4 เม.ย. เวลา 16:10 • ปรัชญา
เรื่องราวของคำว่าประเพณี ขนบธรรมเนียม มันมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอด ในการจัดการประเพณี และขนบธรรมเนียม มันเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยของคน เรื่องราวประเพณีทำบุญวันพระใหญ่ วันสำคัญๆ เค้าว่า โลกวิญญาณ นรกเปรตอสุรกาย เค้าปล่อยให้มารับบุญกุศล
..บางรายตายไป ทิ้งสมบัติมามากมาย หวังจะได้บุญ ก็ไม่มีใครนึกถึงเลย เดินกลับไปตัวเปล่า ร้องห่มร้องไห้ ตอนมีชีวิตก็มุ่งมั่นหาเงินทองทิ้งไว้ตายไปเอาไปไม่ได้ ลูกหลานญาติมิตร เค้าก็เอาไปใช้บำรุงความสุขกายของเค้า บ้างยรกจน ลูกหลานเคยพักพิงอาศัยอุปถัมภ์กันมาดี ระลึกในคุณ ก็ทำบุญทำทานไปให้ ก็มีเสบียงบุญติดไม้ติดมือ จิตมีเรี่ยวแรงไปไหนมาไหนได้
บ้างตายไป ไม่มีกายให้อาศัย เหลือแต่งดวงจิต เร่าร้อนทุกข์ทรมาน รอคอย..เห็นใครมีบุญ ก็ไปเกาะขอบุญฉันบ้าง วันสำคัญ ก็ไปรอคอยกันแน่น ..รอรับบุญกุศล เหมือนคนเราไปนั่งรอเค้าแจก
เช่น งานเทกระจาด จิตเร่ร่อน เหมือนคนไร้บ้าน ก็ไปรอคอยกันแน่น แม้ในงานศพ ..ที่เค้าทำบุญทำทานกันดีๆ ทำให้เกิดเป็นบุญ พวกเร่ร่อน ก็ไปยีนรอกันเป็นระเบียบ เหมือนแถวกองทหาร..มีหัวหน้ายืนข้างหน้า .รอคอยรับบุญกุศล .บางที่ก็มีการจัดเข้าคิว เป็นหมวดหมู่เป็นชุด ..มาขอรับบุญกุศล ..แล้วบุญกุศลเป็นอย่างไร เค้าจึงมาขอ .ทำไมจิตออกจากร่างต้องการบุญกุศล
สมัยนี้เค้ามุ่งหาเงินหาทอง ชื่อเสียง มันเลยไม่เกิดเป็นบุญ ..เป็นเรื่องหาเสียงหาชื่อเสียง หาคำสรรเสริญเยินยอ ..มันตรงข้ามในสิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านทำมา คล้ายเอาเรื่องศาสนามาบังหน้า ..หากินกับศาสนา
เรื่องประเพณี สร้างบุญกุศลนั่น เค้าทำอุทิศให้กับผู้ที่มีพระคุณ ปู่ย่าตายาย เค้าก็ทำบุญบังสกุลอุทิศกุศลไปให้
ถึงวันสำคัญ..เราก็ทำเป็นปกติ .ของเรา ..เราไม่ได้ไปสนใจในงานประเพณี ..แสงสีอะไร เราทำของเราเงียบ ๆ ไม่ไปวุ่นวาย ..ในสิ่งที่เค้าจัด..ส่งเสริมการท่องเที่ยว ..เพราะนั้นเป็นเรื่องวุ่นวาย พัวพันอยู่กับโลก ที่เค้าเรียกว่า หลงในรูปรสกลิ่นเสียง ไม่ได้เกิดบุญกุศล.. เมื่อเราต้องการบุญ ให้เกิดเป็นบุญ เราก็ทำของเราไป ..ทำบุญก็ต้องรู้จักว่าทำอย่างไร จึงเกิดเป็นบุญกุศล ทำไม่ถูก มันก็ไม่เกิดบุญ บางทีก็กลายเป็นทำบุญ เรียกร้องหากรรมให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น
โฆษณา