19 เม.ย. 2024 เวลา 01:00 • ธุรกิจ

ผู้ถือหุ้นคือใคร มีอะไรต้องรู้บ้าง

ผู้ประกอบการมือใหม่ที่กำลังจะเตรียมตัวเปิดบริษัท หนึ่งเรื่องที่ต้องรู้ก็คือ เรื่อง “ผู้ถือหุ้น” เพราะกฎหมายกำหนดไว้ว่า การเปิดบริษัทต้องมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 2 คน
📌 1. ผู้ถือหุ้น คืออะไร ?
ผู้ถือหุ้น (Shareholders) หมายถึง เจ้าของบริษัท หรือสมาชิกที่กำเงินกันมาลงทุนในบริษัทด้วยกัน
แล้วผู้ถือหุ้นจะได้อะไรจากการกำเงินมาเปิดบริษัทด้วยกันล่ะ ?
ผู้ถือหุ้น จะได้รับสิทธิ์โหวตในที่ประชุม และได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของ เงินปันผล ตามสัดส่วนจำนวนการถือหุ้น การมีสิทธิ์โหวต ถ้ามีมากๆ นั่นหมายความว่า ผู้ถือหุ้นนั้นมีอำนาจควบคุมการบริหาร และกำหนดทิศทางของบริษัทได้เลย
📌 2. ใครถือหุ้นได้บ้าง?
ถ้ามองในมุมกฎหมายเองก็ไม่ได้กำหนดคุณสมบัติผู้ถือหุ้นว่าต้องมีอายุเท่าไหร่ ยกเว้นเสียแต่ว่าผู้ถือหุ้นคนนั้นจะเป็นผู้เริ่มก่อการด้วย (คนเริ่มตั้งบริษัท อย่างน้อย 2 คน) อันนี้จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 12 ปี
📌 3. สัดส่วนถือหุ้นสำคัญอย่างไร?
ผู้ถือหุ้นก็จะมีการแบ่งสัดส่วนถือหุ้นในบริษัท สัดส่วนถือหุ้นตรงนี้ ต้องบอกก่อนว่ามีความสำคัญหลายๆ อย่างค่ะ ไม่ว่าจะเรื่องแบ่งเงินปันผล หรือ อำนาจในการตัดสินใจ
📌 4. จัดประชุมผู้ถือหุ้นต้องทำเมื่อไร?
เมื่อเปิดบริษัทแล้ว ตามมาตรา 1171 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องมีการจัดประชุมผู้ถือหุ้นครั้งแรก ภายใน 6 เดือนนับจากวันที่ได้จดทะเบียนบริษัท และหลังจากนั้น ต้องมีการจัดประชุมผู้ถือหุ้นอย่างน้อย ทุกๆระยะเวลา 12 เดือน
📌 5. ใบหุ้น คืออะไร
ใบหุ้น คือ เอกสารที่บริษัทออกให้กับผู้ถือหุ้น ตามกฎหมาย เพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงการถือหุ้นของผู้ถือหุ้น เหมือนกับเป็นเอกสารที่แสดงความเป็นเจ้าของหุ้นในบริษัทของผู้ถือหุ้นแต่ละคน
ด้วยกฎหมาย มาตรา 1127 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บริษัทต้องจัดทำใบหุ้นให้กับผู้ถือหุ้นทุกคน และบริษัทสามารถเก็บตังค์ค่าธรรมเนียมใบหุ้นได้ แต่ต้องไม่เกิน 10 บาท ตามที่กฎหมายกำหนด
การจัดทำใบหุ้นทุกๆใบ ตามกฎหมาย มาตรา 1128 กำหนดให้ “ใบหุ้น” ต้องมีกรรมการลงลายมือชื่อ อย่างน้อย 1 คน พร้อมกับประทับตราบริษัท
การจดทะเบียนบริษัทไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีเรื่องกฎหมายที่เข้ามาเกี่ยวข้อง และรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการหาใครมาเป็นผู้ถือหุ้น การแบ่งสัดส่วน การจัดให้มีการประชุม ออกใบหุ้นให้เรียบร้อย และที่สำคัญในฐานะผู้ถือหุ้นเอง อย่าลืมตกลงเรื่องเงินทุนและหน้าที่รับผิดชอบในบริษัทไว้ด้วยค่ะ
หาที่ปรึกษา จดทะเบียนบริษัทในแบบที่ใช่สำหรับธุรกิจคุณ
ติดต่อ Line: @zerotoprofit
ติดตาม Zero to Profit ได้ที่
โฆษณา