16 เม.ย. เวลา 00:00 • ความคิดเห็น
การพูดและการฟัง สองสิ่งนี้พึงกระทำควบคู่กันไปค่ะ จุดโฟกัสไม่ได้อยู่ที่เราจะถูกมองอย่างไรในสายตาคนอื่น ดูหยิ่งหรือดูไนซ์ พูดน้อยไม่ได้แปลว่าหยิ่ง พูดมากไม่ได้แปลว่าเฟรนด์ลี่ รอบรู้-อวดฉลาด-กล้าแสดงออก ฯลฯ หรืออะไรทั้งนั้น ไม่ได้แปลตรงตัวอย่างนั้นค่ะ มันอยู่ที่สาระของคำพูดมากกว่า
เมื่อได้ยินอะไรมา ตั้งสติกลั่นกรองแยกแยะเสียก่อนว่าเสียงนั้นเป็นเสียงอะไร เป็นประโยคบอกเล่า ประโยคคำถาม คำทักทาย คำวิพากษ์วิจารณ์ ขอความเห็น ฯลฯ
การตั้งสติ เหมือนเป็นการถ่วงเวลา ให้ตัวเองได้มีเวลาจัดระเบียบความคิด-ความรู้สึก ใช้วิจารณญาณ แล้วจึง react ให้เหมาะสมกับบริบท
ประโยคคำถาม คำทักทาย หรือให้แสดงความคิดเห็น พึงฝึกโต้ตอบสื่อสารให้ตรงประเด็น เอาเนื้อๆไม่เอาน้ำ ถ้าเป็นประโยคบอกเล่า เราสามารถใช้ภาษากายในการตอบรับ รวมถึงน้ำเสียง-หางเสียง สีหน้าท่าทางต่างๆ
แต่หากเป็นการพูดเพื่อระบายความรู้สึก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้สึกในเชิงลบ สิ่งนี้ต้องใช้การสะกดกลั้นเป็นหลัก ยั้งปากให้ทัน เก็บความรู้สึกให้เป็น เรียนรู้ที่จะจัดการความรู้สีกของตัวเอง ไม่ใช่เอาแต่เงียบหรือเก็บไว้จนอัดแน่น
เหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อตนเองในระยะยาว มากกว่าเรื่องภาพลักษณ์ที่คนอื่นมองเรานะคะ เป็นความเบาสบายของใจเราเองล้วนๆค่ะ
When you talk,
you are just repeating what you already know.
But if you listen,
you may learn something new.
Dalai Lama
โฆษณา