27 เม.ย. 2024 เวลา 02:00 • ประวัติศาสตร์

10 Facts ประวัติศาสตร์ของ Citibank ที่คุณไม่เคยรู้

1. ประธานบริษัทคนแรกของ City Bank เคยทำงานไปรษณีย์มาก่อน
ชายคนนั้นคือ ‘ซามูเอล ออสกู๊ด’ (Samuel Osgood) เขาจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และเคยทำงานเป็นผู้แทนสภาในรัฐ Massachusetts ด้วยความเฉลียวฉลาดทำให้ George Washington ประธานาธิบดีสหรัฐฯ แต่งตั้งเขาให้เป็นอธิบดีกรมการไปรษณีย์ในปี 1789 และในปี 1812 ออสกู๊ดกลายเป็นผู้ก่อตั้งและประธานบริษัทคนแรก The Citi Bank of New York ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ Citibank
2. Moses Taylor ซีอีโอที่ทรงอิทธิพลที่สุดในช่วงศตวรรษที่ 19
Taylor เข้ามาเป็นพนักงานในธนาคารหลังต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางการเงินแบบฉับพลัน (Panic of 1837) จนในปี 1856 เขาได้ถูกเสนอชื่อให้เป็นประธานบริหารธนาคารและดำรงตำแหน่งจนถึงปี 1882 โดยหลังจากที่เขาเสียชีวิต ทรัพย์สินของเขามีมูลค่า 70 ล้านดอลลาร์สหรัญฯ หรือ 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของมูลค่าปัจจุบัน
3. เปลี่ยนชื่อเป็น National City Bank of New York
ในปี 1865 The Citi Bank of New York เปลี่ยนชื่อเป็น National City Bank of New York ซึ่งการเปลี่ยนชื่อในครั้งนี้ทำให้ธนาคารต้องเปลี่ยนไปใช้ระบบการธนาคารในระดับชาติอีกด้วย
4. James Stillman ซีอีโอคนสำคัญที่ผลักดันให้อเมริกายืนอยู่บนแนวหน้าเวทีโลก
James Stillman เข้ามารับตำแหน่งในปี 1891 ภายใต้การบริหารของเขา ธนาคารมีการทำการค้าแลกเปลี่ยนต่างประเทศโดยจัดการสนับสนุนการเงินหลักให้กับสเปนและญี่ปุ่น และยังคงสร้างความสัมพันธ์อันดีกับแถบละตินอเมริกา โดยการเปิดตัวธนาคารแห่งอเมริกาสาขาต่างประเทศแห่งแรกในเมืองบัวโนสไอเรส (Buenos Aires) ประเทศอาร์เจนตินา
5. เรื่องอื้อฉาวครั้งใหญ่
ในปี 1905 ธนาคารเกิดเรื่องอื้อฉาวและถูกกล่าวหาว่าได้รับข้อตกลงอันหอมหวานกับรัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เพราะสายสัมพันธ์กับ Joh D. Rockefeller โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกล่าวว่า “นี่คือการทุจริตของ National City Bank ที่เกิดขึ้นมานานแล้ว”
6. Citibank สร้างกำไรมหาศาลในช่วงทศวรรษ 1920s
ในระหว่างปี 1910 ถึง 1911 กระทรวงต่างประเทศได้สนับสนุนกลุ่มนักลงทุนชาวอเมริกาซึ่งนำโดย Citibank เพื่อเข้าควบคุม ‘Banque Nationale de la République d'Haïti’ ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งเดียวในเฮติและทำหน้าที่เป็นคลังของรัฐบาลเฮติ
โดย Citibank ได้ให้เงินกู้ยืมแก่รัฐบาลเฮติเป็นจำนวน 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดย George Padmore นักเขียนจากพรรคคอมมิวนิสต์ได้กล่าวว่า ‘การกระทำเช่นนี้คือการเปลี่ยนเฮติให้กลายเป็นทาสของอเมริกัน’ และทำให้ Citibank ได้รับกำไรเยอะที่สุดในช่วงทศวรรษที่ 1920 เนื่องจากการชำระหนี้จากเฮติ
7. กำเนิดบัตรเครดิต Everything Card
บริษัทเข้าสู่ภาคการเช่าซื้อและบัตรเครดิตแบบออร์แกนิก และการเปิดตัวบัตรเงินฝากในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในลอนดอน และเพื่อที่จะเป็นส่วนหนึ่งของ MasterCard ธนาคารได้เปิดตัว First National City บัตรเครดิต Charge Service หรือที่รู้จักในชื่อ "Everything card” ในปี 1967
แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากมีต้นทุนสูงเกินไปที่จะโปรโมทในฐานะแบรนด์อิสระ และได้ตัดสินใจเข้าร่วมกับ Master Charge (ปัจจุบันคือ Master Card) ในช่วงปี 1977-1987 Citibank พยายามสร้างแบรนด์บัตรเครดิตแยกต่างหากแต่ไม่สำเร็จซึ่งก็คือบัตร Choice Card
8. ธนาคารแรกในสหรัฐฯ ที่ใช้ตู้ ATMs ให้บริการ 24 ชั่วโมง
ในทศวรรษที่ 1970 Citibank คือธนาคารแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่นำเสนอบริการทางเทคโนโลยีที่สามารถให้ลูกค้าเข้าถึงเงินสดได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งก็คือตู้ ATMS (automatic teller machines) นั่นเอง
9. เปลี่ยนชื่อจาก Citicrop เป็น Citibank เพราะกลัวคนสับสน
ในช่วงแรกเริ่ม Citibank มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า First National City Corporation หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Citicorp จนกระทั่งในปี 1976 จึงตัดสินใจใช้ชื่อว่า Citibank เพราะช่วยหลีกเลี่ยงความสับสนกับธนาคาร National City Corp ในรัฐ Ohio
10. 2007-2009 ช่วง Layoff ครั้งใหญ่
ในปี 2007 Citigrop บริษัทแม่ของ Citibank ประกาศเลิกจ้างพนักงานจำนวน 17,000 คนคิดเป็น 8% ของพนักงานทั้งหมด และในปีเดียวกันนั้นเอง บริษัทสูญเสียเงินหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากวิกฤตสินเชื่อซับไพร์มในสหรัฐฯ
ผู้เขียน: ขัตติยาภรณ์ ด้วงแก้ว, Political Analyst
ภาพประกอบ: บริษัท ก่อการดี จำกัด
════════════════
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
════════════════
โฆษณา