29 เม.ย. เวลา 01:00 • การศึกษา

บทความวิตามิน D แปดโมงเช้า - เศษฐศาสตร์เชิงสถาบัน

Institutional Economics เศษฐศาสตร์เชิงสถาบัน คือ การศึกษาแนวคิดทางเศษฐศาสตร์โดยให้ความสำคัญกับ “สถาบัน” มากกว่ามุ่งเน้นการทำความเข้าใจ “คน” เพียงอย่างเดียวของเศษฐศาสตร์คลาสสิก ซึ่งความเป็นเศษฐศาสตร์เชิงสถาบันเกิดมาเพื่ออุดช่องว่างของการให้ความหมายและการวิเคราะห์เศษฐกิจของเศษฐศาสตร์คลาสสิกที่มองไปที่คนเพียงอย่างเดียว ซึ่งการวิเคาระห์และให้ความสำคัญกับคนเพียงอย่างเดียวไม่สามารถอธิบายทุกอย่างอย่างมีเหตุผลได้
เศษฐศาสตร์เชิงสถาบัน มุ่งเน้นการศึกษาเชิงสถาบัน ลนใจเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างของเรื่องที่ต้องการศึกษา คือ ไล่ตั้งแต่หัวข้อที่ศึกษา ประวัติศาสตร์ของเรื่องนั้นๆรวมถึงประวัติศาสตร์ของสิ่งต่างๆที่แวดล้อมหัวข้อที่ต้องการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นประเพณี วัตณธรรม ความคิด ความรู้สึก เหตุผลของการตัดสินใจ แรงกดดันต่างๆที่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่แสดงออกมาในระบบเศษฐกิจ ฯลฯ
เพราะทุกคนหรือทุกเหตุการณ์แม้ว่าว่าจะมีตัวแสดงเป็นตัวเดียวกัน หรือตัวแสดงต่างกัน ก็ล้วนจะแสดงพฤติกรรมไม่เหมือนกัน มีปัจจัยอื่นๆอีกมากที่ส่งผลต่อความคิด การตัดสินใจและพฤติกรรมที่แสดงออกมาการศึกษาเรื่องต่างๆให้ลึกลงไปในแต่ละบุคคล เหตุการณ์ เรื่องราวจึงสำคัญต่อการอธิบาย การคาดการณ์ และการวางแผนทำสิ่งต่างๆอย่างมากซึ่งสามารถอธิบายความสนใจคร่าวๆได้ ดังนี้
สนใจเรื่องของสถาบัน เช่น รัฐบาล นโยบาล องค์กรต่างๆที่แวดล้อมระบบเศษฐกิจที่ศึกษานั้นๆ
สนใจเรื่องโครงสร้างที่มองไม่เห็นในแต่ละสังคม แต่ละระบบเศษฐกิจ เช่น โครงสร้างเชิงอำนาจ
สนใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ประเพณี วัตนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ แต่ละระบบเศษฐกิจ
สนใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการของสถาบันหรือระบบเศษฐกิจนั้นๆ
สนใจเรื่องทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ “การเลือก” การตัดสินใจที่เป็นการทำแทนคนส่วนใหญ่ในสังคมที่ทำโดยกลุ่มคน กลุ่มเล็กๆ
การไม่เชื่อในความสมบูรณ์แบบ ความสมบูรณ์แบบในที่นี้ คือ คสามสมบูรณ์แบบของสูตรหรือการวิเคราะห์ที่เหมารวมว่าสิ่งเดียวกันจะแสดงออก คิด กระทำแบบเดียวกันเสมอ
ศึกษาผลกระทบของ “ทางเลือกสาธารณะ” การตัดสินใจในส่วนรวม หรือการติดสินใจแทนคนส่วนใหญ่ในสังคม เช่น การออกนโยบาย ฯลฯ ว่ามีผลกระทบต่างสิ่งรอบๆมากน้อยแค่ไหน ใครได้ประโยชน์เสียประโยชน์ การติดสินใจเหล่านั้นเป็นความต้องการของคนส่วนใหญ่ในสังคมรึเปล่า ฯลฯ รวมไปถึงเรื่องอื่นๆ เช่น ความคิดต่อการตัดสินใจเหล่านั้น การเปลี่ยนแปลงเชิงเศษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประเพณี เป็นต้น
การมองภาพรวมในทุกๆอย่างมองทุกส่วน ไม่ได้มองคนอย่างในอย่างหนึ่งที่ดูสำคัญมากกว่าส่วนอื่นๆ แล้วทำเจาะลึกไปทุกๆส่วนและทุกๆตัวแสดง และเรื่องอื่นๆ เช่น สภาพความคิด การเมืองในและต่างประเทศ เป็นต้น
อ่านดีกว่าไม่อ่าน? - สุวิจักร บิ๊ก
โฆษณา