และคำว่า Retweet ได้ถูกบรรจุไว้ในพจนานุกรม Concise Oxford English Dictionary ในปีเดียวกัน
โดยเฉพาะคำว่า Tweet นี้ หลาย ๆ ครั้งถูกใช้เป็นคำสามัญ ไม่ได้ต่างจากคำว่า Google เลย
เมื่ออ่านมาถึงจุดนี้ จะเห็นได้ว่าส่วนหนึ่ง ที่ทำให้คนทั่วโลกยังคงเรียก X ว่า Twitter ก็เป็นเพราะ Twitter สามารถสร้างแบรนด์เดิมไว้ได้ดีมาก
อย่างไรก็ตาม X ซึ่งเป็นแบรนด์ใหม่ ก็มีส่วนที่ทำให้คนทั่วโลกยังคงเรียก X ว่า Twitter ต่อไปเช่นกัน
เรื่องแรกเลยคือ คนทั่วโลกไม่เข้าใจว่าทำไม อีลอน มัสก์ ต้องรีแบรนด์ Twitter ให้กลายเป็น X
ซึ่งแม้ว่าอีลอน มัสก์ จะอธิบายว่า การรีแบรนด์ทำขึ้นเพื่อสะท้อนให้เห็นว่า X จะกลายเป็น The Everything App ไม่ใช่แค่แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป
แถมยังไม่เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นกับ Twitter นอกเหนือจากการเปลี่ยนชื่อ และเปลี่ยนโลโก ให้กลายเป็น X
ฟีเชอร์ใหม่ ๆ ที่เพิ่มขึ้นในช่วงหลัง ก็ยังไม่ได้สะท้อนให้เห็นภาพอย่างชัดเจน ว่า X จะเป็น The Everything App ได้อย่างไร
จนในท้ายที่สุด ทำให้คนทั่วโลก ยังคงเรียก X ว่า Twitter ต่อไป
นอกจากนี้ ปัจจัยทางด้านชื่อแบรนด์ ก็มีผลเช่นเดียวกัน เพราะชื่อของ X นั้น ขาดความมีเอกลักษณ์ และความเฉพาะเจาะจง
ลองคิดภาพตามง่าย ๆ ว่า ก่อนหน้านี้ เราเห็นแบรนด์ต่าง ๆ นำตัวอักษร X ไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อ เป็นจำนวนมาก
เช่น ภาพยนตร์ X-Men
เครื่องเล่นเกม Xbox ของ Microsoft
วงดนตรี X Japan ของประเทศญี่ปุ่น
หรือแม้แต่ เว็บไซต์สื่อสำหรับผู้ใหญ่ ก็นิยมนำ X ไปตั้งเป็นชื่อ เป็นจำนวนมาก
เช่น Xvideos, Xtube และ xHamster
ทำให้คนจำนวนมาก ไม่ยอมรับชื่อของ X และเลือกที่จะเรียก X ว่า Twitter ต่อไป
แม้แต่ใน App Store ของอุปกรณ์ Apple หากใครค้นหาแอป X จะพบว่ามีการใส่รายละเอียดต่อท้ายชื่อ X ว่า “Formerly Twitter” ทำให้คนไม่สับสน และรู้ว่าแอปนี้ ก็คือแอป Twitter เดิมนั่นเอง
ในท้ายที่สุด การรีแบรนด์ของ Twitter เป็น X ให้บทเรียนอะไรกับเราบ้าง