9 เม.ย. เวลา 01:10 • ความคิดเห็น

สภาวะชินจนชา (habituation)

คุณ Tali Sharot โปรเฟสเซอร์ด้าน cognitive Neuro Science ของ MIT และผู้เขียนหนังสือ look again : the power of noticing of what always there เล่าถึงการใช้สภาวะความชินจนชา (habituation) ที่เป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติของมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดไว้อย่างน่าสนใจในการบรรยายที่ google
4
โปรเฟสเซอร์ชารอตตั้งคำถามว่า เราทุกคนมีเรื่องดีๆในชีวิตมากมายในมุมต่างๆ เช่นงานที่ดี ที่อยู่อาศัยที่ดี ครอบครัวที่อบอุ่น ซึ่งควรจะมีความสุขที่มีเรื่องดีๆในชีวิตแต่เอาเข้าจริงๆกลับไม่ได้รู้สึกว่ามีความสุขตามที่ควรจะเป็นนักในแต่ละวัน ในทางกลับกัน เรื่องไม่ดีที่เห็นอยู่ทุกวันเช่น ความเหลื่อมล้ำในสังคม คอร์รับชั่น ปัญหาในที่ทำงาน พอเวลาผ่านไปเราก็เหมือนจะปล่อยผ่านไม่ได้สังเกตเห็นอีก พอไม่สังเกตเห็นก็ไม่คิดว่าน่าจะต้องเปลี่ยนแปลงอะไร
1
โปรเฟสเซอร์ชารอตลองให้นึกถึงวันดีๆมากๆในชีวิตซักวัน เช่นได้ไปพักร้อนริมทะเลที่ไหนซักที่ วันแรกไปถึงก็เจอหาดทรายสวย ลมเย็นสบาย อาหารอร่อย คอกเทลรสเลิศ แต่วันต่อมาก็เจอเหมือนเดิม อีกวันก็เจอเหมือนเดิม ซ้ำแล้วซ้ำอีก เราจะรู้สึกว่าวันแรกเป็นวันที่ดีที่สุดในชีวิตส่วนวันต่อมาที่ไม่มีอะไรเปลี่ยนกลับไม่ใช่วันที่ดีที่สุดในชีวิตอีกต่อไปทั้งที่ทุกอย่างเหมือนเดิม
1
โปรเฟสเซอร์ชารอตเล่าถึงงานวิจัยที่ไปถามคนที่พักร้อนที่รีสอร์ทแสนสวย โดยตั้งคำถามว่ามีอะไรที่เขาประทับใจและมีความสุขที่สุดและช่วงไหนคือช่วงเวลาที่มีความสุขที่สุด ปรากฏว่าช่วงเวลาที่มีความสุขที่สุดของผลวิจัยคือ 43 ชั่วโมงแรกของการมาถึง และสิ่งที่มีความสุขที่สุดมักจะมีคำว่า “First” อยู่นำหน้าเสมอ เช่นการที่ได้เห็นวิวทะเลครั้งแรก ได้ดื่มคอกเทลเย็นๆแก้วแรก ได้สร้างปราสาททรายหลังแรกเป็นต้น วันต่อมาก็ยังดีอยู่แต่ไม่ประทับใจเหมือนวันแรกนัก
2
โปรเฟสเซอร์ชารอตอธิบายพฤติกรรมและความรู้สึกนี้ว่าคือ habituation หรือการลดหรือหยุดตอบสนองต่อสิ่งเร้าเดิมถึงแม้จะได้รับการกระตุ้นอยู่ หรือผมแปลง่ายๆว่าเป็นสภาวะความรู้สึกที่ชินจนชานั่นเอง
3
ความรู้สึกแบบนี้เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นการใส่น้ำหอมครั้งแรกจะรู้สึกหอมสะดุดมาก แต่พอใส่ทุกวันต่อไปเรื่อยๆเราก็จะไม่ได้กลิ่นอีก หรือเดินเข้าไปในห้องที่เต็มไปด้วยควันบุหรี่ที่เหม็นมาก แต่พออยู่ไปซัก 20 นาทีก็จะไม่ได้กลิ่น หรือย้ายบ้านใหม่ที่มีเสียงดังจากเครื่องบินบินผ่านหนวกหู พอผ่านไปหลายวันก็หลับได้โดยไม่ได้สังเกตเสียงเครื่องบินอีก
3
โปรเฟสเซอร์ชารอตอธิบายว่าเป็นเพราะประสาทของเราจะตอบสนองอย่างรุนแรงต่อสิ่งเร้าใหม่ เพราะ neuron ในสมองจะ fire up และบอก neuron ตัวอื่นให้ตื่นตัว แต่พอสิ่งแวดล้อมเหมือนเดิม neuron ก็จะหยุดตอบสนอง ทำให้เราชินชา ไม่ใช่แค่เฉพาะวิวทะเล แต่รวมถึงเรื่องที่ซับซ้อนกว่านั้นเช่นความรักอีกด้วย
1
แล้วความรู้สึกชินจนชานั้นดีหรือไม่ดี โปรเฟสเซอร์ชารอตบอกว่ามีส่วนดีและไม่ดี ถ้าเราเข้าใจมันก็อาจจะทำให้เราใช้ประโยชน์จากเรื่องนี้ทำให้เรามีความสุขมากขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นได้
1
ในด้านดี habituation ทำให้เรามีแรงจูงใจที่จะก้าวหน้าและพัฒนา เช่นตอนที่ได้งานใหม่ๆก็จะตื่นเต้นแต่ถ้าเรารู้สึกตื่นเต้นและพอใจทุกวันก็จะไม่อยากได้โปรโมท ไม่อยากก้าวหน้า
1
ส่วนสมัยโบราณก็ทำให้เราอยู่รอดได้เพราะเราจะหยุดตอบสนองกับสิ่งแวดล้อมเดิมๆเพื่อมีทรัพยากรสมองไปตอบสนองกับสิ่งใหม่ๆที่อาจจะพาอันตรายเข้ามาได้ แต่ก็ทำให้เราไม่รู้สึก appreciate กับสิ่งดีๆรอบตัวที่มีทุกวันเหมือนเดิม เช่นความสัมพันธ์ที่ดี เพื่อนฝูงครอบครัวที่ดี หรือชีวิตที่ไม่เจ็บไข้ได้ป่วยเป็นต้น รวมถึงไม่พยายามแก้ไขสิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่ควรเปลี่ยนเพราะชินจนชาด้วยเช่นกัน
2
แล้วเราจะทำอย่างไรให้เราตอบสนองกับสิ่งดีๆในชีวิตได้อย่างไรไม่ให้ชินและชาจนเกินไป มีประโยคหนึ่งที่โปรเฟสเซอร์ชารอตบอกว่าเป็นวิธีที่ได้ผลที่สุดก็คือ “Pleasure results from incomplete and intermittent satisfaction of desires. Tibor Scitovsky “
4
โดยมีตัวอย่างว่า ถ้าเราฟังเพลงที่เราชอบมากๆ แล้วให้เลือกว่าฟังทั้งเพลง หรือจะมี small break ทุกๆ 20 วินาที ถ้าเลือกได้คงไม่มีใครอยากจะฟังๆหยุดๆ แต่ผลการทดลองปรากฏว่า คนที่ฟังแบบมีเบรกกลับจะมีความสุขกับเพลงได้มากกว่าคนที่ฟังรวดเดียว เพราะการฟังรวดเดียวจะมีความสุขมากๆช่วงต้นและลดลงตามเวลาที่ผ่านไป แต่การฟังแบบมีเบรคทำให้เราสามารถหยุดความชินชาแล้วสมองจะตอบสนองกับสิ่งเร้าได้ดีขึ้น
3
โปรเฟสเซอร์ชารอตเลยแนะนำว่า เราถึงควรจะแบ่งช่วงเวลาแห่งความสุขเป็นท่อนๆ เช่นถ้าไปนวดสปาก็ควรนวดเป็นช่วงๆ มันจะนำมาซึ่งความสุขมากกว่าการนวดรวดเดียวสองชั่วโมง หรือถ้าจะไปพักร้อน ให้ไปสั้นๆแต่หลายครั้งมากกว่าไปทีเดียวนานๆ
4
หรือแม้แต่ลองหยุดใช้ชีวิตแบบเหมือนเดิมทุกวันด้วยเบรกสั้นๆ เช่นไปทำงานต่างจังหวัดบ้าง พอกลับมาจะ appreciate บ้าน จะรู้สึกว่าอะไรที่ไม่ได้สนใจของสิ่งแวดล้อมเดิม ไม่ได้สังเกตกลับจะดูมีคุณค่าขึ้น เป็นการ resparking ของเดิมที่ชินและชาได้ ซึ่งผมก็คิดว่าชีวิตคู่ หรือความสัมพันธ์กับแฟนก็น่าจะเข้าข่ายแบบนี้เช่นกัน
2
ในทางกลับกัน ถ้าเราต้องทำงานน่าเบื่อ ไม่อยากทำเลยเช่น ล้างจาน ทำความสะอาดบ้าน หรืองานเอกสารที่ชวนง่วงต่างๆ เราควรจะต้องใช้ความชินจนชาของสมองให้เป็นประโยชน์ ให้ทำรวดเดียวไม่ต้องเบรคเพราะสภาวะชินจนชาไม่ตอบสนองกับสิ่งเร้าจะทำให้พลังลบเบาลงเมื่อเทียบกับการทำๆหยุดๆนั่นเอง
3
ท้ายที่สุด โปรเฟสเซอร์ชารอตแนะนำว่า การที่จะมีชีวิตที่ดีนั้นคนส่วนใหญ่จะตอบว่าอยากมีความสุข และอยากมีชีวิตที่มีความหมาย มี sense of purpose แต่ถ้ามีพฤติกรรมที่ชินจนชาของสมอง การที่จะยืนระยะให้มี sense of purpose ยาวๆจะทำได้ยาก
2
เคล็ดลับของคนที่อยากมีความสุข มี sense of purpose ที่ควรจะต้องพยายามเสาะแสวงหาตลอดเวลาก็คือการที่ต้องใช้ชีวิตที่มีความหลากหลาย (variety) ควบคู่กันไปด้วย เช่นคนที่ทำงานหลากหลายหน้าที่ ย้ายฝ่ายย้ายงานบ่อยดูจะมีชีวิตที่เต็มอิ่มกว่าเพราะความหลากหลายทำให้เกิดการเรียนรู้ พอเรียนรู้มากๆก็จะรู้สึกก้าวหน้า การเรียนรู้ (learning) เป็นการที่เราเปลี่ยนแปลงตัวเองตลอดเวลาที่ความ “ชินจนชา” ทำอะไรไม่ได้
6
นอกจากนั้นการพยายามทำอะไรใหม่ๆที่หลากหลายนั้นยังช่วยเรื่องความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย แม้กระทั่งการทำอะไรใหม่ๆเล็กๆเช่นเปลี่ยนที่นั่งทำงาน ลองเดินไปคิดไป หลายครั้งก็ช่วยทำให้เราตื่นตัว ลดความชินจนชา เพิ่มมองมุมใหม่ จนบ่อยครั้งก็คิดไอเดียออกจากช่วงเวลาแบบนั้นด้วย (ผมเองชอบคิดออกเวลาเดินไปเข้าห้องน้ำอย่างไม่น่าเชื่อแต่เกิดขึ้นบ่อยมาก)
3
แล้วเรื่องที่ไม่ดีล่ะ โปรเฟซเซอร์บอกว่าเราสามารถชินและชากับเรื่องร้ายๆจนบางทีกลายเป็นเรื่องใหญ่โตได้ เช่นเรื่องโกงเล็กโกงน้อย เรื่องบูลลี่คน ถ้าเราโกหกนิดหน่อย โกหกไปเรื่อยๆ ก็จะไม่รู้สึกแย่เหมือนครั้งแรกเพราะเริ่มชากับความรู้สึก หรือโกงนิดโกงหน่อยแล้วเริ่มชา ก็จะโกงมากขึ้นเรื่อยๆ การที่เราต้องพยายามหยุดนิสัยแย่ๆ แม้แต่เป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่ว่าจะเป็นตัวเราเองหรือลูกหลานของเราตั้งแต่ต้นๆ แม้จะเล็กมากก็เป็นเรื่องจำเป็นมากๆเช่นกัน
2
มาใช้ประโยชน์สูงสุดกับสภาวะ “ชินจนชา” กันดูนะครับ
โฆษณา