28 เม.ย. เวลา 12:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ประชัน 2 รายใหญ่ กองทุนวายุภักษ์หนึ่ง vs ประกันสังคม ถือหุ้นแบงก์มากที่สุด มูลค่ารวม 1.4 แสนล้าน

หุ้นกลุ่มธนาคาร (BANK) จัดเป็นหุ้นยอดนิยมที่นักลงทุนบุคคล และนักลงทุนสถาบันต่างให้ความสนใจเข้ามาลงทุนเป็นอันดับต้น ๆ ในตลาดหุ้นไทย ซึ่งอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรม ธุรกิจการเงิน (FINCIAL) โดยในปัจจุบันกลุ่มธนาคารมีอยู่ 12 หลักทรัพย์ และเมื่อเข้าไปโฟกัสที่นักลงทุนสถาบันรายใหญ่ที่เข้ามาลงทุนหุ้นในกลุ่มธนาคารมากกว่า 1 หลักทรัพย์ มีอยู่ 2 รายใหญ่ คือ
กองทุนวายุภักษ์ 1 และสำนักงานประกันสังคม ที่ร่วมลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ 6 หลักทรัพย์ มูลค่ารวมกันกว่า 139,812.66 ล้านบาท (ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ 26 เม.ย.2567)
วีระวัฒน์ วิโรจน์โภคา ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. ฟินันเซีย ไซรัส เปิดเผยกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า พื้นฐานหุ้นกลุ่มแบงก์ ณ ปัจจุบันภาพรวมค่อนข้างแข็งแรงในแง่ของกำไรไตรมาส 1/67 ที่ออกมาจะเห็นว่า ไม่เป็นไปตามคาดก็จะผลงานออกมาดีกว่าคาด
“ผลบวกจากดอกเบี้่ยขาขึ้นในช่วงปีผ่านมา ที่ส่งมาเริ่มที่แผ่ว ๆ ลง สังเกตได้ว่า NIM ของแบงก์เริ่มย่อตัวลงมา สะท้อนให้เห็นว่า กำไรที่เติบโตในปีที่ผ่านมา อย่างก้าวกระโดด ปีนี้โดยภาพรวมกำไรอาจจะไม่ได้โตมากนัก แต่ก็ยังมีความแข็งแรงอยู่”
อย่างไรก็ตาม หากนักลงทุนจะเข้ามาลงทุนในหุ้นกลุ่มแบงก์ถือว่า Valuation ค่อนข้างถูก โดยในระยะกลางถึงยาว ยังถือว่า เข้าไปลงทุนได้ โดยมอง หุ้น TTB เป็นหุ้นท็อปพิก ยังมีเครดิตภาษีที่ยังสามารถใช้ได้ และยังต่ำ และจะทำให้กำไรค่อนข้างแน่นอนที่สุด รองลงมาเป็นหุ้น KTB ที่การลงทุนของภาครัฐในระยะถัดไปจะฟื้น และความเสี่ยงของ ITD ที่ถือว่า เป็นแบงก์เดียวที่ตั้งสำรองได้ครบ 100% ไปแล้ว ส่วน SCB จะเป็นในแง่ของเงินปันผลที่จะสามารถจ่ายได้ในระดับค่อนข้างสูงต่อเนื่อง
ณัฐพล คำถาเครือ ผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์การลงทุน บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า กลุ่มแบงก์ถือว่ามีการล้อไปกับวัฎจักรของเศรษฐกิจ เพราะว่าเป็นหุ้นกลุ่มที่มีฐานะความมั่นคงทางการเงิน มีกระแสเงินสด และมีปันผลสูง
1
โดยภาพรวมของกลุ่มแบงก์ถือว่า ดูดีขึ้นจากเศรษฐกิจที่มีการขยายตัว เห็นได้ว่า ไตรมาส 1/67 ผลงานออกมาค่อนข้างดี หลังจากที่มีการตั้งสำรองที่ลดลง นั่นแปลว่า การตั้งสำรองกับลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงสูงนั่นได้จบไปแล้ว คาดว่าหลังจากนี้หากสินเชื่อมีการขยายตัวได้ก็จะเข้าไปช่วยเสริมให้ผลประกอบการดีขึ้นได้
ขณะที่ NIM ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้่ยยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง เพราะ ธปท.ยังไม่ได้มีการส่งสัญญาณกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย
“เรามองว่า เศรษฐกิจจะขยายตัวในครั้งปีหลัง ช่วงจังหวะเวลานี้ น่าจะเป็นจังหวะที่เข้าไปลงทุน แต่ว่า ระยะสั้น กลุ่มแบงก์ราคาอาจจะไม่ได้ไปไหนไกลมาก เพราะว่า มีการประกาศผลประกอบการไปแล้ว และจ่ายปันผลไปแล้ว หากจะเข้าไปเก็งกำไรกัน ควรเป็นช่วง Earning Season หรือ ฤดูประกาศผลประกอบการ เพราะหุ้นกลุ่มแบงก์มีการเคลื่อนไหวแบบทรงตัว ไม่ได้มีความหวือหวาในช่วงนี้”
อ่านต่อ:
กราฟิก: กษิดิศ สิงห์กวาง
โฆษณา