8 เม.ย. เวลา 05:45 • สุขภาพ

อ่อนเพลีย-ปวดเมื่อยง่าย อาจเป็นสัญญาณขาดวิตามินดี เสี่ยงโรคกระดูกพรุน

รู้หรือไม่?คนไทย1ใน3 มีภาวะขาดวิตามินดี ทำให้มีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลียและเสี่ยงโรคกระดูกพรุน-มะเร็งเพิ่มขึ้น
วิตามินดี (Vitamin D) มีความสำคัญในการเสริมสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อให้แข็งแรง รวมทั้งยังมีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวมอีกด้วย กลับกันพบว่า 1 ใน 3 ของคนไทย มีภาวะขาดวิตามินดีและพร่องวิตามินดี ซึ่งการมีระดับวิตามินดีที่ต่ำสามารถส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพได้
วิตามินดี สำคัญอย่างไร ?
วิตามินดี มีหน้าที่ในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งมีความจำเป็นต่อการเสริมสร้างมวลกระดูก ที่ช่วยป้องกันการเกิดภาวะกระดูกพรุนหรือกระดูกบางได้ และยังช่วยเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อ หัวใจ ปอด สมอง และอื่นๆ
ขาดวิตามินดี
หากร่างกายมีภาวะขาดวิตามินดี จะทำให้ร่างเกิดการดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง ทำให้มวลกระดูกลดลง เสี่ยงต่อการแตกหักง่าย และยิ่งเราปล่อยให้ร่างกายขาดวิตามินดีนานเข้าอาจก่อให้เกิดโรคร้ายที่อาจตามมาได้ อาทิ
  • รคกระดูกพรุน
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • โรคปลอกประสาทอักเสบ
  • โรคมะเร็ง
กลุ่มเสี่ยงขาดวิตามินดี
  • ผู้ที่ใช้ครีมกันแดด หรือใส่เสื้อผ้ามิดชิดเป็นประจำ
  • ผู้ที่อยู่แต่ในที่ร่ม ทำให้ได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ
  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่มีสีผิวคล้ำ เนื่องจากยิ่งมีผิวที่เข้ม ส่งผลให้ได้รับรังสียูวีจากแสงแดดน้อย
  • ผู้ที่มีภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน
สัญญาณขาดวิตามินดี ?
การตรวจร่างกายเป็นวิธีเดียวที่ทำให้คุณทราบว่ามีระดับวิตามินดีเพียงพอหรือไม่ โดยสามารถตรวจระดับวิตามินดีได้ด้วยการตรวจเลือดในห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้หากพบว่าตนเองมีอาการดังต่อไปนี้ อาจแสดงถึงว่าคุณยังมีวิตามินดีไม่พอ
  • รู้สึกเหนื่อย หรืออ่อนเพลียง่าย
  • มีอาการปวดเมื่อยอย่างไม่ทราบสาเหตุ
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ปวดกระดูก
ทั้งนี้ การมีอาการดังกล่าวข้างต้นไม่สามารถบอกว่าคุณขาดวิตามินดีได้ทั้งหมด อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของโรคอื่นๆ ได้เช่นกัน
วิธีเพิ่มวิตามินดี
การได้รับแสงแดดเป็นสิ่งที่สามารถเพิ่มวิตามินดีของเราได้ โดยเพียงรับแสงแดดในช่วงเวลาสั้นๆ เป็นเวลา 5-15 นาที ก็ทำให้ได้รับวิตามินดีมากกว่า 90% ของความต้องการของร่างกายแล้ว
การกินอาหารที่อุดมไปด้วยวิจามินดีธรรมชาติ เช่น ปลาที่มีไขมันสูง ชีส หรือไข่แดง ก็ช่วยได้เช่นกัน
วิตามินดีในรูปของอาหารเสริม ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง แต่การหาซื้อมากินเอง โดยที่ไม่ทราบว่าตนเองมีภาวะขาดวิตามินดีหรือไม่ อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง อาการแพ้ที่ผิวหนังได้
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
โฆษณา