13 เม.ย. เวลา 06:48 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ดงสาร

หยุดเทศกาล แต่ชาวบ้านไม่หยุดสร้าง Soft Power

ทำไมเกษตรกรชาวนา ดีใจกับวันหยุดในช่วงเทศกาลด้วย ทั้งที่จริงแล้วจะหยุดวันไหนก็ได้
การดำรงชีพในชุมชน ไม่ได้มีรถยนต์ทุกครัวเรือน บ้านไหนมีรถยนต์จะเข้าใจดี ในช่วงเทศกาลวันหยุด นั่นหมายถึงทั้งคนและรถก็หยุดด้วย จึงเป็นโอกาสไปเยี่ยมญาติ
ยิ่งตระกูลไหนมีเครือญาติเยอะ จะชวนกันไปเต็มคันรถ ทั้งคนและของฝากบรรทุกไปกันเลย ตอนเด็ก ๆ ผมงงมาก ไม่รู้เลยว่าใครคือญาติฝั่งพ่อ ฝั่งแม่ เยอะไปหมด
นอกจากความคิดถึงไปเยี่ยมกันแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่าเป็นส่วนสำคัญ มีผลต่อการถ่ายทอดวัฒนธรรม องค์ความรู้ต่าง ๆ คือไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเพื่อนำมาใช้ที่บ้าน ส่วนใหญ่แล้วคงหนีไม่พ้นพันธุ์ข้าว
ผมได้เขียนบทความหนึ่งว่า การจะส่งเสริมอาชีพใดใด นอกจากเหมาะสมแล้ว ควรเป็นหนึ่งเดียวกับวัฒนธรรมในชุมชน ถึงจะยั่งยืน
11 เมษายน 2567 วันสงกรานต์ กลุ่มอาชีพเพาะเห็ด บ้านกลาง ตำบลโพนแพง มาดูเทคโนโลยีคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว ที่กลุ่มข้าวนาปรัง บ้านดงสาร ตำบลโพนงาม อยู่ในอำเภออากาศอำนวย พร้อมกับนำพันธุ์ข้าวที่จะทำนาปีนี้ มาคัดเมล็ดที่มีคุณภาพด้วย
ช่วงเดือนมกราคม ที่ผ่านมา ได้จัดเวทีมองภาพอนาคต การแก้จนระดับอำเภอ ได้เชิญกลุ่มอาชีพ การเพาะเห็ดและทำข้าวนาปรัง ในปฏิบัติการโมเดลแก้จนเข้าร่วมสะท้อนข้อมูลด้วย จึงเป็นเหตุให้รู้จักกัน
เกษตรกรทำนา ก็ต้องหาองค์ความรู้มาแก้ไขปัญหาหรือพัฒนา เมื่อมีเทคโนโลยีพร้อมใช้แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นจริง ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จะเผยแพร่ ข่าวสาร และเชิญชวนผู้อื่นในอาชีพเดียวกัน ได้รับผลประโยชน์ด้วย
ทีม ศ.ดงสาร ทำให้งานเกิดผลกระทบได้ ปกติผลกระทบไม่ค่อยเกิดในปีที่ทำโครงการ หรือส่วนใหญ่แทบไม่เกิดเลย นี่คือ Soft Power ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย
ยิ่งใช้เทคโนโลยีร่วมกัน ข้ามอาชีพ ข้ามหมู่บ้าน เกิดขึ้นได้ยากมาก เหตุการณ์แบบนี้แหละ เป็นต้นแบบที่ทุกหน่วยงานวาดฝัน
#SoftPower #โมเดลแก้จน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา