21 เม.ย. 2024 เวลา 06:04 • สุขภาพ

ซึมเศร้า

ได้ forward line มาหนึ่งเรื่อง คิดว่ามีประโยชน์เลยคัดมาลงค่ะ
👨‍⚕️🥼
1
เป็นเรื่องของ อ. หมอ ประเวศ วะสี รุ่นครูของป้าพาค่ะ
👩‍⚕️“ชีวิตติดเตียง 1 เดือน”ในโรงพยาบาลของหมอประเวศ วะสี
กล่าวถึง โรคซึมเศร้า ที่เกิดขึ้นได้กับคนไข้โรคเรื้อรัง
ลองอ่านกันดูนะคะ
เป็นเรื่องเล่าถอดบทเรียนที่เป็นประโยชน์ยิ่ง
🩺🧑‍⚕️
คุณหมอประเวศในวัย 91 ปีได้เขียนขึ้นมาหลังจากที่ท่านออกจากโรงพยาบาล
เป็นบทความที่เขียนขึ้นท่ามกลางมรสุมของความซึมเศร้า
การจำยอมเผชิญ
และการพบกับความจริง
👉จากความทุกข์สาหัสทั้งจากโรคหัวใจและโรคซึมเศร้า
..........
อาจารย์เขียนถ่ายทอดว่า
…ผม(ประเวศ) มีประสบการณ์ในการเป็นคนไข้อยู่ใน ICUโรคหัวใจที่โรงพยาบาลศิริราชเป็นเวลาเดือนกว่า ทำให้ได้พบบางสิ่งบางอย่างที่น่าจะเพิ่มองค์ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยกำหนดสุขภาพ
👉ผมได้รับการรักษาจากแพทย์ที่เก่งที่สุด พยาบาลที่ดีที่สุด และด้วยเครื่องมือที่ดีที่สุด
แต่การที่ผมถูกแยกตัวจากสภาวะเดิมที่คุ้นเคยมาอยู่ในห้องแยกคนเดียว นอนดูนาฬิกาและฝาผนัง กินอาหารโรงพยาบาลที่ผมไม่คุ้นเคย ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่ทำให้การรักษาได้ผลไม่ตรงตามคาดหวัง
หมู่แพทย์เห็นกันว่า mood หรืออารมณ์น่าจะเป็นเหตุ จึงอนุญาตให้ภรรยาเข้ามาเยี่ยมคราวละหลายชั่วโมง จากตามปกติที่อนุญาตครั้งละ 10 นาที ... อารมณ์ก็ดีขึ้น
แต่อย่างไม่รู้ตัว เจ้าอารมณ์ที่ว่านี้ได้กลายเป็น “โรคซึมเศร้า” ที่ผมวินิจฉัยได้เอง
ตามปกติจิตใจผมไม่เคยซึมเศร้า มีจิตใจที่มีความสุข
ผมเริ่มสังเกตว่า ในตัวมี "ความทุกข์" ที่อธิบายไม่ได้กระจายอยู่ทั่วตัว และรุนแรงโดยปราศจากสาเหตุ
👴
ผมจับได้ว่า... ผมไม่สามารถรวบรวมความคิดเป็นหนึ่งเดียว มันฟุ้งกระจาย
ถ้าเป็นคนปกติ คนผู้นั้นย่อมสามารถรวบรวมความคิดเป็นหนึ่ง หรือเป็น Harmony ของกระแสความคิด เหมือนวงดนตรีที่เครื่องเล่นทุกชิ้นเล่นเพลงเดียวกัน เป็นเพลงอันไพเราะ ทำให้คนฟังมีความสุข
แต่คนที่เป็นโรคซึมเศร้า ... ความคิดจะฟุ้งกระจาย รวมความคิดไม่ได้ เป็นการสิ้นความสุขอย่างรุนแรงทั้งเนื้อทั้งตัว ... ความรุนแรงเช่นนั้นทำให้คนไข้ทนไม่ได้ และฆ่าตัวตาย
เราอาจเขียนเป็นภาพได้ว่าเป็น
“การรวมตัวไม่ได้ของความคิดจากโรคซึมเศร้า” ที่ปลายข้างหนึ่ง ซึ่งเป็นความทุกข์สุดๆ โดยมี “ความคิดของคนปกติธรรมดา” อยู่ตรงกลาง และมี “การมีสติและสมาธิตั้งมั่น” อยู่อีกปลายอีกข้างหนึ่ง ซึ่งเป็นความสุขสุดๆ
ภาพนี้จะช่วยให้เราเข้าใจสภาวะอารมณ์ของผู้ป่วย และลดอารมณ์ซึมเศร้ขาที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและการรักษา
ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาในที่อันเป็นสัปปายะของเขา คือบ้าน ครอบครัว ชุมชน วัฒนธรรม การรักษาจะง่าย หายเร็ว
ผมเคยพบคนไข้ในโรงพยาบาล ที่เป็นไข้โดยไม่รู้สาเหตุ แต่พอกลับบ้านไข้นั้นก็หายไป
ผมเคยพบคนไข้เด็กสาวคนหนึ่งเป็น acute asthma (โรคหอบหืด)อาการหนัก
ผม(อ. ประเวศ)
บอกคนไข้ว่า
"หมอจะรับหนูไว้ในโรงพยาบาล"
แทนที่จะดีใจ
เด็กสาว(คนไข้)บอกว่า
"คุณหมออย่าให้หนูอยู่โรงพยาบาลเลย เพราะตอนเป็นมากจะไม่มีใครช่วย
❤️ถ้าอยู่บ้าน
แม่ยังกอดหนูไว้"
บทความอ. ประเวศ
ซึ่งคุณหมออพภิวันท์ ภรรยาหมอสงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เคยเล่าถึงเด็กผู้หญิงคนหนึ่งจากภาคอีสาน
👉เธอเป็นมะเร็งมารักษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้รับเคมีบำบัดอย่างดี แต่ก็ไม่มีความสุข พอกลับไปอยู่ในหมู่บ้าน มีผู้คนมาช่วยเหลือมากมายทั้งแพทย์ไทย จีน ชาวบ้าน พระที่วัดให้เธอบวชชี แล้วใช้การปฏิบัติธรรมทำให้เธอมีความสุขอย่างเต็มเปี่ยม นี่คือการรักษาในฐานวัฒนธรรม
อ. ประเวศ สรุปไว้ว่า
เราควรมีการศึกษาวิจัยการหายของโรค
เทียบระหว่างเมื่อคนไข้อยู่ในสถานพยาบาลกับอยู่ในวัฒนธรรมของเขา ซึ่งอาจเกิดความรู้ที่นำมาสู่การรักษาแบบ “ใกล้บ้านใกล้ใจ” ซึ่งราคาถูกกว่า ได้ผลดีกว่า
👉ส่วนโรคซึมเศร้า อาจมีหลายดีกรีและสาเหตุหลากหลาย ถ้าผู้รักษาใส่ใจความรู้เรื่องนี้ จะช่วยแก้ทุกข์ของผู้ป่วยได้อย่างสำคัญ
*******
ข้างบนคือ บทความส่งต่อกัน(ฟอร์เวิดไลน์) ของดร. สุวินัย ภรณ์วลัย
: ท่านอาจารย์หมอประเวศเป็นปูชนียบุคคลของสังคมไทย แม้ในวัยกว่าเก้าสิบท่านอาจารย์หมอก็ยังอุตส่าห์แบ่งปันประสบการณ์ที่ท่านเผชิญกับอาการโรคซึมเศร้ามาให้สังคมได้รับรู้ เรียนรู้
1
เคสของท่านอาจารย์หมอประเวสน่าสนใจมาก เพราะที่ผ่านมาทั้งชีวิตกว่าเก้าสิบปี ท่านไม่เคยซึมเศร้า และมีจิตใจที่มีความสุขตามมาตรฐานของคนทั่วไป
ถอดบทเรียนจากเคสของท่านอาจารย์หมอประเวศนี้ ท่านเขียนเพื่อเสนอแนวคิดว่า
- ไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหน เราก็ถูก "โรคซึมเศร้า" จู่โจมอย่างคาดไม่ถึงได้เสมอ
- เมื่อใดก็ตามที่ "โรคซึมเศร้า" เข้ายึด "นครกาย" ของเราได้แล้วอย่างเบ็ดเสร็จ มันจะเป็น "อกุศลราชา" ที่ทรงอำนาจมาก และขับไล่ออกไปได้ยากมาก ไม่ว่าจะใช้วิธีการรักษาทางโลกแบบไหนก็ตาม
- "โรคซึมเศร้า" น่าจะเกี่ยวโยงกับ "อนุสัย" (จิตใต้สำนึกฝังลึก) ของผู้นั้นไม่มากก็น้อย โรคซึมเศร้าจึงสามารถ "บงการ" คนผู้นั้นจากข้างในสุด หรือจาก "ตัวตนด้านมืดหม่น" ซึ่งเป็นอีกตัวตนที่แฝงซ้อนอยู่ใน "ตัวตนปกติ" ของคนผู้นั้น
- โรคซึมเศร้า สาเหตุอาจหลากหลายเช่น จากความไม่สมปรารถนาต่อความอยากได้ อยากมี หรือจากความผิดหวังอย่างรุนแรง เก็บกด ระเบิดระบาย พอไม่ได้รับการสนองตอบ จะเก็บกดใหม่ที่มีพลังลบมากกว่าเดิม พอมีการระเบิดระบายออกใหม่ก็จะรุนแรงกว่าเดิม วนลูปแบบนี้ จนเกิดการปรับตัวเพื่อเซฟร่างกาย เซฟพลังงาน คือเปลี่ยนจากพลังเก็บกด เพื่อระเบิด เป็นการยอมจำนน เลื่อนลอย สติจางลงทุกที จนอารมณ์หดหู่ครอบงำ ซึมเศร้า ไม่มีความสดชื่น หรืออารมณ์บวกอื่นๆ มาแทนที่
- ถ้ามองแบบบูรณาการ ตามโมเดลจตุรภาคของ Ken Wilber ใน Integral Theory ของเขา ... การกินยารักษาโรคซึมเศร้าช่วยได้มากสุดแค่ 1/4 เท่านั้น ... การฝึกเจริญสติ ดูจิต ดูความคิดก็ช่วยได้มากสุดแค่ 1/4 เช่นกัน ... หรือปัจจัยแวดล้อมทางครอบครัว ชุมชน วัฒนธรรมก็ช่วยได้มากสุดแค่ 1/4 เท่านั้น
... หรือการปรับปรุงโครงสร้างสังคมและระบบนิเวศที่เอื้อต่อ Wellness ก็ช่วยมากสุดได้แค่ 1/4 เท่านั้น ... จึงเห็นได้ว่าเราควรเข้าใจ "โรคซึมเศร้า" ในทุกมิติและรักษามันจากทุกๆ มิติพร้อมกันไป ไม่ใช่รักษามันแค่มิติใดมิติหนึ่งมิติเดียว
ขอให้ท่านอาจารย์หมอประเวศจงกลับมามีสุขภาพดีแบบองค์รวมตามเดิมโดยเร็ววันด้วยเทอญ
ด้วยจิตคารวะยิ่ง
~ สุวินัย ภรณวลัย
Suvinai Pornavalai
🙏🏻 ขอบคุณ บทความของอ. สุวินัย ทีืส่งต่อกันมาในไลน์ค่ะ
ด้วยความปรารถนาดี
ป้าพา
ในฐานะแพทย์ ป้าเห็นด้วยว่า การปรึกษากันกับคนไข้ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ทายาท หรือญาติสายตรง เรื่องการรับเข้ารักษา วิธีการรักษา และระยะเวลารวมทั้งการจะให้ใส่เครื่องมือทางการแพทย์รักษา
จะยอมให้ใส่มากหรือน้อย.. คนไข้และญาติที่มีสิทธิ์ ร่วมตัดสินใจน่าจะสามารถแสดงเจตจำนงค์ได้ด้วย
ขอบคุณค่ะ
ป้าเอง
โฆษณา