22 เม.ย. เวลา 12:39 • สิ่งแวดล้อม

ตอน 124

ตอนที่17: 🎂 แฮปปี้เอิร์ธเดย์ 🎂
คงไม่มีรูปไหนเหมาะกับวัน Earth day ไปมากกว่ารูปนี้อีกแล้ว
เห็นรูปนี้มาเป็นร้อยครั้ง อยู่ในสไลด์ประกอบการบรรยายทั่วโลก เวลาที่ใครจะพูดถึงเรื่องความยั่งยืน ก็ต้องชวนคนฟังเปลี่ยนมุมมองก่อนว่า เราอยู่ตรงไหนของโลก
คนริเริ่มแผนภูมินี้คือ Stetfen Ichmann (2010)
สถาปนิกชาวเยอรมันและเป็นนักวิชาการที่สนใจเรื่องการกลับมาเชื่อมโยงกับธรรมชาติ เพราะเมืองใหญ่ที่เราอาศัยอยู่มักตัดขาดกับธรรมชาติโดยสิ้นเชิง
Stetfen เขียนไว้ว่า กว่า 300 ปีที่ผ่านมา มนุษย์คิดว่าการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เราอยู่เหนือธรรมชาติได้ โดยใช้ธรรมชาติเป็นเครื่องมือสนองวิวัฒนาการของมนุษย์ (Eng text below)
หนึ่งในนวัตกรรมวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ 🔥 พลาสติก 🔥
มนุษย์ใช้พลาสติกในทุกกิจกรรมของชีวิต ทั้ง ๆ สิ่งมีชีวิตอีกหลายล้านสปีชี่ส์ไม่เห็นมีความจำเป็นต้องใช้พลาสติกเพื่อดำรงชีวิต
จนมีการตั้งชื่อโลกยุคใหม่นี้ว่า Anthropocene คือยุคที่มนุษย์ได้สร้างผลกระทบต่อธรรมชาติแบบหวนกลับคืนไม่ได้ มีอณูพลาสติกแฝงอยู่ในทุกที่ ทั้งในน้ำ บนบก และในสิ่งมีชีวิต
Earthday.org ปีนี้ เลยยกให้ปัญหาพลาสติกเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สุด “Planet vs. Plastics”
ทั้งโลกต้องลดการผลิตพลาสติกให้ได้ 60% ภายในปี 2040 ไม่งั้นเราอาจจะตายเพราะมะเร็งหรือโลกเดือดไปซะก่อน
ก่อนที่จะได้ทันฉลองแฮปปี้เอิร์ธเดย์ในปีถัด ๆ ไป
Over the last 300 years we saw that we could manipulate nature through the emergence of science. Humankind started to believe that it had dominion over the Earth; and that the Earth and nature have to serve us in our own evolution.
Just think of the discoveries of philosophers and scientists like Copernicus, Galileo, Descartes and Newton. Their understanding was that nature was meaningless and purposeless, and its only function was to ‘serve humans in their evolution’.
Descartes for instance believed that animals had no feelings. His belief was: ‘Man is at the top and Earth is here for us to use, to exploit’
Steffen Lehmann, Emerald Open Research 2019
#CircularEconomybyMai
โฆษณา