19 เม.ย. 2024 เวลา 02:00 • สุขภาพ

ผอมไปไม่ดีต่อสุขภาพอย่างไร

“ผอม” ไม่ใช่คำตอบ แต่อาจเป็นสัญญาณบอกเหตุของปัญหาสุขภาพที่ซ่อนอยู่ การมีน้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐาน หรือผอมจนเกินไป (ดัชนีมวลกาย หรือ BMI: เอาน้ำหนักเป็นกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง: น้อยกว่า 18.5 กิโลกรัม/ตารางเมตร) มักถูกมองข้ามและไม่ได้รับการให้ความสำคัญเท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการมีน้ำหนักน้อยเกินไปนั้นอาจส่งผลร้ายแรงต่อร่างกายและจิตใจได้ไม่แพ้การเป็นโรคอ้วน
ภาวะผอมเกินไปอาจนำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพที่รุนแรง อาทิ ภาวะทุพโภชนาการ ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ โรคกระดูกพรุน ปัญหาภาวะมีบุตรยาก รวมถึงปัญหาการเจริญเติบโตและพัฒนาการในเด็กและวัยรุ่น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต
1
ผู้ที่มีน้ำหนักตัวต่ำเกินไปอาจประสบกับอาการต่างๆ เช่น ภาวะเหนื่อยล้า ป่วยบ่อย ประจำเดือนมาไม่ปกติ ผมบาง ผิวแห้งกร้าน และมีปัญหาเรื่องฟัน ยิ่งไปกว่านั้น ยังอาจเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด โรคกระดูกพรุน รวมถึงปัญหาการมีบุตรยากอันเนื่องมาจากรอบเดือนผิดปกติ
สำหรับเด็กเล็กที่มีน้ำหนักต่ำเกินไป อาจส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการพัฒนาทางด้านสมอง โดยเฉพาะในช่วงระยะการพัฒนาสมองที่สำคัญ คือ ก่อนอายุ 3 ขวบ
ดังนั้น ผู้ที่มีน้ำหนักตัวต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีปัญหาทางด้านโภชนาการหรือมีโรคประจำตัว จึงจำเป็นต้องบริโภคอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนเพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันภาวะแทรกซ้อน
การปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้มีน้ำหนักสมดุลและมีสุขภาพที่ดี
”อ้วนเกินไป ไม่ได้ดีเสมอไป ผอมก็เช่นกัน“
อ้างอิง
Golubnitschaja O, Liskova A, Koklesova L, Samec M, Biringer K, Büsselberg D, Podbielska H, Kunin AA, Evsevyeva ME, Shapira N, Paul F, Erb C, Dietrich DE, Felbel D, Karabatsiakis A, Bubnov R, Polivka J, Polivka J Jr, Birkenbihl C, Fröhlich H, Hofmann-Apitius M, Kubatka P. Caution, "normal" BMI: health risks associated with potentially masked individual underweight-EPMA Position Paper 2021. EPMA J. 2021 Aug 17;12(3):243-264. doi: 10.1007/s13167-021-00251-4. PMID: 34422142; PMCID: PMC8368050.

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา