25 เม.ย. เวลา 02:09 • ประวัติศาสตร์

ประวัติของ หลวงพ่อวงษ์ วังสปาโล

วัดปริวาสราชสงคราม พระราม3
ท่านเป็นคนกำเนิดในพื้นที่บ้านทวาย เรียกตำบลบางโพงพาง หรือ เขตยานนาวา
เกิดเมื่อ วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน 2445
บิดาชื่อนายเลียบ มารดาชื่อนางจั่น เจริญกุล
ในช่วงวัยเด็กบิดาของท่านนำไปฝากที่วัดปริวาส เพื่อใช้เป็นที่เรียนหนังสือ จนท่านสอบเทียบชั้นในระดับประถมศึกษา 4 จนถึงอายุ 21 ปี
ท่านได้เข้ารับการเกณฑ์ทหาร เป็นทหารเรือที่กรมสรรพาวุธทหารเรือ เขตบางนาจนอายุ 23 ปี
ถึงได้ปลดประจำการ
 
"หลวงพ่อวงษ์" ได้เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดปริวาส
ในวันพุธที่ 17 มิถุนายน 2468 โดยมี
พระครูวินยา นุบูรณาจาร หรือ หลวงพ่อเชย วัดโปรดเกศเชษฐาราม เมืองพระประแดง สมุทรปราการ เป็นพระอุปัชฌาย์
พระปลัดไม้ วัดปริวาสเป็นพระกรรมวาจาจารย์
และพระอธิการน้อย วัดด่าน เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายาทางธรรมว่า "วังสปาโล"
"หลวงพ่อวงษ์" ท่านได้เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนทางธรรมที่วัดทองธรรมชาติ วัดมหาธาตุ
วัดจักรวรรดิราชาวาส หรือ วัดสามปลื้ม
ได้เรียนภาษาบาลีแบบมูลกัจจายน์ แตกฉานในภาษาขอมบาลี ขอมไทย สอบได้นักธรรมชั้นตรี จนถึงปี 2471 พระปลัดไม้ วัดปริวาส ได้มรณภาพลง
หลวงพ่อวงษ์จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส
"หลวงพ่อวงษ์" ได้ศึกษาทางด้านการปรุงยาสมุนไพร และมีผู้เข้ารับการรักษา กับท่านอยู่ไม่ขาด
"หลวงพ่อวงษ์" ยังได้ศึกษาวิชาจับยามสามตา เล่นแร่แปรธาตุ การลบผง การทำผงปถมัง ผงอิทธิเจ การทำน้ำมนต์ รวมไปถึงการวิปัสสนากรรมฐาน
ซึ่งได้ศึกษาจากปู่เนียน สังข์เนตร ฆราวาสผู้เรืองวิทยาคมแห่งอาศรมบางวัว
ท่านเรียนกรรมฐานกับหลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่นอก เกจิอาจารย์ ที่มีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนากรรมฐานในขณะนั้น จนถึงขนาดที่ พระในแถบบางโพงพาง
ที่จะออกธุดงค์ ต้องเข้าฝึกกรรมฐานกับหลวงพ่อพุ่มก่อนจึงจะออกธุดงค์ได้
"หลวงพ่อวงษ์" กับเรื่องราวของที่มาของเสือ
หลวงพ่อวงษ์ มีความเลื่อมใสในตัว หลวงพ่อปาน
วัดคลองด่าน เป็นอย่างมาก
วิชาการสร้างและปลุกเสกพยัคฆราช(เสือ)โลหะ ของหลวงพ่อวงษ์ วัดปริวาสฯ ที่สร้างตั้งแต่รุ่น 1 ถึง รุ่น 6 (พ.ศ. 2501-2519)
ได้รับการถ่ายทอดจาก หลวงปู่ปาน ทางนิมิต เมื่อ พ.ศ.2498 เป็นระยะเวลาหลายปี จนกระทั่งสำเร็จวิชาการสร้างเสือ
หลวงพ่อวงษ์จึงได้สร้างเสือครั้งแรก
เมื่อปี พ.ศ.2501 และทุกครั้งที่มีการสร้างเสือ
หลวงปู่ปานจะมาร่วมพิธีด้วยการผ่านร่างประทับทรง
จนถึงรุ่นหกซึ่งเป็นรุ่นสุดท้ายในปี พ.ศ.2519
ในการสร้างและปลุกเสกเสือนั้น
หลวงพ่อวงษ์จะนั่งปลุกเสกเสือจนกระทั่งเสือโลหะนั้นกระโดดได้เหมือนมีชีวิตจึงหยุดปลุกเสก
บรรดาศิษย์ที่ศรัทธาในยุคนั้น เห็นท่านปลุกเสกเสือกระโดดได้เป็นเรื่องปกติจึงศรัทธาเลื่อมใสมาก
ไม่ว่าจะเป็นเสือรุ่นไหนของหลวงพ่อวงษ์ก็เป็นที่นิยมของวงการพระเครื่องเป็นอย่างมากเพราะมีความเชื่อในพุทธคุณ ที่เด่นในทางมหาอำนาจ
หลวงพ่อวงษ์ ได้มรณภาพอย่างสงบ
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2523 สิริอายุ 78 ปีพรรษา 55
เครดิตข้อมูล
บทความ : เปิดตำนาน "หลวงพ่อวงษ์" เจ้าตำหรับ
เครื่องรางเสือ แห่ง วัดปริวาส พระราม3
สำนักพิมพ์ : คมชัดลึก เผยแพร่ 25 ก.ค. 2565
โฆษณา