7 เม.ย. เวลา 04:45 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

แนวทางสู้โลกร้อนกับการกางร่มให้โลก ซึ่งคราวนี้ร่มของเราคือ "เมฆเกร็ดเล็กผสมเกลือ"

แม้ไม่ต้องมีใครบอกไม่ต้องดูอุณหภูมิทุกคนก็คงจะเห็นพ้องกันแล้วว่าปีนี้อากาศมันร้อนกว่าทุกปีจริง นั่นเพราะเรากำลังเข้าสู่ภาวะโลกเดือดกันแล้วไม่ใช่แค่โลกร้อน ปีนี้อากาศร้อนทำสถิติใหม่ในหลายพื้นที่ทั่วโลก และนักวิทยาศาสตร์คาดการว่าสถานการณ์จะเลวร้ายลงเรื่อย ๆ ไม่ใช่แค่ร้อนแต่เรากำลังจะเจออากาศหนาวจัด แล้งจัดและน้ำท่วมหนักเกิดขึ้นบ่อยและเกิดขึ้นทุกพื้นที่ทั่วโลก
เพื่อที่จะลดผลกระทบต่อเนื่องแบบลูกโซ่ของปรากฎการณ์นี้ ความพยายามที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือกกระจกนั้นดูจะไม่ทันการแน่ๆ ด้วยเทคโนโลยีที่และความจริงจังที่เรามีอยู่ จึงมีนักวิทยาศาสตร์ต่างพากันนำเสนอไอเดียใหม่ ๆ ในการลดอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกลง
ผลกระทบแบบลูกโซ่จากโลกร้อนทำให้เราเริ่มเข้าสู่ยุคโลกเดือด เมื่ออุณหภูมิอากาศสูงขึ้นไฟป่าก็เกิดมากขึ้นปล่อยก๊าซเรือกกระจกเพิ่มขึ้น ทำให้เราเสียพื้นที่ป่าที่คอยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปอีก
และหนึ่งในไอเดียที่ผุดขึ้นมาก็คือกางร่มให้โลก เพราะโลกเรานั้นได้รับพลังงานความร้อนมาจากแหล่งพลังงานหนึ่งเดียวในระบบสุริยะนั่นก็คือดวงอาทิตย์ สำหรับวิธีนี้แนวคิดก็ง่าย ๆ ตรงไปตรงมาเหมือนกับการที่เรากางร่มเวลาอยู่กลางแดดนั่นเอง
ไอเดียเกี่ยวกับการลดโลกร้อนแบบนี้อยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า Solar Geoengineering การดัดแปลงภูมิอากาศโดยการจัดการด้านพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่ถูกส่งลงมายังพื้นโลก
Geoengineering กับความพยายามในการลดอุณหภูมิโลก
ซึ่งหลัก ๆ ก็ได้แก่
1. การดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากบรรยากาศ ลดผลของภาวะเรือนกระจก
2. เพิ่มสัมประสิทธ์การสะท้อนแสงให้กับผิวน้ำทะเล เพื่อสะท้อนความร้อนจากแสงอาทิตย์กลับสู่อวกาศ(ความร้อนที่สะท้อนกลับโดยตรงนั้นติดอยู่ที่ชั้นก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าความร้อนจากการแผ่รังสีกลับจากพื้นโลก)
3. โรยวัสดุสะท้อนแสงแดดที่บรรยากาศชั้นบนเพื่อสะท้อนความร้อนจากแสงอาทิตย์กลับสู่อวกาศ
4. นำกระจกหรือแผ่นสะท้อนแสงขนาดยักษ์ขึ้นสู่วงโคจรเพื่อบังแสงแดดที่ส่องลงมายังโลก
5. Cloud Seeding สร้างเมฆเพิ่มเพื่อสะท้อนความร้อนจากแสงอาทิตย์กลับสู่อวกาศ(ท้องฟ้าสดใสก็จะหายไปซินะ T T)
marine cloud brightening เทคนิคเพิ่มอัตราการสะท้อนแสงให้กับก้อนเมฆเพื่อช่วยลดโลกร้อน
และความคืบหน้าของการทดสอบไอเดียเหล่านี้ก็เริ่มมีขึ้นแล้ว อย่างล่าสุดทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันก็ได้เริ่มทำการทดสอบไอเดียของวิธี Cloud Seeding ในบริเวณอ่าวซานฟรานซิสโก
โดยหลักการที่ทีมวิจัยที่ใช้นี้คือการใช้น้ำทะเลในการผลิตเมฆที่มีละอองเกลือผสมที่เรียกว่า marine cloud brightening (MCB) ทั้งนี้ละอองเกลือขนาดเล็กที่ลอยปะปนอยู่ในก้อนเมฆนี้จะช่วยเพิ่มอัตราการสะท้อนแสงให้กับก้อนเมฆทำให้ความร้อนจากแสงแดดถูกสะท้อนกลับสู่อวกาศแทนที่จะลงมายังพื้นที่ด้านล่าง
ใช้เครื่องพ่นหมอกแบบที่ใช้ลดฝุ่นในการสร้างหมอกชื้นที่จะลอยขึ้นไปเป็นเมฆต่อไป
แน่นอนว่าทุกไอเดียที่ยุ่งเกี่ยวกับภูมิอากาศโลกนั้นอาจส่งผลกระทบข้างเคียงที่อาจคาดไม่ถึงได้ การจะทำอะไรจึงต้องมีการทดสอบทดลองเพื่อเก็บข้อมูลให้แน่ใจเสียก่อนว่าเราจะไม่สร้างวิกฤติอื่นขึ้นมาแทนที่เป็นอยู่
ซึ่งการทดสอบในครั้งนี้อาศัยพื้นที่ดาดฟ้าของเรือบรรทุกเครื่องบินเก่าเป็นสถานที่ติดตั้งชุดอุปกรณ์สำหรับการทดสอบและเก็บข้อมูลที่ได้จากการทดลองเพื่อนำไปศึกษาและประเมินผลกระทบทั้งโดยตรงและผลข้างเคียงอื่นที่อาจจะเกิดขึ้น
ชุดอุปกรณ์ทดสอบมีทั้งชุดตรวจอากาศ ชุดสร้างเมฆและชุดอุปกรณ์ตรวจวัดผลการแผ่รังสีความร้อนผ่านชั้นเมฆ
ไอเดียเรื่องการโปรยวัสดุสะท้อนแสงอาทิตย์ในชั้นบรรยากาศเพื่อลดโลกร้อนนี้มีมากว่า 30 ปีแล้ว ทั้งนี้ถ้าหากเราขึ้นเครื่องบินไปอยู่เหนือเมฆจะสังเกตเห็นได้ว่าเมฆขาวด้านบนเมื่อเจอกับแสงแดดนั้นมันขาวสว่างเจิดจ้ามาก ซึ่งก็เป็นแบบเดียวกับผืนหิมะที่เราต้องใส่แว่นกันแดดเพื่อป้องกันแสงแดดที่สะท้อนขึั้นมา
ดังนั้นแล้วหากเราเพิ่มความสามารถในการสะท้อนแสงให้กับก้อนเมฆก็จะยิ่งช่วยสะท้อนความร้อนกลับสู่อวกาศได้
หากเราเพิ่มก้อนเมฆเหนือมหาสมุทรได้ อย่างน้อยก็ช่วยลดความร้อนให้โดยส่งผลกระทบต่อผู้คนบนแผ่นดินน้อยที่สุด
ทั้งนี้แนวคิดเพิ่มปริมาณเมฆโดยใช้น้ำทะเลนี้หากจะนำมาใช้งานก็ต้องศึกษาและประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมให้ดี เพราะละอองเกลือที่ลอยขึ้นไปอยู่ในเมฆหากกลายเป็นฝนตกลงมาก็จะสร้างผลกระทบต่อคุณภาพน้ำฝนได้
ไอเดียนี้จึงมุ่งเน้นที่การสร้างเมฆที่จะลอยออกสู่ทะเลตามช่วงเวลาของลมบก-ลมทะเลที่เหมาะสม หรืออาจใช้เรือพ่นละอองน้ำออกไปอยู่กลางทะเลเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้คนบนฝั่ง
ฝูงเรืออัตโนมัติพ่นละอองน้ำเกลือที่ใช้พลังงานหมุนเวียน จะสามารถมาเป็นเครื่องมือสู้โลกร้อนให้กับเราได้หรือไม่?
ทั้งนี้เมฆที่มีละอองเกลือปนอยู่นี้หากเป็นฝนตกอยู่กลางทะเลก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์เพราะเป็นการวนน้ำทะเลที่มีอยู่ในวัฏจักรน้ำอยู่แล้ว
และความคืบหน้าของการทดสอบไอเดียเหล่านี้ก็เริ่มมีขึ้นแล้ว อย่างล่าสุดทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันก็ได้เริ่มทำการทดสอบไอเดียของวิธี Cloud Seeding ในบริเวณอ่าวซานฟรานซิสโก
Solar Geoengineering ถ้าจะทำคงต้องประเมินกันให้ดีเพราะมากเกินไปเราอาจจะสร้างยุคน้ำแข็งขึ้นมาด้วยน้ำมือมนุษย์ก็เป็นได้ เพราะโลกเราเองก็เคยผ่านยุคการเป็นก้อนน้ำแข็งสุดเย็นเยือกมาแล้ว

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา