14 เม.ย. เวลา 04:07 • การศึกษา
ลาบต้นข่อย

ทานบารมี ก้าวแรกแห่งการเป็นพระพุทธเจ้า

พระโพธิส์ตว์ปรารภเรื่องทานบารมี
ภายหลังจากที่สุเมธดาบสได้รับคำพยากรณ์จากพระทีปังกรพุทธเจ้าว่าจะได้ตรัสรู้เป็น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตข้างหน้าอีก ๔ อสงไขยแสนมหากัป สุเมธดาบสมีจิตยินดีราวกับว่าจะได้
เป็นพระพุทธเจ้าในวันรุ่งขึ้นทีเดียว แล้วเริ่มพิจารณาเหตุที่จะทำให้เป็นพระพุทธเจ้าได้ จึงพบ "ทานบารมี"
เป็นบารมีแรก ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ประพฤติปฏิบัติกันมา เห็นว่าตนควรสร้างทานบารมีนี้ก่อนบารมี
อื่นๆ" ดังปรากฏใน ขุททกนิกาย อปทาน ว่า
สุเมธดาบสนั้นกระทำการตกลงอย่างนี้ว่า เราจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน เพื่อที่จะ
ใคร่ครวญถึงธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า จึงคิดว่าธรรมอันกระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหนหนอ
อยู่เบื้องบนหรือเบื้องล่าง หรืออยู่ในทิศใหญ่และทิศน้อย เมื่อคิดค้นธรรมธาตุทั้งสิ้นไปโดยลำดับ ก็ได้เห็น
ทานบารมีข้อที่ ๑ ที่พระโพธิสัตว์แต่เก่าก่อนทั้งหลายถือปฏิบัติเป็นประจำ จึงกล่าวสอนตนอย่างนี้ว่า
"ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญทานบารมีข้อแรกให้บริบูรณ์ เหมือน
อย่างว่า หม้อน้ำทีคว่ำไว้ย่อมคายน้ำออกหมด ไม่นำกลับเข้าไปฉันใด ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่เหลียวแล
ทรัพย์ ยศ บุตรและภรรยา หรืออวัยวะน้อยใหญ่ ให้สิ่งที่เขาต้องการอยากได้ทั้งหมด แก่ยาจกผู้มาถึง
กระทำมิให้มีส่วนเหลีอ จักได้นั่งที่โคนต้นโพธิ์เป็นพระพุทธเจ้า ครั้นกล่าวสอนตนแล้ว จึงอธิษฐานทาน
บารมีข้อแรก กระทำให้มั่นแล้ว ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
เอาเถอะ เราจะเลือกเฟ้นธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า
ทั้งทางโน้นและทางนี้ ทั้งเบื้องบนและเบื้องล่าง ทั้งสิบทิศตลอดถึง
ธรรมธาตุ ครั้นเมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่อย่างนั้น จึงได้เห็นทานบารมี
ข้อที่ ๑ เป็นเส้นทางใหญ่ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่ในกาลก่อน
ประพฤติตามคลองธรรมสืบกันมาเเล้ว ท่านจงสมาทานบารมีข้อที่
๑ นี้ กระทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นทานบารมี
หากท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ หม้อน้ำเต็มเปี่ยม
ใครผู้ใดผู้หนึ่งควํ่าปากลง น้ำย่อมไหลออกหมด น้ำย่อมไม่ขังอยู่
ในหม้อนั้น แม้ฉันใด ท่านก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นยาจกไม่ว่าจะ
ตํ่าทราม สูงส่ง และปานกลาง จงให้ทานให้หมด เหมือนหม้อน้ำที่
เขาควํ่าปากลงไว้ฉะนั้น"
ทานคืออะไร
"ทาน" หมายถึง การให้ ได้แก่ การเสียสละสิ่งของต่างๆ ของตน หรือให้ความรู้ทั้งทางโลก
และทางธรรม เพื่อประโยชน์แก่ผู้อี่น
บารมี แปลว่าธรรมอันเลิศ ๑๐ ประการ ที่เมื่อปฏิบัติอย่างจริงจังชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพัน
แล้วก่อให้เกิดบุญที่มีคุณภาพพิเศษที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติดีแล้วบรรลุพระโพธิญาณ
ทานบารมี หมายถึง การให้หรือสละสิ่งต่างๆ ของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยไม่
หวงแหน แม้ด้วยเหตุแห่งชีวิต
ทานบารมี แบ่งออกเป็น ๓ ขั้น
๑. ทานบารมี ได้แก่ ทานที่บำเพ็ญด้วยการสละทรัพย์ภายนอก (วัตถุสิ่งของ)
๒. ทานอุปบารมี ได้แก่ ทานที่บำเพ็ญด้วยการสละอวัยวะ เลือด เนื้อ
๓. ทานปรมัตถบารมี ได้แก่ ทานที่บำเพ็ญด้วยการสละชีวิต
พระโพธิสัตว์ทั้งหลายมีนิสัยรักการให้ ดังนั้น จึงสามารถให้ได้อย่างสม่ำเสมอ ด้วยความ
เต็มใจ ยิ่งถ้าการเสียสสะนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์สุฃเแก่มวลมนุษย์ด้วยแล้ว ยิ่งยอมเสียสละได้ทั้งหมด
ทั้งทรัพย์ อวัยวะ ชีวิต ดังพุทธภาษิตว่า
พึงสละทพัย์ เพื่อเห็นแก่อวัยวะ
พึงสละอวัยวะ ในเมื่อจะรักษาชีวิต
พึงสละได้หมด ทั้งอวัยวะ ทร้พย์ และชีวิต ในเมื่อนึกถึงธรรม
การให้จึงเป็นก้าวแรกที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของพระโพธิสัตว์ ให้ก้าวเดินไปบนเส้นทาง
การสร้างบารมีได้เป็นอย่างดีแสะสมบูรณ์ยิ่งขึ้นไป
เชิงอรรถอ้างอิง
1สุเมธกถา, พระสูตรและอรรถกถาแปล, ขุททกนิกาย อปทาน, เล่มที่ ๗๐, หน้า ๔๘
ลุงฮงเน็ตเวิร์ค
สมัครสมาชิกสมาพันได้ที่👇
Line : chiangmai4u
🏬 ติดตามข่าวสารและกิจกรรมดีๆเพื่อผู้บริโภคของได้ที่. https://loonghong.blogspot.com
โทร : 081-6032249
โฆษณา