22 เม.ย. เวลา 05:01 • สุขภาพ

โควิดไทยกลับมาอีกครั้ง หลังสงกรานต์ ติดเชื้อเพิ่ม 18% และเพิ่มขึ้นจากจุดต่ำสุดของปีนี้มากถึง 125%

โควิด-19 ของไทย เราพบผู้ป่วยเคสแรกเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2563 นับจนถึงปัจจุบันนี้เราก็พบโควิดมาแล้วสี่ปีสามเดือนเศษ
1
มีการเปลี่ยนแปลงมากมายในช่วงเวลาที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยหนัก ผู้เสียชีวิต การพัฒนาของวัคซีน การวิจัยพัฒนาของวิธีการรักษาและยารักษาต่างๆ
แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงชัดเจนในปัจจุบันก็คือ จำนวนผู้ติดเชื้อที่เป็นโควิดลดลงอย่างมาก และความรุนแรงตลอดจนการเสียชีวิตก็ลดลงอย่างชัดเจน
1
สาเหตุหลักเกิดขึ้นตามธรรมชาติของไวรัสและมนุษย์ก็คือ มีภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นในมนุษย์ที่จะต่อสู้กับโรคโควิด ทั้งโดยธรรมชาติจากการติดเชื้อ กับการฉีดวัคซีนที่มีภูมิต้านทานขึ้นมา
อย่างไรก็ตาม ไวรัสก็เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีพัฒนาการเช่นกัน จึงมีการกลายพันธุ์ตลอดเวลาเพื่อหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันดังกล่าว
ทำให้ภูมิคุ้มกันที่มนุษย์มีขึ้นนั้น ไม่สามารถจะป้องกันได้ 100%
เราจึงพบคนที่ติดเชื้อหายดีแล้ว มีภูมิคุ้มกันแล้ว สามารถติดเชื้อใหม่ได้อีก
หรือคนที่มีภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีน ก็ยังคงสามารถติดเชื้อไวรัสได้
1
จึงยังคงทำให้เราพบผู้ติดเชื้อทั่วโลกอยู่ทุกวัน แล้วก็เสียชีวิตทุกวันด้วยเช่นกัน
2
โดยที่โรคมีอาการที่รุนแรงน้อยลง เสียชีวิตน้อยลงนี่เอง จึงทำให้ผู้คนทั่วไปมีความระมัดระวังลดลงเป็นลำดับ
จึงยังคงมีมนุษย์ติดเชื้ออยู่เรื่อยเรื่อยแล้วก็มีการเสียชีวิตด้วยเช่นกัน
วันนี้เราจะมาดูจำนวนผู้ติดเชื้อของประเทศไทย ในช่วงหลังเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาของความเสี่ยง
จากการตรวจสอบสถิติพบว่า
ในช่วงสัปดาห์ 14-20 เมษายน 2567 ไทยพบผู้ติดเชื้อที่ตรวจแบบพีซีอาร์เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้านั้นมากถึง 18% คือเพิ่มจาก 849 รายเป็น 1004 ราย
2
และถ้าเทียบกับจุดต่ำสุดของปีนี้คือในช่วงสัปดาห์ที่ 3-9 มีนาคม การเพิ่มหลังเทศกาลสงกรานต์ครั้งนี้ มีผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นถึง 125% จาก 446 กลายเป็น 1004 ราย
เรายังคงมีผู้ป่วยโควิดที่มีอาการมาก จนมีปอดอักเสบ ครองเตียงอยู่เกือบ 300 คน
และป่วยหนักมากจนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ นอนรักษาตัวอยู่ในไอซียูอีกราว 100 คน
จนส่งผลให้มีคนเสียชีวิตจากโควิดทุกสัปดาห์ต่อเนื่องกันมาโดยตลอด ไม่เคยเว้นแม้แต่สัปดาห์เดียว
นอกจากนั้น เรายังพบว่าผู้เสียชีวิตทุกสัปดาห์จากโควิด เกือบทั้งหมดนั้นเป็นผู้ที่อายุมากกว่า 70 ปี
ดังนั้นคำแนะนำสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง เนื่องจากระมัดระวังตัวเองไม่ดีพอ และเกิดมีอาการชวนสงสัย เช่น เจ็บคอ น้ำมูกนิดหน่อย มีไข้ปวดเมื่อยเนื้อตัวไม่มากนัก ก็ให้ตรวจเอทีเค ถ้าพบว่าเป็นบวกคือขึ้นสองขีด ก็ให้ดูว่าอยู่ในกลุ่มใด
ถ้าเป็นกลุ่มที่อายุน้อย ไม่มีโรคประจำตัว และเคยฉีดวัคซีนมาแล้ว ก็ไม่ต้องกังวลอะไร ให้รักษาไปตามอาการ ยังไม่ต้องเริ่มยาต้านไวรัส
2
แต่ถ้าเป็นผู้ที่อายุมาก โดยเฉพาะผู้ที่อายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน
ถ้าพบว่าเอทีเคเป็นบวก ให้รีบมาพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาโดยใช้ยาต้านไวรัส เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ยังมีโอกาสจะมีอาการรุนแรง และเสียชีวิตได้
Reference
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
โฆษณา