5 เม.ย. 2024 เวลา 06:45 • ท่องเที่ยว

ผจญภัยการการนั่งรถไฟในอินเดีย

รถไฟอินเดีย .. แค่พูดถึง หลายคนคงมีภาพของรถไฟที่เก่าคร่ำคร่า ห้องน้ำเหม็น ผู้โดยสารที่ล้นโบกี้ของรถ จนต้องไปนั่งบนหลังคารถ
.. แต่นั่นมันเป็นภาพนับร้อยปีมาแล้วค่ะ
ภาพรถไฟ เมื่อครั้งมีผู้อพยพในกรณีแบ่งดินแดน อินเดีย - ปากีสถาน
การไปเยือนอินเดียของเราเมื่อเดือนมกราคม 2024 ที่ผ่านมา เราใช้บริการการโดยสารรถไฟอยู่หลายครั้ง .. เลยอยากจะเล่าเรื่องรถไฟอินเดียค่ะ แต่ไม่มีภาพประกอบทั้งหมดนะคะ
เรื่องแรกที่ต้องทำความเข้าใจเลยคือ "รถไฟอินเดียมีหลายคลาส" .. มีตั้งแต่ โลคอลคลาสแบบธรรมดา ที่เรามักจะเห็นคนแย่งกันขึ้นรถชุลมุนกันไปหมด .. ไปจนถึงเฟิร์สคลาส รวมถึงพวกขบวนพิเศษๆ เช่น เส้นทางชิมลา หิมาจัล ก็มีรถไฟสายมรดกโลก หรือแม้แต่ชั้นเฟิร์สคลาส
... ปัจจุบันมีกระทั่ง Super Fast Train!
ประเภทของรถไฟที่เหมาะกับการเดินทางทั่วๆไปของนักท่องเที่ยวอย่างเรา (ไม่ใช่การเที่ยวแบบหรูหรา จ่ายไม่ไหวอ่ะค่ะ .. แต่ทริปนี้ แอบไปนั่งรถไฟสายมรดกโลกที่ซิมลา และดาร์จีลิ่งมาแล้ว เล่าให้ฟังวันหลังนะคะ)
คลาสดี ๆ ก็ดีและถูกกว่าบ้างเราก็มีอยู่หลายขบวนมาก ๆ เพราะรถไฟคลาสดี ๆ ของเขาก็จะมีแต่คนภูมิฐาน มีการมีงานทำ ไม่ใช่ชาวบ้านที่ตื่นเต้นกับการเห็นนักท่องเที่ยวที่แต่งตัวต่างจากเขามาก ๆ แล้วพากันจ้องมอง
… เพราะฉะนั้นหากยังกลัวรถไฟอินเดียแต่อยากเดินทางก็ให้เลือกรถไฟคลาสดี เช่น AC chair car (ประเภทนั่ง) , AC2 หรือ AC First class (ประเภทนั่ง-นอน)
สภาพทั่วๆไปของสถานีรถไฟในช่วงเดือนมกราคม ..อากาศช่วงเช้าหนาว จึงเห็นผู้คนที่มารอโดยสารรถไฟใช้ชานขาลาเป็นที่นั่ง หรือนอนพักรอ
การขนส่งกระเป๋าของผู้โดยสาร
ร้านขายของในสถานีรถไฟ .. บางสถานีหากเป็น member ก็จะมีที่นั่งรอ เข้าไปดื่มน้ำ เล่น IG FB Line รอได้
การขขึ้นรถไฟ .. มักจะมีบอกว่าตู้โดยสารหมายเลขอะไร จะจอดที่ไหนของชานชาล จึงไม่ค่อยชุลมุนหรือแย่งกันมากเท่าไหร่
1. AC First Class ( 1AC )
AC First Class ( 1AC ) ชั้นนี้เป็นประเภทเฟิร์สคลาส จะต่างกับกับ First Class ที่ไม่มีคำว่า AC นะ แต่สำหรับ 1AC นั้นจะเป็นรถไฟประเภทนั่งนอน ที่มีความเป็นส่วนตัวขึ้นมาตรงที่มีทั้งห้องแบบที่เตียงคู่ หรือก็คือ "coupe" และห้องแบบ 4 เตียงหรือก็คือ "Cabin" คลาสนี้จะมีความเหมือน 2AC ( นั่งนอนชั้น 2 ) แต่ต่างกันตรงที่เฟิร์สคลาสเป็นห้อง ส่วน 2AC เป็นม่านนั่นเอง
2. AC Tier เป็นชั้นประเภทนั่ง-นอนเช่นกันมีความสะดวกสบายมากๆ ไม่แพ้เฟิร์สคลาสเลย จนหลายคนตั้งคำถามว่ามันดีขนาดนี้แล้วยังจำเป็นต้องจองเฟิร์สคลาสอยู่ไหม ที่นั่งของชั้นนี้มีที่นอนบางๆ ให้ด้วย แต่ชั้น 3AC จะไม่มี
เราจองตั๋วล่วงหน้าของตู้นอน .. ตู้นอนของ class นี้ จะเป็น section ที่มี 6 เตียง ด้านหนึ่งจะเป็นเตียง 2 ชั้นชั้นล่างและชั้นบน
…ส่วนอีกด้านหนึ่ง เป็นแบบ 2 ชั้นๆละ 2 เตียงซ้าย-ขวา
นอกจากนี้แม้จะไม่เป็นห้องส่วนตัวแบบเฟิร์สคลาสแต่ก็ยังมีม่านปิดที่นอนไว้ และแอร์เย็นฉ่ำ เข้าขั้นหนาวเลย
นอกจากนี้หากเราเดินทางคลาสนี้ในช่วงกลางคืน เจ้าหน้าที่จะจัดเตรียมที่นอนรอไว้แล้ว .. แต่เมื่อเราขึ้นรถมา อาจจะเจอว่ามีคนอื่นมานอนในที่เราจองไว้ล่วงหน้าเต็มแล้ว
.. แต่ไม่ต้องตกใจค่ะ เมื่อเราไปบอกว่าเราเป็นเจ้าของที่นั่งนี้ เขาก็จะลุกขึ้น แล้วเก็บข้าวของเดินจากไป โดยไม่โต้แย้งอะไร
..เราก็อาจจะแค่ต้องทนดมกลิ่นแขกไปจนถึงปลายทาง ก็แค่นั้นเอง
3. 3AC Tier
เป็นชั้นประเภทนั่ง-นอนที่ราคาถูกแบบสุดๆ และก็สบายกว่าชั้นนั่งนอนแบบ SL อาจไม่สบายเท่า 2AC แต่ยังคงปลอดภัย มีประตูปิดโบกี้มิดชิด ต้องบอกว่าถ้าเป็นชั้นที่ต่ำกว่า AC ลงไป อย่าง SL มันจะไม่มีประตูปิดโบกี้
ดังนั้นสิ่งที่เราจะเจอใน SL คือมีคนแอบขึ้นรถไฟมาแบบไม่มีตั๋วและมานั่งข้างๆ ที่ว่างๆ บนรถไฟซึ่งมันอาจจะเป็นข้างๆ คุณด้วย และยิ่งถ้าเป็นตอนกลางคืนเจ้าหน้าที่ตรวจตั๋วเสร็จก็ไปดังนั้นบางครั้งคนพวกนี้ก็จะแอบมานั่งข้างๆ หรือปลายเตียงของผู้โดยสาร บางครั้งก็นอนบนพื้นว่างๆ พื้นที่ใช้วางเท้านั่นแหละ หรือนอนตรงทางเดิน เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์แบบนี้แนะนำให้จอง AC ขึ้นไปจะดีกว่า
4. AC chair car
คลาสนี้เป็นรถไฟประเภทนั่ง ที่ค่อนข้างดี มีประตูปิดขบวนมีอาหารขึ้นมาขายตามปกติ มีที่ชาร์จแบตฯให้ จริงๆ ทุกคลาสที่ว่ามานี้มีที่ชาร์จแบตฯหมดเลยค่ะ สำหรับ AC chair car เป็นที่นั่ง 3 ที่ติดกันหนึ่งฝั่ง และสองที่ติดกันอีกหนึ่งฝั่ง ที่นั่งดี เบาะนิ่มมากๆ
รถไฟแต่ละคลาสคือจะมีเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดหมด .. แต่ละขบวนเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดจะขยันทำ หรือไม่ขยันทำมันก็อีกเรื่องหนึ่ง เรื่องห้องน้ำเนี่ยเหมือนห้องน้ำในชั้น 3 ของรถไฟไทยเลยค่ะ มีทั้งแบบนั่งยอง ๆ และแบบโถสุขภัณฑ์ มีที่น้ำให้ทำความสะอาดทั้งแบบสายฉีด และแบบรองตัก ถ้าคลาสดี ๆ นี่จะมีอ่างล้างมือ และสบู่ล้างมือที่หอมมาก ๆ ให้ใช้ด้วย
.. แต่ก็ใช่ค่ะ ถ้าเป็นชั้น 3 ชนบทอาจเจอปัญหาเรื่องกลิ่น แต่อย่างที่บอกไปว่า ไม่ได้สกปรกย่ำแย่ทุกขบวนตามที่คิดกันค่ะ
และนี่ก็เป็นการรีวิวรถไฟอินเดียจากประสบการณ์ที่ไปเที่ยวมา .. ส่วนตัวชอบรถไฟอินเดียมากกว่าบัสเพราะสถานีชัดเจน สถานที่ขึ้นชัดเจน อีกทั้งยังสามารถเช็กสถานะรถไฟได้แบบเรียลไทม์ รวมถึงมีหลายเส้นทางและเข้าถึงกลางเมืองหลายๆ เมืองอีกด้วย หากใครกลัวรถไฟอินเดียก็แนะนำให้จองชั้นดีๆ คุณก็จะได้รับประสบการณ์การท่องเที่ยวด้วยรถไฟอินเดียในทางที่ดีแบบเรานั่นเอง
บางคนเลือกบัส แทนรถไฟ เพราะเข้าใจว่า รถบัสดีกว่า อันนี้คือเข้าใจผิดอย่างแรงเลยนะคะ เพราะถ้าคุณคุยกับชาวอินเดียว่าถ้าต้องเลือกเดินทางด้วยรถบัส และรถไฟ พวกเขาจะเลือกรถไฟ และบอกต่อว่า รถไฟดีและสบายกว่ารถบัส
อินเดียมีระบบรถไฟด่วน ดำเนินการโดยการรถไฟอินเดีย ซึ่งอยู่ภายใต้ขอบเขตของกระทรวงรถไฟของรัฐบาลอินเดีย ในปี พ.ศ. 2566 มีการรักษารางรถไฟมากกว่า 108,706 กม. และให้บริการรถไฟด่วนเกือบ 3,000 ขบวนต่อวัน
จากข้อมูลของกระทรวงรถไฟ รถไฟด่วนจะเดินทางได้เร็วกว่าและมีจุดจอดที่จำกัดกว่ารถไฟโดยสารธรรมดา รถไฟโดยสารที่มีความเร็วเฉลี่ยสูงกว่า 55 กม./ชม. ถือเป็นรถไฟความเร็วสูงพิเศษ
ในปี 2023 อินเดียไม่มีรถไฟความเร็วสูงให้บริการ ความเร็วปฏิบัติการสูงสุดที่ 160 กม./ชม. ทำได้โดย Gatimaan Express และ Rani Kamalapati (Habibganj)–Hazrat Nizamuddin Vande Bharat Express บนเส้นทาง Tughlakabad–Agra
รถไฟที่ใช้รถจักรไอน้ำรุ่นก่อนๆ ส่วนใหญ่ดำเนินการด้วยความเร็วต่ำกว่า 100 กม./ชม. ด้วยการเปิดตัวตู้รถไฟไฟฟ้าในช่วงปลายทศวรรษปี ค.ศ. 1920 และตู้รถไฟไอน้ำรุ่นใหม่ ทำให้ทำความเร็วได้ 100 กม./ชม.
ด้วยการเคลื่อนตัวไปสู่ระบบขับเคลื่อนแบบ AC ในช่วงปลายทศวรรษ 1950 และการนำตู้รถไฟดีเซลมาใช้ ความเร็วสูงสุดถึง 120 กม./ชม.
เกิดขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1960 ด้วยการเปิดตัวตู้รถไฟไฟฟ้ากำลังสูงในทศวรรษ 1990 ความเร็วในการทำงาน 130 กม./ชม. เกิดขึ้นได้
การพัฒนาเพิ่มเติมที่นำไปสู่ความเร็วสูงสุดที่ 160 กม./ชม. (99 ไมล์ต่อชั่วโมง) ซึ่งเกิดขึ้นจริงในต้นปี 2010 Vande Bharat Express ซึ่งเป็นบริการวิ่งไฟฟ้าหลายหน่วย (EMU) ที่เปิดตัวในปี 2562 เป็นรถไฟด่วนที่เปิดให้บริการเร็วที่สุดด้วยความเร็วสูงสุดที่อนุญาต 160 กม./ชม.
ในปี 2019 Vande Bharat Express ขบวนแรกได้เข้าสู่การให้บริการเชิงพาณิชย์ด้วยความเร็วสูงสุดในการดำเนินงานที่ 160 กม./ชม.
ความเร็วในการทำงานจริงนั้นต่ำกว่ามากเนื่องจากข้อจำกัดของเส้นทางและความแออัดด้วยความเร็วสูงสุดที่จำกัดไว้ที่ 130 กม./ชม. สำหรับรถไฟส่วนใหญ่
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 มีการใช้ตู้รถไฟ WAP-5 ที่ได้รับการดัดแปลงจำนวน 2 ตู้เพื่อลากรถไฟชุดอมฤตภารัตในรูปแบบผลักดึง ซึ่งมีความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม.
สถานีรถไฟพาราณสี .. เป็นสถานีใหญ่ ผู้คนขวักไขว่ และยังมีทัศนียภาพแบบอินเดียให้เห็นเหมือนที่สถานีรถไฟอื่นๆ
***รถไฟอาจจะสามารถทำความเร็วได้สูง .. แต่อะไรก็เกิดขึ้นได้ในอินเดีย
.. ควรตระหนักถึงความล่าช้ากว่าที่กำหนดเอาไว้ หลายกรณีการเดินรถอาจจะช้ากว่ากำหนดไว้ได้ถึงอย่างต่ำ 2 ชั่วโมง
.. รถไฟวิ่งที่ได้เร็ว แต่อาจจะต้องหยุดกลางทาง ด้วยเหตุที่มีการซ่อมแซมรางรถไฟ ควรเผื่อเวลาในกรณีอย่างนี้ไว้ด้วยหลายๆชั่วโมง
.. คุณอาจจะยิ้มไม่ออกเมื่อแม้เผื่อเวลาไว้ 4-5 ชั่วโมงจากสถานี้ต้นทาง ถึงสถานีปลายทาง ซึ่งคุณคิดว่า เหลือเฟือแล้ว .. แต่คุณก็ยังจชตกรถไฟที่ตั้งใจจะขึ้นต่อไปยังจุดปลายปลายทางอื่นอยู่ดี
.. แถมการหาพาหนะอื่นเพื่อเดินทางต่อ ก็ยากลำบาก
โฆษณา