10 เม.ย. 2024 เวลา 17:20 • ธุรกิจ
โรงเรียนบ้านคำข่า

วิสาหกิจชุมชนเรียนรู้เพาะเห็ดบ้านคำข่า ต้นแบบระบบพี่เลี้ยงโมเดลแก้จน

อีกหนึ่งกลไกที่สำคัญในปฏิบัติการโมเดลแก้จนเกษตรมูลค่าสูง กับการขับเคลื่อนความสำเร็จอาชีพเพาะเห็ดคือ วิสาหกิจชุมชน เข้ามาหนุนเสริมงานด้วยระบบพี่เลี้ยงในชุมชน ซึ่งเป็นทุนสังคมที่เข้มแข็ง พร้อมถ่ายทอดทักษะการผลิตให้กลุ่มผู้มีรายได้น้อย มีโอกาสสร้างอาชีพระยะสั้นที่ได้เงินไว ตามความต้องการของครัวเรือน เกิดระบบและกลไกโมเดลชุมชนเห็ดเศรษฐกิจ
ลักษณะเด่นพี่เลี้ยงในโมเดลแก้จน
ขอบคุณ แม่โสพิส เรืองสวัสดิ์ ด้วยจิตศรัทธาที่มีความมุ่งมั่ง ตั้งใจที่จะส่งเสริมอาชีพชาวบ้านในพื้นที่ให้มีรายได้ ตลอดระยะการเพาะเห็ด ประมาณ 4 เดือนหรือ 1 รอบการผลิต ได้บริหารจัดการผลิตเห็ด 20,000 ก้อน พร้อมกับถ่ายทอดทักษะการผลิตก้อนและเปิดดอกเห็ด แบบจับมือปฏิบัติจริงให้กลุ่มเป้าหมาย 30 คน สู่การถอดบทเรียนเป็นต้นแบบ "ระบบพี่เลี้ยง" ในปฏิบัติการวิจัยโมเดลแก้จน "ชุมชนเห็ดเศรษฐกิจ" ครั้งนี้
คุณลักษณะพี่เลี้ยงวิสาหกิจชุมชน เป็นบุคคลที่มี จิตสาธารณะ (Public Mind) ค่อนข้างสูง มีความเป็นกลางในการดำเนินงาน ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลคนในชุมชน อยากช่วยคนในชุมชนมีอาชีพและรายได้ แต่มีคุณลักษณะดังกล่าวข้างต้น คงไม่เพียงพอควร อาจต้องดูข้อมูลผลประกอบการย้อนหลัง ของวิสาหกิจชุมชนด้วย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับกลุ่มเป้าหมาย
วิสาหกิจชุมชนเรียนรู้เพาะเห็ดบ้านคำข่า ต้นแบบระบบพี่เลี้ยงโมเดลแก้จน
รู้จักวิสาหกิจชุมชนเรียนรู้เพาะเห็ดบ้านคำข่า
พื้นที่เขตชลประทานคลองส่งน้ำอูน ใกล้กับเขาภูพาน ณ บ้านคำข่า เลขที่ 206 หมู่ที่ 4 ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2556 แม่โสพิส เรืองสวัสดิ์ ได้รวมกลุ่มจดตั้งวิสาหกิจชุมชนเรียนรู้เพาะเห็ดบ้านคำข่า ในปัจจุบันจึงดำรงตำแหน่งประธานวิสาหกิจชุมชน ฯ และมีสมาชิกทั้งหมด 16 คน ซึ่งได้รับการส่งเสริมเป็นฐานการเรียนรู้ "การผลิตเห็ด"
แผนธุรกิจ
มีรูปแบบดำเนินเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน ผลิตก้อนเห็ด (ในถุงพลาสติก) และเปิดดอกเห็ดจำหน่วย มีกำลังผลิต (Supply) อย่างน้อย 100,000 ก้อนต่อปี มีโรงเรือนบ่มก้อนเชื้อเห็ดและเปิดดอก หมุนเวียนจำนวน 6 หลัง ขนาด 4.5 X 9 เมตร บรรจุได้หลังละ 3,000 - 4,000 ก้อน ในปี 2564 มีรายได้มากกว่า 1,000,000 บาทต่อปีต่อครัวเรือน
ตลาด
ผลิตก้อนเห็ดตามฤดูกาลตลอดทั้งปี เห็ดที่ชอบความเย็น คือ เห็ดนาฟ้าภูฐาน เห็ดนารม และเห็ดที่ชอบอบร้อน คือ เห็ดบด เห็ดขอนขาว จำหน่ายทั้งก้อนและดอกสดกลุ่มลูกค้า ดังนี้
ขายก้อนเห็ด มีลูกค้าประจำซื้อไปเปิดดอกครั้งละ 2,000 – 3,000 ก้อน จำนวน 15 - 20 คน กระจายในพื้นที่ อ.พรรณานิคม อ.วาริชภูมิ อ.เมืองสกลนคร
ขายดอกสดสด มีลูกค้าประจำเป็นแม่ค้าตลาดสด ได้แก่ ตลาดดงมะไฟ ตลาดสดพรรณานิคม ตลาดพังโคน ตลาดมีความต้องการสูง (Demand) วันละ 200 กิโลกรัม เคยขายเห็ดสดได้เงินมากสุด 15,000 บาทต่อวัน
จุดเริ่มต้นการเพาะเห็ด ของแม่โสพิส
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2545 เริ่มต้นเรียนรู้การเพาะเห็ด จากการแนะนำของพลทหารชาว จ.กาฬสินธุ์ ที่มาปฏิบัติงานอยู่ที่วัดแถวหมู่บ้านในขณะนั้น จึงชวนไปศึกษาดูงานฟาร์มเพาะเห็ดที่กาฬสินธุ์ ได้เช่ารถยนต์ 1,000 บาท พร้อมทั้งได้ตัดสินใจกู้เงินมาลงทุน ซื้อก้อนเห็ดมาเปิดดอก 10,000 ก้อน และซื้อมาเปิดดอก 3 ปี
หลังจากนั้น ได้เรียนรู้เพิ่มทักษะการผลิตก้อนเชื้อเห็ดเอง พัฒนาเป็นผู้ผลิตก้อนมาจนถึงปัจจุบัน สะสมประสบการณ์มากกว่า 20 ปี มีทักษะในระบบห่วงโซ่การผลิตเห็ดทุกขั้นตอน แต่มีเทคโนโลยีในการผลิตก้อนและเปิดดอกเท่านั้น
จากอดีตเป็นคนจนในหมู่บ้าน ตกเกณฑ์ จปฐ. มีบ้านอาศัยหมือนกระท่อมค่อนข้างทรุดโทรม ปัจจุบันหลุดพ้นจากความยากจน มีกำไรจากการเพาะเห็ด สามารถสร้างบ้านหลังใหม่ ซื้อรถยนต์ ส่งลูกเรียนจนจบปริญญาตรี
วิสาหกิจชุมชนเรียนรู้เพาะเห็ดบ้านคำข่า ต้นแบบระบบพี่เลี้ยงโมเดลแก้จน
ศักยภาพวิสาหกิจชุมชนพี่เลี้ยง
เป็นกลุ่มเกษตรกรระดับกลาง ที่มีกำลังผลิตเห็ดอยู่ที่ 30,001 – 200,000 ก้อนต่อปี แผนธุรกิจจัดเป็นกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตก้อนเห็ด และเปิดดอกจำหน่ายเอง จะเน้นการผลิตก้อนเชื้อเห็ดให้ได้คุณภาพ (สวทช. 2564) กำลังพยายามเพิ่มทักษะ (Reskill) การผลิตหัวเชื้อเห็ดบริสุทธิ์
เมื่อวิเคราะห์ Demand & Supply กลุ่มมีกำลังผลิตก้อนเห็ด 100,000 ก้อนต่อปี แต่มีลูกค้าซื้อก้อนไปเปิดดอกน้อย ซึ่งสวนทางกับผู้บริโภคเห็ดสด ที่มีความต้องการซื้อบริโภคมาก จึงตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมไม่มีเกษตรกรรายย่อยเปิดดอกขาย
ข้อดีของการผลิตไม่เพียงพอ แต่มีความต้องการบริโภคสูง คือสามารถกำหนดราคาสินค้าได้ แต่เกิดห่วงโซ่อุปทานใหม่ได้ยาก (New Supply Chain) คือ การแปรรูป ซึ่งช่องว่างที่สำคัญในขณะนี้ คืออะไร ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนการผลิตก้อนเห็ดมีราคาสูง เกษตรกรเปิดดอกเห็ดแล้วได้ผลผลิตน้อยหรือขาดทุน หรือขาดการส่งเสริมประชาสัมพันธ์
วิสาหกิจชุมชนเรียนรู้เพาะเห็ดบ้านคำข่า ต้นแบบระบบพี่เลี้ยงโมเดลแก้จน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา