1 พ.ค. เวลา 05:44 • สุขภาพ

ยิ่งดื่มมาก สมองสีเทายิ่งลดลงเท่านั้น !!

การศึกษาใหม่โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดค้นพบว่า นอกจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับที่มากจะมีผลต่อสมองแล้ว การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลางก็มีความเชื่อมโยงกับการลดลงของเนื้อสมองสีเทา หรือทางการแพทย์เรียกว่า Grey Matter เป็นเนื้อสมองหรือเนื้อเยื่อเซลล์ประสาทที่ใช้ในการรับสัมผัสต่างๆ เช่น การมองเห็น การได้ยิน การรับรู้อารมณ์ การควบคุมตนเอง รวมทั้งการเรียนรู้ข้อมูลใหม่ๆ เป็นต้น
การศึกษานี้ได้ใช้ระบบ Bio bank ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลและแหล่งข้อมูลการวิจัยทางชีวการแพทย์ขนาดใหญ่ ที่มีข้อมูลทางพันธุกรรมและข้อมูลด้านสุขภาพในเชิงลึก จากประชาชนในสหราชอาณาจักรมากกว่าห้าแสนคน ระบบนี้ได้ออกแบบมาเพื่อช่วยนักวิจัยในการถอดรหัสปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดโรคในกลุ่มคนบางคน
แต่ในขณะที่ไม่เกิดโรคในกลุ่มคนอีกกลุ่ม นักวิจัยในการศึกษานี้ได้วิเคราะห์ข้อมูลจากผู้เข้าร่วมกว่า 25,378 คน ซึ่งผู้เข้าร่วมกว่า 11,854 คนเป็นผู้หญิง และร้อยละ 60 ของผู้เข้าร่วมมีอายุมากกว่า 50 ปีเช่น อายุ เพศ การบริโภคแอลกอฮอล์ ขนาดของสมองและสุขภาพจากการสแกน MRI ข้อมูลเกี่ยวกับการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และการทดสอบความจำ
ในขณะที่การการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลางเป็นเรื่องปกติและมักถูกมองว่าไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของสมอง แต่ผลของการศึกษาดังกล่าวกลับแสดงให้เห็นว่า
การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอออล์ในระดับปานกลางมีความเกี่ยวข้องกับผลเสียต่อสมองอย่างกว้างขวางมากกว่าที่เคยรับรู้มาก่อนหน้านี้
ซึ่งนักวิจัยพบว่า การบริโภคแอลกอฮอล์ในปริมาณที่สูงขึ้นต่อสัปดาห์มีความเชื่อมโยงต่อการลดลงของเนื้อสมองสีเทากว่า 0.8% ตัวเลขที่ออกมาอาจดูเหมือนเป็นเพียงตัวเลขเพียงเล็กน้อย แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าตัวเลขดังกล่าวสามารถก่อผลร้ายที่มากกว่าปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ตัวอย่างเช่น การสูบบุหรี่
นอกจากนี้ยังเห็นความสัมพันธ์เชิงลบในวงกว้างระหว่างการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และความสมบูรณ์ของเนื้อสีขาวและเส้นใยในสมองบริเวณเซลล์ประสาทหลายพันล้านเซลล์ที่ประกอบเป็นเนื้อสมองสีเทา นอกจากนี้สภาพร่างกายพื้นฐานของแต่ละบุคคล เช่น ความดันโลหิตสูง หรือค่าดัชนีมวลกายสูง ก็สามารถส่งผลทำให้ความสัมพันธ์เชิงลบระหว่างแอลกอฮอล์และสุขภาพสมองเพิ่มมากยิ่งขึ้นได้เหมือนกัน
ซึ่งผลที่ออกมานั้นตรงกันข้ามกับการศึกษาก่อนหน้านี้ที่ชี้ให้เห็นว่า การดื่มไวน์ในปริมาณที่พอเหมาะนั้นมีประโยชน์เมื่อเทียบกับเบียร์หรือเหล้า เพราะไม่ว่าเครื่องดื่มแอลกออออล์ประเภทไหนก็สามารถสร้างผลกระทบได้ไม่ต่างกัน และก่อระดับความเสี่ยงต่อสมองได้มากเท่ากัน
Colin Angus นักวิจัยอาวุโสจากกลุ่มวิจัยแอลกอฮอล์ของ Sheffield ที่มหาวิทยาลัย Sheffield กล่าวว่า “จากศึกษานี้ ผลกระทบต่อสมองดูเหมือนเล็กน้อย และแม้ว่าจะยากที่จะเปรียบเทียบกับผลกระทบของแอลกอฮอล์ที่มีต่อผลลัพธ์ด้านอื่นๆ ของสุขภาพ เช่น ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคมะเร็ง แต่ผลลัพธ์ที่จับต้องได้ของการศึกษานี้ คือ ภาวะสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์”
โฆษณา