7 เม.ย. เวลา 11:33 • สุขภาพ
ลำปาง

“ลำปาง" ผจญวิกฤต PM 2.5 พบค่าเฉลี่ยต่อเนื่อง 94.2 มคก./ลบ. แพทย์ชี้ “มีผลกระทบต่อสุขภาพ!!”

ดูเหมือนว่าขณะนี้ประเทศไทยเราเขตพื้นที่ภาคเหนือ กำลังเผชิญวิกฤตฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 แบบหลีกเลี่ยงไม่ได้
ล่าสุด เพจโรงพยาบาลลำปาง ออกประกาศเตือน สถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 ในภาคเช้าช่วง 09.00น. ของวันที่ 7 เมษายน 2567 ณ สถานีตรวจวัด ต.พระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง พบค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ต่อเนื่อง 94.2 ถึงไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ข้อมูล: กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ) ซึ่ง มีผลกระทบต่อสุขภาพ
ที่มา
PM2.5 (particulate matter, PM)ไม่ได้เป็นแค่ฝุ่นธรรมดา แต่คือฝุ่นขนาดเล็กมากที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 2.5 ไมโครเมตร (เส้นผมของคนเรามีหน้าตัด 50 ไม่โครเมตร แปลว่าฝุ่นจิ๋วนี้ต้องอยู่เรียงกัน 20 ตัวถึงจะมีขนาดเท่าหน้าตัดเส้นผมเรา 1 เส้น) ซึ่งเกินกว่าที่เราจะมองเห็นด้วยตาเปล่าว่าเป็นผงฝุ่น มนุษย์จะเห็นเพียงอากาศที่คล้ายมีหมอกๆ มัวๆ และเล็กมากพอที่จะไม่ถูกดักจับโดยกลไกการดักจับฝุ่นเบื้องต้นของร่างกายเรา ทั้งขนจมูก ทั้งเมือก ที่อยู่ในระบบทางเดินหายใจ
ฝุ่นขนาดเล็กจิ๋วนี้ สามารถผ่านลงหลอดลมและปอดเราเข้าไปได้ง่ายดาย และเล็กมากพอที่จะเข้าไปในหลอดเลือด และกระตุ้นในเกิดการอักเสบในที่ต่างๆ ทั้งระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด
โดยฝุ่นจิ๋วพวกนี้มันมักจะมีสิ่งแปลกปลอมเกาะติดตัวมันมาด้วย ทั้งสารเคมีที่เป็นสารโลหะหนัก เช่น สารปรอท (Hg), แคดเมียม (Cd), อาร์เซนิก (As)?ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกายเรา ซึ่งนอกจากจะทำลายระบบทางเดินหายใจ ยังพบว่า PM2.5 ยังสร้างความเสียหายต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมไปถึงระบบต่อมไร้ท่อ ทำให้เพิ่มอัตราการเกิดโรค และการกำเริบของหอบหืด ถุงลมโป่งพอง รวมถึงมะเร็งปอด โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อีกด้วย"
ทางด้าน ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศประเทศไทย รายงานว่า (ข้อมูลวันที่ 7 เม.ย. 2567 ณ 12:00 น ) ในประเทศไทยบางพื้นที่พบค่าเกินมาตรฐาน โดย
  • 1.
    ​ภาคเหนือ เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 42.5 - 202.0 มคก./ลบ.ม.
  • 2.
    ​ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 25.0 - 106.0 มคก./ลบ.ม.
  • 3.
    ​ภาคกลางและตะวันตก เกินค่ามาตรฐาน 3 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 19.7 - 50.5 มคก./ลบ.ม.
  • 4.
    ​ภาคตะวันออก ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ตรวจวัดได้ 14.0 - 29.9 มคก./ลบ.ม.
  • 5.
    ​ภาคใต้ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ตรวจวัดได้ 16.3 - 33.5 มคก./ลบ.ม.
  • 6.
    ​กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยสถานีตรวจวัดของ คพ. ร่วมกับ กทม. ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ตรวจวัดได้ 16.3 - 33.8 มคก./ลบ.ม.
ภาพจาก ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศประเทศไทย
ภาพจาก ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศประเทศไทย
อย่างไรก็ดี ทางเพจโรงพยาบาลลำปาง ได้ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตน หลีกเลี่ยงผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก PM 2.5 สำหรับประชาชนทั่วไป ตลอดจนกลุ่มเสี่ยง อาทิ ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยทางเดินหายใจ ดังนี้
พร้อมเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดระดับค่าเฉลี่ยของ PM 2.5 ไว้ ดังนี้
  • ​ค่าเฉลี่ยระหว่าง 0-15 มคก./ลบ.ม. = ดีมาก
  • ​ค่าเฉลี่ยระหว่าง 15.1-25 มคก./ลบ.ม. = ดี
  • ​ค่าเฉลี่ยระหว่าง 25.1-37.5 มคก./ลบ.ม. = ปานกลาง
  • ​ค่าเฉลี่ยระหว่าง 37.6-75 มคก./ลบ.ม. = เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
  • ​และ ค่าเฉลี่ยระหว่าง 75 มคก./ลม.ม. ขึ้นไป = มีผลกระทบต่อสุขภาพ
แหล่งข้อมูล
เขียน/เรียบเรียง : สายชล ติ๊บฝั้น (S_aloha)
โฆษณา