่องท้อง หากมีไขมันในช่องท้องมาก = มีความเสี่ยงมาก) เราจึงสามารถใช้วิธีนี้คำนวณสุขภาพร่างกายเราอย่างคร่าวๆได้ง่ายๆ เพียงเอาน้ำหนัก (กิโลกรัม) ÷ ส่วนสูง (เมตร) ยกกำลัง 2 และดูค่าที่ได้ออกมา
ตัวอย่างเช่น: Aน้ำหนัก 64 กิโลกรัม มีส่วนสูง 1.58 เมตร (158 เซ็นติเมตร)
นำ 64 ÷ 1.58 ÷ 1.58 = BMI25.6 (มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วนสูง)
ตารางดัชนีมวลกาย BMI
BMI
ระดับความอ้วน
ภาวะเสี่ยงต่อโรค
น้ำหนักน้อย
<18.5
-
ต่ำ
น้ำหนักปกติ
18.6-22.9
-
เท่าคนปกติ
น้ำหนักเกิน
23.0-24.9
-
เสี่ยง
โรคอ้วน
25-29.9
1
เสี่ยงมาก
อ้วนเกิน
>30
2
อยู่ในช่วงอันตราย
การลดไขมันในช่องท้อง ทำอย่างไร?
อย่างที่เราทราบกันแล้วว่า ไขมันในช่องท้อง Visceral Fat คือไขมันที่อยู่ภายในช่องท้องของเรา และพอกตัวตามอวัยวะต่าง ๆ ดังนั้น เราจึงไม่สามารถใช้วิธีการดูดไขมันหน้าท้องออกมาได้อย่างแน่นอน รวมไปถึงการฉีดสลายไขมันหน้าท้อง หรือการนวดสลายไขมันด้วยเช่นกัน เพราะวิธีเหล่านี้ ไม่สามารถลงลึกทะลุผ่านกล้ามเนื้อหน้าท้อง เข้าไปอยู่ภายในช่องท้องของเราได้
ต้องอาศัยระบบการเผาผลาญไขมันของร่างกายเท่านั้น แปลว่าเราก็ต้องมีวินัยกับตัวเองให้มากๆเพราะวิธีดังกล่าวคือการอออกกำลังกาย และการควบคุมอาหาร ที่เรารู้แก่ใจกันดีว่าช่วยลดไขมันได้การออกกำลังกาย จะต้องลงมือออกแรงทำอย่างสม่ำเสมอ แต่การควบคุมอาหารและปรับพฤติกรรมการกินนั้น สามารถทำได้โดยอาศัยวินัยของตัวเอง และการใช้ตัวยาเข้ามาช่วย
การออกกำลังกาย กระตุ้นการเผาผลาญ
การกินแล้วนั่งเฉย ๆ หรือการกินแล้วนอน ไม่ค่อยได้มีการขยับร่างกายบ่อย ๆ ก็ทำให้เกิดไขมันในช่องท้องได้เนื่องจากร่างกาย ไม่ได้กระตุ้นให้เกิดการเผาผลาญพลังงานส่วนเกินที่เรากินเข้าไป จึงเกิดการสะสมของไขมันหน้าท้องขึ้นถ้าอยากลดไขมันช่องท้องลง เพื่อให้เราห่างไกลโรคต่างๆ มากขึ้น เราควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 45 นาที
การควบคุมอาหาร / ปรับการกิน
การลดไขมันช่องท้อง Visceral Fat คือ ต้องควบคุมอาหารครับ เพราะพฤติกรรมการกินอาหารของคนเราสำคัญมากถึง 70% เมื่อเทียบกับการออกกำลังกายถ้าคุณมีความตั้งใจว่าอยากลดไขมันในช่องท้อง อยากให้หน้าท้องเล็กลง รอบเอวเล็กลง และอยากให้สุขภาพดีขึ้น การปรับพฤติกรรมการกินเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ควรกินเท่าที่ร่างกายต้องใช้จริงๆ เมื่อรู้สึกอิ่มให้หยุดต้องเลือกกินอาหารที่เหมาะสม และหลีกเลี่ยงอาหารที่ยิ่งทำให้เกิดการสะสมของไขมันในช่องท้อง ดังนี้
อาหารที่ควรรับประทาน
อาหารที่มีโปรตีนสูง
อาหารที่มีไฟเบอร์สูง
อาหารที่มีไขมันต่ำๆ
การดื่มน้ำเปล่ามากๆ
อาหารรสเผ็ด, เปรี้ยว และขม
อาหารที่ไม่ควรรับประทาน
อาหารที่มีไขมันสูง
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
อาหารที่มีน้ำตาลเยอะ
อาหารทอด, หวาน และมัน
ได้รู้จักกับไขมันช่องท้องมากขึ้นกว่าเดิมกันแล้ว นอกจากนี้ยังพอจะรู้วิธีเช็คไขมันในช่องท้อง (Visceral Fat) แบบคร่าวๆว่าคุณมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคต่างๆแต่ถ้าใครที่มีความเสี่ยงหรือแนวโน้มนี้ ลองปรับพฤติกรรมการกินตามวิธีที่แพทย์ได้แนะนำ
 
สอบถามข้อมูลหรือแพ็กเกจ โทร. 02 109 1111
โรงพยาบาลบางปะกอก 1
แนะนำโดยหมอทีม
ลุงฮงตั้งใจที่อยากจะให้ตัวช่วยนี้
สร้างประโยชน์ ให้ความรู้ ให้มีสุขภาพดี ให้มีโอกาสสร้างธุรกิจของคุณเอง ด้วยระบบอุปถัมภ์นี้ ที่ไม่ต้องเดินทาง สร้างรายได้เสริมเบื้องต้นหลักหมื่นแบบมินิและขยับเป็นมืออาชีพต่อไป
ติดต่อลุงฮงที่
โทรและไลน์ 081-6032249
โฆษณา