18 เม.ย. เวลา 03:00 • การศึกษา

📌เจาะกลยุทธ์ Soft Power ด้านการศึกษา📚🎯 สู่การพัฒนาประเทศ📈

“Soft Power” หรือ อำนาจอ่อน ✨ เป็นหนึ่งในแนวคิดที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน 🚀⚡ โดยการนำเอาพลังของการดึงดูดความสนใจหรือจูงใจให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการคล้อยตาม 💖 มาใช้เป็นตัวช่วยในการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางความคิด 💡 และแนวปฏิบัติในด้านของวัฒนธรรม (Culture) ค่านิยม (Value) และนโยบายต่างประเทศ (Foreign Policy) ด้วยวิธีการที่นุ่มนวล 🌟🌈
2
📍 “การศึกษา” ถือเป็น Soft Power ประเภทหนึ่งด้วยเช่นกัน 🎓 โดยจะเห็นว่าการกำหนดนโยบายการศึกษา อาทิ การจัดการศึกษานานาชาติ (International Education) โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา 👨‍👩‍👧‍👦 หรือการเผยแพร่การศึกษาผ่านภาษาและวัฒนธรรมในต่างประเทศ ถือเป็นหนึ่งในแนวทางสำคัญในการสร้างอำนาจ ⚡ ไปสู่การเป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับนานาชาติ 🚀🌏
🔎 ชวนดู 5 ประเทศ ที่มีแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ในการใช้การศึกษาเป็น Soft Power ในการพัฒนาประเทศ
ที่มีการนำเอาแนวคิดเกี่ยวกับการใช้ต้นทุนทางการศึกษา 📚 ความเป็นต้นแบบ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 🌐 ภาษาและวัฒนธรรมของประเทศ มาเชื่อมโยงเข้ากับนโยบายการศึกษาเพื่อดึงดูดความสนใจจากนักเรียน/นักศึกษาของประเทศต่างๆ 🧑‍🏫 ให้เดินทางมาศึกษาต่อในประเทศได้
✅ สหรัฐอเมริกา
✅ เยอรมนี
✅ ญี่ปุ่น
✅ เกาหลีใต้
✅ จีน
🌟 ผลสำเร็จของประเทศที่ใช้การศึกษาเป็น Soft Power
1. คุณภาพการศึกษา • วัดจากผลของคะแนน PISA ในปี ค.ศ. 2018 ด้านการอ่าน 📖 โดยประเทศจีนมีคะแนนสูงที่สุด 555 คะแนน 👉🏻 รองลงมาคือประเทศเกาหลีใต้ 514 คะแนน และประเทศสหรัฐอเมริกา 505 คะแนน
2. คุณภาพของสถาบันการศึกษา • เปรียบเทียบจากค่า ACI : Academic Cohesion Index 📊 โดยประเทศสหรัฐอเมริกามีค่า ACI สูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 74.80 ✏️ รองลงมาคือประเทศเยอรมนี คิดเป็นร้อยละ 47.70 และประเทศญี่ปุ่น คิดเป็นร้อยละ 41.10
3. จำนวนนักเรียนนักศึกษาแลกเปลี่ยน 👦🏻👧🏻 • ประเทศสหรัฐอเมริกามีจำนวนนักเรียนแลกเปลี่ยนมากที่สุด 1,362,157 คน ⭐ รองลงมาคือประเทศจีน 492,185 คน และประเทศเยอรมนี 440,564 คน
4. ผลงานทางวิชาการ • วัดจากจำนวนบทความทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ 5 ปีย้อนหลัง (2018 - 2022) 📝🔎 โดยประเทศจีนมีจำนวนบทความมากที่สุด จำนวน 3,971,755 บทความ ✨ รองลงมาคือประเทศสหรัฐอเมริกา 3,620,347 บทความ และประเทศเยอรมนี 1,004,324 บทความ
นอกจากนี้ การเปรียบเทียบด้านรูปแบบและวิธีการในการใช้การศึกษาเป็น Soft Power ในทั้งหมด 8 รูปแบบ ของประเทศที่เป็นกรณีศึกษา 📚✏️
พบว่า การให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนนักศึกษาต่างชาติ การใช้จุดเด่นด้านวิชาการ/ความเป็นต้นแบบ ในการดึงดูดชาวต่างชาติให้เข้ามาศึกษา 🎓 ตลอดจนการจัดโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนนักศึกษา 👉🏻 ถือเป็นจุดร่วมที่สำคัญของแต่ละประเทศ ที่จะสามารถช่วยการดึงดูดความสนใจของนักเรียนนักศึกษาแลกเปลี่ยน 🙌🏻❤️ ร่วมกับสร้างความน่าเชื่อถือ อาทิ การส่งออกหลักสูตร หรือการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้ในต่างประเทศ เพื่อสร้างการยอมรับทางวิชาการในระดับนานาชาติได้อย่างแท้จริง 🚀✅
📚 Download หนังสือฉบับเต็ม
>>รายงานองค์ความรู้การใช้การศึกษาเป็น SOFT POWER ในการพัฒนาประเทศ
📝 สอบถามความรู้เพิ่มเติม
0 2668 7123 ต่อ สำนักนโยบายความร่วมมือกับต่างประเทศ
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
#สภาการศึกษา #SoftPower #การศึกษา #เรียนต่อต่างประเทศ
📝โซเชียลมีเดีย “สภาการศึกษา”
• LINE: @oecnws | http://line.me/ti/p/@OECNews

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา