11 เม.ย. 2024 เวลา 04:31 • ไลฟ์สไตล์

เรื่องเล่าผ่านกาลเวลา #253

ตอน : เฉ่งเบ่ง 67/1
ทีแรกว่าจะไม่เขียนบันทึกอะไรแล้วกับเทศกาลเฉ่งเบ่ง เพราะได้เขียนไปแล้วเมื่อหลายปีก่อน แต่ด้วยมันมีเหตุให้เขียนบันทึกขึ้นอีกครั้ง ในเรื่องมุมมองของใครหลายๆคนต่อธรรมเนียมปฎิบัตินี้
มันมีเค้าโครงให้เขียนแต่ยังไม่ตัดสินใจเพราะด้วยเหตุแห่งการลังเลใจว่าควรที่จะเขียนหรือไม่ เพราะ คำว่าเหรียญมีสองด้าน กับการนิงเสียตำลึงทอง เป็นตัวชั่งความตระหนัก เมื่อชั่งได้แล้วการตกลงใจเขียนบันทึกจึงเกิดขึ้น กับภาพย้อนจำสำหรับฮวงซุ้ยร้างที่อยู่ในที่ทาง ที่ไร้แม้นแต่ลูกหลานได้เหลียวตามอง
เมื่ออณาเขตทางความคิดของ"คนเป็น" คืบคลานเข้ามาสู่อณาเขตทางความคิดของ"คนตาย" ที่ไร้ซึ่งความคิด ในท้ายที่สุด การเสียสมดุลย์จะบังเกิด คนตายย่อมหมดอณาเขตทางความคิดของตนไปโดยปริยาย
โลกหลังความตายจึงเป็นสิ่งมีจริง เวลาที่จะได้นอนทอดร่างในหลุมศพ อาจเหลือน้อยลงทุกที
เห็นที่จะหนีไม่พ้นต้องขุดจากหลุม เพื่อนำโครงกระดูกบรรพบุรุษไปฌาปนกิจ
แนวคิดแบบนี้มันมีมานานแล้วตามสายเลือดจีนที่จางลงไปจนใกล้หมด การเปลี่ยนแปลงในสังคมและบริบทการดำเนินชีวิตทางสังคมที่เปลี่ยนไป
หลายคนมองด้วยวิสัยทัศน์ที่ดูดี บ้างก็มีเหตุผลในการสนับสนุนที่ใช้ได้ มันดูกลายคล้ายกับว่าคนที่นอนทอดกายอยู่ในหลุมคือภาระอันใหญ่หลวง ทั้งๆที่นานๆมาทีปีละครั้ง ความหลังยังแทบจะไม่เหลือปฎิบัติในธรรมเนียมจีน
กตัญญูรู้คุณ คือสิ่งที่คนจีนเชื่อว่าเป็นดัชนีชี้วัดความสำเร็จในการใช้ชีวิต
ความไม่มีเวลา กับกิจธุระจึงถูกแบกชูขึ้นมา เอาเป็นว่ารับกันได้แต่บางคนก็ห่างหายจากธรรมเนียมปฎิบัติไปไงคงว่ากันมิได้
เจตนารมณ์ของบรรพชนคงใช้หลัก อิส แอม อาร์ หรือ เป็น อยู่ คือ ที่นัยยะว่า เป็นอยู่กันอย่างนี้แหละ แต่แฝงไว้ด้วยหลักคิดที่ต้องการให้รวมกันเป็นหนึ่งเดียว จากจำนวนหรือปริมาณของลูกหลานที่เพิ่มมากขึ้น แต่ยังคงสืบสาวราวเรื่องเชื่อมต่อกันได้
ป้ายบนหลุมฝังศพบรรพชน สามารถบ่งชี้ได้ว่า เป็นใคร มาจากสถานที่ใดเมื่อไหร่ปีไหน ตรงกับศกศักราชใด รวมถึง ศาลบรรพชนอันเป็นศูนย์กลางที่ตั้งอยู่ในแต่ละมณฑลถิ่นที่มา นับเป็นความชาญฉลาดที่สามารถสอบกลับไปได้อย่างน่าทึ่งเลยทีเดียว
อะโตย อัมโบย มะ
๖เมษายน๒๕๖๗
โฆษณา