Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องเล่าหลากหลายกับนายฝัน
•
ติดตาม
22 พ.ค. 2024 เวลา 04:00 • การศึกษา
พระพุทธเจ้าประสูติก่อนที่นักประวัติศาสตร์เข้าใจนับร้อยปี
.
เรื่องนี้เป็นข่าวเก่าตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 แต่เป็นอะไรที่สร้างความตื่นเต้นแก่วงการโบราณคดีมาก (ในตอนนั้น)
ต้องอธิบายก่อนว่า ช่วงคริสศตวรรษที่ 19 สมัยที่อังกฤษยังปกครองอินเดียมีการพบจารึกพระเจ้าอโศกมหาราชและโบราณสถานเกี่ยวกับพระพุทธศาสนายุคพระเจ้าอโศกมหาราชในบริเวณที่เป็นสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง และบริเวณที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติอื่น
โดยบริเวณจุดที่จารึกพระเจ้าอโศกมหาราชระบุว่าคือสวนลุมพินีวันเป็นที่ประสูติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างวิหารหลังหนึ่งบนบริเวณดังกล่าว ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่าวิหารมายาเทวี
หลังจากที่ได้ค้นพบโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าหลายแห่ง นักวิชาการตะวันตกสรุปว่า พระพุทธเจ้าน่าจะประสูติ ราว 400-300 ปีก่อนคริสตกาล เพราะไม่มีโบราณสถานทางพระพุทธศาสนาแห่งใดเก่ากว่าช่วงเวลาดังกล่าว
จะเห็นว่าขัดกับความเชื่องของชาวไทยและชาวพุทธในหลายประเทศโดยเฉพาะที่นับถือนิกายเถรวาทที่เชื่อว่า พระพุทธเจ้าปรินิพพาน 544-543 ปีก่อนคริสตกาล
อย่างไรก็ดี การขุดค้นโบราณสถานยังไม่เสร็จสิ้นแม้จะผ่านเวลานับร้อยปีแล้วก็ตาม
ในปีพุทธศักราช 2556 คณะขุดค้นที่นำโดยศาสตราจารย์โรบิน คอนนิ่งแฮม (Robin Coningham) แห่งมหาวิทยาลัยเดอรัม (Durham University) ประเทศอังกฤษ ได้ค้นพบโครงสร้างไม้ของวิหารมายาเทวี ที่อยู่ใต้โครงสร้างอิฐที่สร้างสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชอีกที
โครงสร้างไม้ดังกล่าวเป็นอาคารที่มีร่องรอยว่าสร้างขึ้นล้อมรอบต้นไม้สำคัญที่เป็นศูนย์กลางอาคาร มีการทำช่องเปิดโล่งตรงต้นไม้เพื่อให้แสงเข้าและให้ต้นไม้เจริญเติบโตต่อไปได้
เมื่อนำโครงสร้างไม้ดังกล่าวไปศึกษาปรากฏว่ามีอายุประมาณ 550 ปีก่อนคริสตกาล
แต่ก็มีนักวิชาการบางส่วนที่เห็นต่างว่า อาจจะไม่ใช่โบราณสถานในพระพุทธศาสนาก็ได้ เพราะมีลัทธิบูชาต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ (เข้าใจว่ารุกขเทวดา-ผู้เขียน) ในเนปาลโบราณ และไม่มีจารึกชัดเจนว่าเป็นโบราณสถานในพระพุทธศาสนา
ทางศาสตราจารย์โรบิน คอนนิ่งแฮมก็โต้แย้งไปว่า โครงสร้างพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างทับแบบต่อเนื่องกับโครงสร้างไม้เดิม หากโครงสร้างไม้ดังกล่าวไม่ใช่โบราณสถานในพระพุทธสาสนาแล้วทำไมจึงทำการสร้างแบบนั้น
สำหรับมุมมมองของผู้เขียนนั้นเห็นด้วยกับมุมมองของศาสตราจารย์โรบิน คอนนิ่งแฮม
เพราะหากมีวิหารต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์มาก่อนจริง ในยุคที่คนยังเกรงกลัวอำนาจเหนือธรรมชาติ พระนางสิริมหามายาจะกล้าไปเหนี่ยวกิ่งไม้ศักดิ์สิทธิ์เพื่อประสูติเจ้าชายสิทธัตถะหรือ
เมื่อมาถึงจุดนี้ผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า อายุโครงสร้างไม้ทำไมถึงคาบเกี่ยวกับช่วงปรินิพพานตามพุทธประวัติที่เราเรียนกัน หรือพระพุทธเจ้าจะประสูติช้ากว่าที่เราเข้าใจ
หากเราเปรียบเทียบพุทธประวัติตามที่เราเข้าใจ คือปรินิพพาน 543 ปีก่อนคริสตกาล มีพระชนมายุ 80 พรรษา เท่ากับว่าพระพุทธเจ้าประสูติเมื่อ 623 ปีก่อนคริสตกาล
ต้องอย่าลืมว่ากว่าจะทรงตรัสรู้ก็พระชนมายุ 35 พรรษา คือช่วง 588 ปีก่อนคริสตกาล กว่าจะทรงเผยแพร่พระพุทธศาสนาจนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางก็ทรงใช้เวลาอีกหลายสิบปี
ไม่จำเป็นที่โครงสร้างไม้ดังกล่าวจะต้องสร้างขึ้นเวลาประสูติหรือตรัสรู้เท่านั้น อาจจะสร้างขึ้นหลังจากนั้นก็ได้
บทสรุปของเรื่องนี้ก็คือ หลักฐานทางโบราณคดีอาจจะช่วยยืนยันว่าสิ่งที่บันทึกในพระไตรปิฎกและคัมภีร์พระพุทธศาสนาอื่น ๆ ของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบที่ชาวไทยนับถือนั้นถูกต้อง
อ้างอิง
1.
https://whc.unesco.org/en/news/1053
2.
https://edition.cnn.com/2013/11/25/world/asia/buddha-birthplace-buddhist-shrine/index.html
3.
https://ngthai.com/history/53145/buddha-birthplace/?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR3-pOtmBeR0fkCv_9dcwTybS5lP8Q4fL4C3f6r8D9uHVQoFXbcTy8QtT3Q_aem_AarpvXHSfPCN0ueo71npODXwy-HKfCstLXy3gUcKSnX0EHmu3ujAEXltHLxxLgk7NOKoauzJReKgxlF_nKw3J7EI
แบบวิชาการ
https://www.cambridge.org/core/journals/antiquity/article/earliest-buddhist-shrine-excavating-the-birthplace-of-the-buddha-lumbini-nepal/90338647E132E7B20420CCC9C847E237?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR02CJOmGh-F2oXUKgxB76CuGo348PQhBboTPLMpbj4x1dtmz_pXUgqRO_c_aem_AapPBVbXbF8L-IL_11ondF8pX4kZJKG7LYw7IEVQUgwJ_-uPD8_vmNaFpepDlloWqssSQmcR0HigHoGWqwK6S-2i
ความรู้
ประวัติศาสตร์
พุทธศาสนา
บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
พระพุทธศาสนา
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย