18 เม.ย. เวลา 12:44 • ไลฟ์สไตล์

มารยาทที่ดีงามอาจไม่เหมาะกับสังคมงาน

สิ่งที่มนุษย์ที่เกิดขึ้นมาและได้รับการเลี้ยงดูจนโตและเติบใหญ่มาจนถึงทุกวันนี้ สิ่งแรกๆที่คุณจะได้รับหลังจากครอบครัวคือการเอาใจใส่และการอบรบเลี้ยงดู
ซึ่งไม่กี่อย่างที่ผู้ปกครองจะอบรมเลี้ยงดูและสั่งสอนเราคือสิ่งที่เรียกว่ามารยาท มารยาทหรือก็คือสมบัติของผู้ดีและผู้มีอารยะที่มอบใส่กัน เป็นเครื่องบ่งบอกถึงความเป็นอารยชนในสังคมนั้นๆเลยก็ว่าได้
โดยมารยาทที่คนส่วนใหญ่ได้เรียนรู้โดยพื้นฐานคือเรื่องของการขอบคุณเมื่อได้รับสิ่งใด การขอโทษเมื่อทำผิด หรือถ้าตามแบบฉบับของคนไทยก็ต้องเป็นการไหว้และการทำความเคารพ
แต่ก็จะมีอีกอย่างนึงที่มันไม่ได้ตายตัวเท่าไหร่ที่จะถูกสอนเหมือนอันอื่นๆ แถมมันก็ไม่ได้เป็นเรื่องพื้นฐานขนาดนั้นด้วย อย่างสิ่งที่เรียกว่ามารยาทของความเกรงใจ
ความเกรงใจคือมารยาทที่แสดงถึงความสำรวม ท่าทีที่ไม่หวังสิ่งตอบแทนแบบออกนอกหน้า และการรู้จักการปฏิเสธโดยที่ทำให้อีกฝ่ายเสียน้ำใจให้น้อยที่สุด เช่น
ความเกรงใจในการได้รับทรัพย์ ความเกรงใจในการได้รับสิทธิพิเศษ เป็นต้น
แต่โอเคจากที่ฟังมาและมาอ่านชื่อโพสต์มันก็ดูขัดๆกันใช่มั้ยละ เพราะที่ผมอยากจะอธิบายคือความเกรงใจไม่ได้แย่ขนาดนั้น มันเป็นมารยาทในสังคมเป็นวิธีดารวางตัว แต่โอเคอะไรมากไปมันก็ไม่ดี
ทุกคนต่างจ้องหวังที่จะหาประโยชน์จากกันเรื่องนี้จะเป็นใครก็รู้ดี และยิ่งจะรู้ดีเลยในสังคมการทำงานที่มีการแข่งขันที่สูง งานสุดโหด สวัสดิการสุดห่วย และเพื่อนร่วมงานสุดเ*ี้ย
แน่นอนถ้าคุณสามารถที่จะนอนเฉยๆและมีคนทำงานให้คุณได้แบบทั้งปีทั้งชาติใครมันจะไม่อยากทำกันเล่า แต่ปัญหาคือมันไม่มีใครหรอกที่อยากจะทำงานของคนอื่นนะ
ที่จะบอกคือสังคมในการงานมันวิปริต คุณเคยได้ยินเรื่องแนวแบบเด็กจบใหม่เข้ามาทำงานแล้วสุดท้ายก็จบชีวิตตัวเองมั้ยละ? แล้วมารู้ทีหลังว่าเกิดจากการทำงานหนักจนเกินไป
องค์ประกอบของโครงสร้างพวกนี้ถูกวางมาอย่างดีภายใต้การหาประโยชน์จากผู้อื่นไม่สิ้นสุด การที่ในสังคมการทำงานมีระบบรุ่นพี่รุ่นน้อง หรือการที่เด็กจบใหม่ถูกใช้อย่างกับทาส หรือการโยนความผิดให้กับรุ่นที่เด็กกว่าแบบที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่
คนที่ออกมาแข็งขืนมันก็มีนั้นแหละแต่ถ้าเทียบกับส่วนใหญ่ที่ยังคงก้มหน้าต่อไป สัดส่วนมันต่างกันเกินไปจนไม่สามารถที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ วัฒนธรรมในการทำงานที่ถูกฝังรากลึกมาพร้อมๆกับงานๆนั้นนั่นแหละ
มารยาทในสังคมไทยมักจะสอนเสมอว่าการเคารพคนที่มีอายุที่มากกว่าเป็นเรื่องปกติและสำคัญ ซึ่งมีที่มาจากระบบชนชั้นและเจ้าขุนมูลนาย คนที่เล็กกว่าจะถูกสอนให้อ่อนนุ่มและปฏิบัติตามที่คนที่โตกว่าสั่ง
มันเป็นมารยาทที่ทุกคนถูกสอนกันมาแต่ยังเด็ก เป็นสิ่งที่ถูกบันทึกมาในสมองของคนเกือบทุกคน และแน่นอนพอคนๆนึงได้เข้าไปอยู่ในสังคมการทำงานแล้วมันก็ยากที่จะพูดว่าไม่ครับ หรือพูดว่านี้มันไม่ถูกต้องมันก็ยากที่จะทำเพราะว่าคุณไม่เคยถูกสอนมาแบบนั้น
แล้วโดยพื้นฐานคนในสังคมนี้ถูกสอนมาให้เป็นคนที่มีจิตใจที่ดีและเป็นคนที่ใจอ่อน ความใจอ่อน+มารยาทที่ถูกสอนมา = การยอมจำนน
นั่นยังไม่วิปริตมากพอที่สังคมเราดันไม่มีสหภาพแรงงานที่เข้มแข็งมากพอที่จะคุ้มครองสิทธิในการทำงานที่ดีได้ คุณเห็นถึงปัญหาในหลายๆอย่างรึยังละว่าทุกอย่างในประเทศนี้ในสังคมนี้มันลงล็อคแค่ไหน
และคุณและลูกของคุณหรือหลาน? ก็อาจจะต้องวนเวียนกับระบบอันแสนวิปริตนี้ต่อไปและแน่นอนว่าอย่าหวังให้อะไรดีขึ้นแบบลมๆแล้งๆเพราะมันเสียเวลาเปล่า ในทางกลับกันก็ค่อยๆมาเปลี่ยนวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียนในสังคมนี้ มันจะยังดีซะกว่า
ถึงจะนาน แต่ผลลัพธ์ที่ดีจำเป็นต้องการเวลาเพราะว่านี้คือแนวทางที่ถูกต้องแล้วในการเปลี่ยนอะไรสักอย่าง
โฆษณา