19 เม.ย. 2024 เวลา 20:05 • ความคิดเห็น

ทำไมการโทษคนอื่น ถึงง่ายกว่าแก้ไขตนเอง?

ขึ้นชื่อว่าเป็นมนุษย์ ถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีซับซ้อน เต็มไปด้วยอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก และแรงปารถนา หลายต่อหลายครั้งเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาหรือสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด สิ่งแรกที่เรามักทำคือ การมองหาสาเหตุจากสิ่งภายนอก โทษปัจจัยอื่น ๆ แทนที่จะมองย้อนกลับเข้ามาที่ตัวเองก่อน
แล้วทำไมการโทษคนอื่นถึงง่ายกว่า?
กลไกการป้องกันตัว: ด้วยความที่มนุษย์มีกลไกการป้องกันตัวทางจิตใจ ที่ช่วยให้เรารับมือกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก กลไกเหล่านี้รวมถึงการปฏิเสธ การหาเหตุผล และการปกป้อง ที่ช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้นในระยะสั้น แต่ในระยะยาวแล้วอาจทำให้พัฒนาการทางด้านความคิด การตัดสินใจของเราที่จะเอาแต่ตัดสินว่าปัจจัยจากภายนอกนั้น คือตัวการในความผิด
ความกลัวความรับผิดชอบ: การยอมรับว่าเราเป็นผู้รับผิดชอบต่อปัญหาหรือความผิดพลาดของเราอาจทำให้เรารู้สึกกลัวและอึดอัดใจ เนื่องด้วยจากตัวของสังคมปัจจุบันเองเมื่อใครทำผิดจะต้องถูกด่าทอ ด้วยคำพูดที่ทำร้ายจิตใจ กลัวว่าจะต้องถูกตราหน้าว่าเป็นที่ผิดพลาด
การขาดความตระหนักรู้: บางครั้งเราอาจไม่ตระหนักถึงจุดอ่อนหรือข้อผิดพลาดของตัวเอง ไม่เปิดใจยอมรับถึงข้อด้อยจุดนั้น ซึ่งนานวันอาจจะได้รับผลกระทบไม่ว่าจากทางใดก็ทางหนึ่ง
วัฒนธรรม: ด้านวัฒนธรรมเองก็มีบทบาทสำคัญในการกำหนดค่านิยม ความเชื่อ และพฤติกรรมของตัวบุคคล มักจะคาดหวังให้บุคคลรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง ผลักดันให้พึ่งพาตนเองและแก้ปัญหาด้วยตัวเองทั้งหมด
ผลเสียของการโทษคนอื่น:
แก้ปัญหาไม่ตรงจุด : แทนที่จะมุ่งเน้นไปที่การแก้ไขปัญหา การโทษคนอื่นจะทำให้เรามุ่งเน้นไปที่การหาคนที่ผิดซึ่งไม่ถูกต้อง
ทำลายความสัมพันธ์: การโทษคนอื่นบ่อย ๆ อาจบ่อนทำลายความไว้วางใจ กัดเซาะความสัมพันธ์ และนำไปสู่ความขัดแย้งในที่สุด
ส่งผลต่อสุขภาพจิต: การโทษคนอื่นบ่อย ๆ ล้วนมีผลต่อสุขภาพจิต ซึ่งนำไปสู่ความเครียด ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และความโกรธเคืองที่มากขึ้นเรื่อยๆ
หยุดพัฒนาตัวเอง: การโทษคนอื่น ทำให้เราพลาดโอกาสในการเรียนรู้จากความผิดพลาด และพัฒนาตนเอง
วิธีแก้ไข:
สมาธิ : การฝึกสติ สมาธิช่วยให้เรามีความตระหนักรู้ในปัจจุบันมากขึ้น เข้าใจสถานการณ์ปัจจุบัน เหตุและผลของปัญหานั้นๆ
รับผิดชอบต่อการกระทำของเรา: แทนที่จะโทษคนอื่น ให้ลองรับผิดชอบต่อการกระทำของเราเองก่อน มองหาจุดอ่อน จุดผิดพลาด เพื่อนำมาปรุงแก้ไข พัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น
มองหาแง่ดี: พยายามมองหาแง่ดีในสถานการณ์ที่มีแต่ปัญหา เพื่อให้เป็นแรงผลักดันเราให้มีแรงไปต่อ
รู้จักปล่อยวาง : การให้อภัยผู้อื่น เป็นการปล่อยวางถึงข้อผิดพลาด ที่ไม่สามารถแก้ไขเหตุการณ์ในอดีตได้ ให้มุ่นเน้นที่การทำอนาคตต่อไปให้ดียิ่งขึ้น
ขอความช่วยเหลือ: การขอความช่วยเหลือ ไม่ใช่เรื่องน่าอาย แต่เป็นเรื่องที่สมควรทำ เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ดีกว่าจมอยู่กับปัญหา
การแก้ไขตัวเองนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เป็นสิ่งแรกที่ควรทำ ถือว่าคุ้มค่าต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง และความคิดของเรา ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร
ใช้ความพยายาม ประสบการณ์จากความผิดพลาด เพื่อว่าวันนึงจะเป็นตัวเราในเวอร์ชั่นที่ดีกว่าเดิม
หนังสือ 1 เล่ม ที่อยากแนะนำ
"The Four Agreements" ของ Don Miguel Ruiz
หนังสือนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจถึงที่มาของพฤติกรรมและการคิดเช่น "การโทษคนอื่น" และวิธีการที่เราสามารถเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงตนเองได้ให้ดียิ่งขึ้นในทางต่างๆ อาทิเช่น การใช้คำพูดอย่างมีสติ
พึงระลึกไว้เสมอ:
"ทุกคนทำเคยทำผิดพลาด"
"เรียนรู้จากความผิดพลาดของเรา"
"ให้อภัยตัวเอง"
"โฟกัสไปที่ปัจจุบัน"
และ "ไม่หยุดพัฒนาตัวเอง"
การเดินทางที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเริ่มต้นด้วยการก้าวเท้าเพียงก้าวเดียว
Lao Tzu
"คหสต"
โฆษณา