19 เม.ย. เวลา 07:59 • ประวัติศาสตร์

“หนังไม่เหนียว อย่าเที่ยววัดหนัง” เป็นคำพูด วลีติดปาก ของคนเล่นพระ

เพราะมีความเชื่อถือ ความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่อง วัตถุมงคล ของ หลวงปู่เอี่ยม แห่งวัดหนังราชวรวิหาร
หากจะกล่าวถึง พระภาวนาโกศลเถระ หรือ หลวงปู่เฒ่า น้อยคนนักที่จะรู้จัก แต่หากจะกล่าวถึง หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง หลายคนก็ต้องร้อง อ๋อ......
หลวงปู่เอี่ยม พื้นที่ถิ่นเกิด กำเนิดเป็นชาวบางขุนเทียน ริมคลองบางหว้า รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบุตรของ นายทอง และ นางอู่ ครอบครัวประกอบอาชีพทำสวน ตระกูล หลวงปู่เอี่ยม แต่เดิม มีนามสกุลว่า ทองอู่ แต่ไปคล้ายกับพระนามเจ้าต่างกรมพระองค์หนึ่ง เมื่อครั้งรัชกาลที่ 6 พระราชทานนามสกุล จึงได้เปลี่ยนเป็น ทองอู๋ และใช้สืบมาจนปัจจุบัน
1
หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง
เมื่อถึง พ.ศ. 2387 โยมบิดามารดาทั้งสองได้นำท่านไปฝากเรียนอยู่ที่สำนักเรียนวัดหนัง จนถึง พ.ศ. 2397 ท่านจึงเข้ารับการอุปสมบทบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ที่วัดราชโอรส ได้นามฉายาว่า สุวณฺณสโร
หลวงปู่เอี่ยมท่านเป็นผู้ที่เคร่งในพระธรรมวินัย และใฝ่ใจในการศึกษาด้านพระปริยัติธรรมมาก และอยู่ไปชั่วระยะหนึ่งท่านก็ย้ายไปอยู่ที่วัดนางนอง โดยได้ฝากตัวเป็นศิษย์กับ "หลวงปู่รอด" ซึ่งกำลังเลื่องชื่อมากในสมัยนั้น ในด้านทรงฌานอภิญญามีวิทยาอาคมเข้มขลัง
1
เมื่อได้ฝากตัวเป็นศิษย์แล้ว ด้วยความที่หลวงปู่เอี่ยม มีใจใฝ่ในการเล่าเรียน และมีจิตใจที่ประกอบด้วยความเพียร ฝึกฝนทั้งทางด้านวิชาอาคมพุทธเวทย์ และพระกรรมฐานจากหลวงปู่รอด จนถึงขนาดได้เป็นศิษย์เอกที่พระอาจารย์รักมาก ครั้นต่อมาในปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4) "หลวงปู่รอด" ได้ถูกถอดจากสมณะศักดิ์เดิม ให้เป็นพระสงฆ์ธรรมดา หลวงปู่รอดจึงได้ย้ายอารามไปครองอยู่ที่วัดโคนอน โดยมีเจ้าคุณเฒ่า (หลวงปู่เอี่ยม) ตามไปอุปัฎฐากรับใช้อยู่ที่วัดโคนอนด้วย
ต่อมาไม่นานนัก เมื่อหลวงปู่รอดได้ถึงแก่มรณภาพลง หลวงปู่เอี่ยม ก็ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสปกครองวัดโคนอนสืบต่อจากหลวงปู่รอด ผู้พระอาจารย์
เมื่อถึง พ.ศ. 2441 ในหลวงรัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าให้หลวงปู่เอี่ยม ไปอยู่ครอง "วัดหนัง"
และต่อมาองค์สมเด็จพระปิยะมหาราช ก็ได้พระราชทานสมณะศักดิ์ให้แก่หลวงปู่เอี่ยม เป็นพระราชาคณะที่ "พระภาวนาโกศล" (เอี่ยม) ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับพระอาจารย์ของท่านนั่นเอง
บทสรุปของคำว่า “สองวัดและสองหลวงพ่อ” กล่าวคือ ถ้าพระเครื่องพิมพ์ใดผิดวัดไปบ้าง ก็ให้ถือเสียว่านั่นเป็นของแท้ที่หลวงปู่เอี่ยมแห่งวัดหนัง หรือวัดโคนอน แต่ก็เชื่อกันว่าพระเพียง 25% เท่านั้นที่ท่านอาจสร้างไว้เป็นครั้งแรกที่ “วัดโคนอน” สำหรับอีก 75% เข้าใจว่าท่านสร้างที่ “วัดหนัง” เป็นส่วนใหญ่
ชื่อเสียงของหลวงปู่เอี่ยม ได้เป็นที่พูดถึงมาจนปัจจุบันนั้น มาจากเหตุการณ์ ขณะที่รัชกาลที่ 5 ต้องเสด็จประพาสยุโรป จึงได้มาปรึกษาหลวงปู่เอี่ยม
"มหาบพิตร การเสด็จพระราชดำเนินสู่ยุโรปครั้งนี้ จะต้องประสบภัยสองครั้ง ครั้งแรกในทะเลที่วังวน อาตมาจะถวายผ้ายันต์พิเศษและคาถากำกับ เมื่อเข้าที่คับขันขอให้ทรงเสด็จไปยืนที่หัวเรือ แล้วภาวนาคาถากำกับผ้ายันต์แล้วโบกผ้านั้น จะเกิดลมมหาวาตะพัดให้เรือหลุดจากการเข้าสู่วังวนได้
ภัยครั้งที่สองเกิดจากสัตว์จตุบท (สี่เท้า) คือ อัศดรชาติอันดุร้ายที่ฝ่ายตรงข้ามจะทดลองพระองค์อาตมาจะถวายคาถาพิเศษสำหรับภาวนาเวลาถอนหญ้าให้อัศดรอันดุร้ายนั้นกิน จะคลายพยศและสามารถประทับบังคับให้ทำตามพระราชหฤทัยได้เหมือนม้าเชื่อง"
คาถาเสกหญ้าให้ม้ากินที่หลวงปู่เอี่ยมถวายนั้น คือ “คาถาอิติปิโสเรือนเตี้ย” หรือ “มงกุฎพระพุทธเจ้า” มีตัวคาถาว่า “อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตัวโสอิ อิโสตังพุทธะปิติอิ”
อาชาที่ดุร้ายกลับเชื่องลงเหมือนม้าลากรถ เจ้าชีวิตแห่งสยามประเทศยกพระบาทขึ้นเหยียบโกลนข้างหนึ่งแล้วหยัดพระวรกายขึ้นประทับบนอานม้าอย่างสง่างามไร้อาการต่อต้านของม้าที่เคยดุร้ายเสียงคนบนอัฒจันทร์ส่งเสียงตะโกนขึ้นเป็นเสียงเดียวกันว่า "Bravo!… Bravo!…" อันหมายถึงว่า "วิเศษที่สุด เก่งที่สุด ยอดที่สุด" ทรงกระตุ้นม้าให้ออกเดินเหยาะย่างไปโดยรอบสนาม ผ่านอัฒจันทร์ที่มีผู้คนคอยชม เปิดพระมาลารับเสียงตะโกนเฉลิมพระเกียรติ
บางคนก็โยนหมวก โดยมีดอกกุหลาบลงมาเกลื่อนสนามตลอดระยะทางที่ทรงเหยาะย่างม้าผ่านไปจนครบรอบ จึงเสด็จลงจากหลังม้ากลับขึ้นไปประทับบนพระที่นั่งตามเดิม
บรรดาพี่เลี้ยงม้าก็เข้ามาจูงม้านั้นออกไปจากสนาม คำพยากรณ์ข้อที่สองและคาถาที่พระปลัดเอี่ยมแห่งวัดโคนอนถวาย ได้สัมฤทธิ์ผลประจักษ์แก่พระราชหฤทัย ทรงระลึกถึงพระปลัดเอี่ยมว่า เป็นผู้ที่จงรักภักดีโดยแท้จริง และได้ช่วยให้ทรงผ่านสถานการณ์อันเลวร้ายมาถึงสองครั้งสองครา และทั้งหมดนี้คือจุดเล็ก ๆ ในเกร็ดพระราชประวัติ เป็นปฐมเหตุแห่งพระบรมรูปทรงม้า หน้าพระราชวังดุสิต ที่เล่าขานกันต่อมาช้านาน และยังคงกึกก้องในโสตประสาทของปวงชนชาวไทยต่อไป
พระภาวนาโกศลเถระ (หลวงปู่เอี่ยม)
"คาถาอิติปิโสเรือนเตี้ย" หรือ "คาถามงกุฏพระพุทธเจ้า"
อานิสงค์ของคาถานี้เป็น คาถาครอบจักรวาล เรานำไปใช้ในทางกุศลได้ทุก ๆ เรื่องการท่องคาถา มีดังนี้
กล่าวนะโม 3 จบ
" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิอิโสตัง พุทธะปิติอิ " ท่อง 3 หรือ 9 จบแล้วอธิษฐาน
ความหมายคาถามงกุฏพระพุทธเจ้ามาจากพุทธภูมิธรรม 4 ประการคือ
•อิติปิโส วิเสเสอิ (ความกล้าหาญบำเพ็ญความดี) *อุสาหะ*
•อิเสเสพุทธะนาเมอิ (มีปัญญา รู้เหตุ รู้ผล ดี-ชั่ว) *อุมมัคคะ*
•อิเมนาพุทธะตังโสอิ (มีใจไม่ท้อถอยมุ่งมั่นกระทำความดี) *อวัฏฐานะ*
•อิโสตังพุทธะปิติอิ (เสียสละกระทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์) *หัตถจริยา*
หลักในการว่าคาถาให้มีความศักดิ์สิทธิ์นั้น มีพื้นฐานจาก
" จิต " เป็นสำคัญ หากจิตมีสมาธิสูง ตั้งมั่นคาถาก็ยิ่งทรงความศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นระหว่างที่ว่าคาถาให้ จับลมหายใจสบายพร้อม ๆ กับการภาวนาคาถาบทนี้
หลวงปู่เอี่ยม ท่านได้ครองวัดหนังอยู่เป็นเวลาถึง 27 ปีเศษจึงถึงแก่มรณภาพลง เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2469 รวมอายุได้ 94 ปี
อดีตเจ้าอาวาสวัดหนัง
"วัดหนังราชวรวิหาร" ตั้งอยู่บนถนนวุฒากาศ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร 10150
สำหรับการเดินทางมายังวัด
มีรถประจำทางสาย 43, 111 ผ่าน
หรือนั่งรถไฟฟ้า BTS มาลงสถานีวุฒากาศ พอลงมาจะมีรถกระป๋อสาย ตลาดพลู-วัดสิงห์ นั่งไปลงหน้าวัดนางนอง แล้วเดินเข้าซอยวัดนางนอง พอเดินข้ามสะพานลงมา ก็จะเจอวัดหนัง อยู่ทางขวามือ
โฆษณา