27 เม.ย. 2024 เวลา 02:00 • สุขภาพ

Air pollution ปัญหามลพิษทางอากาศส่งผลให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรทั่วโลกมากถึง 7 ล้านรายต่อปี

ปัญหาฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศในเมืองกลายเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรง ทั้งในมิติสุขภาพ เศรษฐกิจ และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจุบัน ปัญหามลพิษทางอากาศส่งผลให้มีรายงานการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรทั่วโลกมากถึง 7 ล้านรายต่อปี
ภายในปี ค.ศ. 2030 ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะต้องเผชิญกับการสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจจากมลพิษทางอากาศมากกว่า 2.3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี จากการป่วยและการขาดงาน ปัญหาฝุ่น PM2.5 เพียงอย่างเดียวทำให้เกิดปัญหาสุขภาพมากกว่า 1.32 ล้านรายในปี ค.ศ. 2023 โดยมากกว่าครึ่งเป็นปัญหาระบบทางเดินหายใจ อาทิ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นต้น ทั้งนี้ ยังไม่นับรวมความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง ปัญหาด้านพัฒนาการด้านการรู้คิด เป็นต้น
การออกแบบและจัดการเมืองจึงมีบทบาทสำคัญในการจัดการปัญหาระบบทางเดินหายใจและสาธารณสุข เช่น การพัฒนาระบบโครงสร้างการขนส่งในเมเดยิน ประเทศโคลอมเบีย การปรับปรุงเมืองที่ส่งเสริมในผู้คนเดินเท้ามากขึ้นในเมืองกูรีชีบา ประเทศบราซิล การเพิ่มพื้นที่สีเขียวแนวตั้งในประเทศสิงคโปร์ เป็นต้น
นัยยะสำคัญที่มีต่ออนาคต:
- พื้นที่ที่มีการบริหารจัดการเรื่องปัญหามลพิษทางอากาศได้ดีจะได้รับความนิยมในการอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ผู้คนมีการอพยพย้ายถิ่นฐานเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพของตน
- การทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นประเด็นที่ประชาชนอาจลดความสนใจลง เนื่องจากปัญหามลพิษทางอากาศทำให้กังวลปัญหาสุขภาพหากอาศัยอยู่นอกอาคารบ้านเรือน
อ้างอิงข้อมูลจาก: UNEP, UNESCAP, World Bank, Oxford Academic, National Institutes of Health
อยากรู้จักเรามากขึ้น คลิก www.futuretaleslab.com และ https://www.facebook.com/FutureTalesLABbyMQDC
#FutureTalesLAB #FuturePossible #WellBeingOdyssey #FuturesofHealthandWellness #MQDC
โฆษณา