Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หมอสายดาร์ก
•
ติดตาม
4 เม.ย. เวลา 14:14 • สุขภาพ
Cadmium ส่งผลอะไรกับเรา
ถ้าใคนคุ้นชื่อโรคแปลกๆ ที่เคยเรียนตอนประถม “อิไต อิไต” นั่นแหละค่ะ หนึ่งในโรคที่เกิดจากแคดเมี่ยม
เนื่องจากเรามีข่าวดัง ว่ามีกากแคดเมียมที่ถูกกำจัดแบบไม่เหมาะสมกองรวมกันเป็นหมี่นตัน ที่จังหวัดสมุทรสาคร เลยมาเล่าให้ฟังว่าอาการที่เกิดจากการสัมผัส Cadmium มีอะไร ยังไงบ้าง
แคดเเมี่ยมคือโลหะหนัก ที่มีพิษต่อร่างกาย โดยพิษจะแบ่งเป็น
- การรับมาแบบเฉียบพลัน
- การรับพิษมาแบบเรื้อรัง
ซึ่งแคดเมียมเข้าไปในร่างกายได้หลายทางโดยไม่รู้ตัว เช่น คนงานที่ทำงานใช้โลหะแคดเมียมจะได้รับทางการหายใจเป็นส่วนใหญ่ คนทั่วๆ ไปจะได้รับจากอาหารที่กินเข้าไปเป็นหลัก และได้รับจากอากาศเล็กน้อย ขึ้นกับความสะอาดของอากาศ แต่คนที่สูบบุหรี่จะได้รับโลหะแคดเมียมจากบุหรี่บ้างอยู่แล้ว
เอาเป็นว่า เคยมีการสำรวจพบ ว่สเราเอง ก็มีการบริโภคเอาสารปนเปื้อนแคดเมียมเข้าไปกันอยู่ทุกวัน แต่โดยมากมักไม่ถึงเกณฑ์ที่เป็นอันตรายตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนด (ค่าเฉลียรับอยู่สัปดาห์ละ 0.1 มก โดยค่ากำหนดอยู่ที่ไม่เกิน 0.4 มก.)
ทีนี้อาการเฉียบพลัน ที่เกิดขึ้นได่แก่ อาการเหมือนไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไอ เจ็บหน้าอก หายใจไม่สะดวก ซึ่งพบได้ 2-3 ชั่วโมงหลังสัมผัส
ส่วนอาการที่เกิดขึ้นเมื่อรับสารนี้เป็นระยะเวลานาน
ได่แก่
1. โรคปอดเรื้อรัง เพราะมีการอักเสบของหลอดลมเรื้อรัง มีพังผืดจับในทางเดินหายใจส่วนล่าง และมีการทำลายของถุงลมซึ่งจะกลายเป็นโรคถุงลมโป่งพองในที่สุด ผู้ที่มีความเสี่ยงมากคือคนทำงานกับผงแคดเมียมโดยตรง เช่น โรงงานแบตเตอรี่ขนาดเล็ก
โดยอาการเหล่านี้อาจจะมาเกิดหลังจากหยุดสัมผัสสารไปแล้วหลายปีก๋ได้
2. โรคไตอักเสบ จะแสดงออกโดยมีการอักเสบของไต การทำงานทางท่อในไตเสียไป จะพบแคดเมียมในปัสสาวะสูง มีโปรตีน กลูโคสสูงในปัสสาวะ พบว่ามีการสะสมของแคดเมียมที่หมวกไตก่อให้เกิดการอักเสบและเป็นอันตรายต่อไป
*การเกิดโรคไตอักเสบนี้จะเป็นแบบถาวร แม้ว่าจะไม่ได้รับแคดเมียมต่อ
แต่อย่าเพิ่งตกใจไป แม้อาการจะรุนแรง แต่การจะสูดดมแคดเมี่ยมเข้าไปนั้น ตัวกากแคดเมี่ยมต้องถูกหลอมเป็นไอ ซึ่ง ต้องใช้ความร้อนสูงถึง 300 กว่าองศา หรือเป็นฝุ่นปริมาณเข้มข้น แล้วสูดเข้าไป ซึ่งน่าจะเกิดในกลุ่มที่ใกบ้ชิดสารนี้มากๆ เช่นคนในโรงงาน
ดังนั้นในกรณีของสมุทรสาครน่าจะไม่เกิดภาวะนี้ขึ้น
แต่การรับสารพิษแบบเรื้อรังอาจจะยังเป็นไปได้ถ้าหากสารพิษนี้มีการปนเปื้อนลงในน้ำหรือดิน แล้วเราได้นำมาอุปโภคบริโภคกัน
อย่างโรคอิไตอิไต ที่เกิดในญี่ปุ่น ในอดีตนั้น เกิดจากการที่มีแคดเมียมละลายลงสู่นาข้าวแหล่งน้ำทำให้มีการรับไปเป็นระยะเวลานาน ทำให้กระดูกเสียหมด และปวดไปหมด (อิไตอิไต = โอ้ย โอ้ย) และสุดท้ายคนไข้มักเสียจากไตวาย หรือ เกลือแร่ผิดปกติรุนแรง
2
วิธีการตรวจว่ามีแคดเมียมในร่างกายเกินหรือไม่ อาจเช็คได้จากเลือดหรือปัสสาวะค่ะ
Ref
1.
http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=7&ID=347
2. Occupational Safety and Health Administration (OSHA):
https://www.osha.gov/
3. National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH):
https://www.cdc.gov/niosh/index.htm
4. Agency for Toxic Substances and Disease Registry (ATSDR):
https://www.atsdr.cdc.gov/
2 บันทึก
14
4
2
14
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย