2 พ.ค. เวลา 02:29 • ประวัติศาสตร์

วัดปริวาสราชสงคราม

ประวัติความเป็นมา
วัดปริวาสราชสงคราม แต่เดิมนั้นอยู่ในการปกครองของตำบลบางโพงพาง อำเภอบ้านทวาย
จังหวัดพระนคร เขื่อนขันธ์ เก่าก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นในเขตการปกครองปัจจุบัน แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร
วัดปริวาสราชสงครามจากคำบอกเล่าของผู้ที่อาศัยอยู่ที่ตำบลบางโพงพาง ให้ข้อมูลของวัดว่า
วัดปริวาส เดิมนั้นเป็นเพียงสำนักสงฆ์หรือวัดเล็กๆ อยู่กลางสวน สันนิษฐานว่าถูกสร้างราวปลายกรุงศรีอยุธยาถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ไม่ทราบนามผู้สร้าง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2-3 ได้มีหลักฐานจากวัดข้างเคียงว่า พระยาเพชรพิชัย (เกษ)
และพระยาราชสงคราม(ทัต)
ร่วมกันเป็นแม่กองงานได้รับมอบหมาย ในการสร้างพระนครเขื่อนขันธ์(พระประแดง)และวัดที่เป็นที่รู้จักได้รับพระราชทานามว่า "วัดไพชยนต์พลเสพย์"
(วังหน้า) เมื่อท่านทั้งสอง
ร่วมกันสร้าง วัดไพชยนต์พลเสพย์ และ
วัดโปรดเกศเชษฐาราม ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเสร็จแล้วเห็นว่ามีวัดอีกวัดหนึ่งที่อยู่ฝั่งตรงกันข้ามกับ
วัดโปรดเกศเชษฐารามอยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก จึงได้นำวัสดุที่เหลือมาทำการบูรณะใหม่จนสวยงามแล้วตั้งชื่อว่า “วัดปริวาสราชสงคราม”
ตามบรรดาศักดิ์ของท่านลงท้ายชื่อวัดนี้ด้วย จากบันทึกถ้อยคำบอกเล่าของปู่เสงี่ยม เถื่อนอิ่ม
ที่มีอายุ 91 ปี (พ.ศ. 2548) โดยเล่าว่าตนเองเคยบวชที่วัดปริวาสนี้เมื่อ พ.ศ. 2478 เล่าว่า สมัยก่อนคนมาเที่ยวงานประจำปีจะมีแต่เรื่องทะเลาะวิวาทเป็นประจำ
หลวงพ่อวงษ์ จึงตัดชื่อท้าย "ราชสงคราม"
ออกเสียคงไว้แต่ชื่อ "วัดปริวาส"
สถานะและที่ตั้ง
วัดปริวาสฯนั้น ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
ทางฝั่งพระนคร
 
ทิศเหนือ จรดถนนพระรามที่ 3
ทิศใต้ จรดแม่น้ำเจ้าพระยา
ทิศตะวันออก จรดที่ดินเอกชน คือ
จตุจักรพระราม 3
ทิศตะวันตก จรดคลองปริวาส
 
ที่ดินทางด้านทิศตะวันออกแบ่งเป็น
เขตกรรมสิทธิ์โรงเรียนวัดปริวาส
ด้วยเนื้อที่จำนวน 2 ไร่ 59 ตารางวา
ดังนั้นด้านทิศตะวันออกจึงติดโรงเรียน วัดปริวาส สังกัดกรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2548)
มีพื้นที่ทั้งสิ้น 11 ไร่ 3 งาน 75 ตารางวา
และมีที่ธรณีสงฆ์อีก 2 แปลง แปลงหนึ่งมีพื้นที่ 5 ไร่ 75 ตารางวา ส่วนอีกแปลงหนึ่งมีพื้นที่ 2 ไร่ 2งาน
สิ่งสำคัญภายในวัด
- อุโบสถ วิหาร และวิหารคด หลังใหม่ ที่ตั้งวัดเป็นที่ติดริมน้ำอุโบสถ วิหาร เดิมทรุดโทรมจากการทรุดตัวของดิน ในปี พ.ศ. 2551 เจ้าอาวาสวัดปริวาสจึงได้สร้างอุโบสถหลังใหม่ พร้อมทั้งวิหาร และวิหารคด บริเวณพื้นที่ด้านในไม่ติดริมน้ำ ทั้งวิหารและอุโบสถหลังใหม่มีความแปลกตาในเชิงสถาปัตยกรรม
ที่ฉีกจากแนวดั้งเดิมเป็นอย่างมาก โดยบริเวณภายนอกของวิหารบริเวณคันทวยมีรูปปั้นนักรบโบราณหลายเชื้อชาติ และเทวดาชาติต่างๆ สื่อถึงการปกป้องสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และแสดงให้เห็น
ว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่ทั่วโลกรู้จัก โดยรูปปั้นของเดวิด เบ็คแฮม เป็นดินปั้นขนาด 24 นิ้ว ปิดทองตั้งอยู่บนฐานพระ คู่กับ รูปปั้นเทวดา สื่อความหมายว่า คนไม่ว่า เชื้อชาติ ศาสนาใดก็แล้วแต่ สามารถจะนับถือและอุ้มชูศาสนาพุทธได้ ส่วนภายในผนังด้านในประดับประดาเครื่องเบญจรงค์ หินสีและอัญมณีต่างๆ ทำเป็นจิตรกรรมฝาผนังซึ่งไม่มีลายซ้ำกันเลย แบบเดียวกับจิตกรรมโมเสกของเมืองนอกซึ่งหาดูได้ยาก และเป็นศิลปะร่วมสมัยแบบผสมผสาน
พระประธาน ”พระพุทธสุโขทัย” อายุกว่า 700 ปี มีลักษณะใบหน้าอิ่มและงดงามมากแบบเดียวกับที่วัดไตรมิตร ส่วนยอดช่อฟ้าของอุโบสถหลังนี้เป็นรูปดอกบัวบาน สร้างด้วยทองคำหนักกว่าหนึ่งกิโลกรัม ทั้งวิหารและอุโบสถหลังใหม่ว่ากันว่าใช้งบประมาณในการก่อสร้างรวมกว่า 250 ล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้างถึง 20 ปี ปัจจุบันก็ยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง นอกจากนั้นยังมีประตูโบสถ์ที่ตีด้วยเงินขนาดใหญ่มีน้ำหนักกว่า 80 กิโลกรัม
อุโบสถและวิหารหลังใหม่ มณฑปหลวงพ่อวงษ์
ลานบุญ –แสวงธรรม โบสถ์น้อย ซึ่งจัดเป็นลานบุญสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกท่าน โดยที่โบสถ์น้อยนี้ ยังมีรอยพระบาทจำลองที่สร้างขึ้นเมื่อปี 2465 และลูกนิมิตที่ทำขึ้นสมัยหลวงพ่อวงษ์ให้ปิดทองสักการะเชิญชวนมาไหว้พระ ทำบุญ อ่านหนังสือธรรมะ เสี่ยงเซียมซี หลวงพ่อเสี่ยงทาย ได้ที่โบสถ์น้อย
- ภายในศาลาเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา บริเวณฐานองค์พระปรากฏประติมากรรมแปลกประหลาดคือ บางส่วนเป็นรูปนักฟุตบอลชื่อดังอย่างเดวิด เบ็คแฮม อดีตนักเตะทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด นอกจากนั้นยังมีรูปปั้นนายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี รวมถึงเทพเจ้าจีนและชาติต่างๆ ปะปนกลมกลืนอยู่ใต้ฐานพระ กลายเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวทั่วไป และเคยปรากฏอยู่ในโฆษณาอีกด้วย
พระครูพิศาลพัฒนพิธาน (สมชาย ฉันทสโร) เจ้าอาวาสวัดปริวาสราชสงคราม กล่าวถึงรูปปั้นเดวิด เบ็คแฮมอุ้มฐานพระพุทธรูป ภายในศาลาเฉลิมพระเกียรติว่า ปั้นขึ้นในปี ค.ศ. 1999 เป็นปีที่เดวิด เบ็คแฮม ประสบความสำเร็จมาก ช่างปั้นซึ่งชื่นชมในตัวเดวิด เบ็คแฮม
เกิดความคิดที่จะทำ ศิลปะฟ้องยุค หรือ ศิลปะร่วมสมัย คือ ให้รูปปั้นเป็นสัญลักษณ์บันทึกเหตุการณ์ของยุคสมัยนั้นทางวัดปริวาสได้ให้อิสระกับช่างที่มาตกแต่งวัด ซึ่งน่าจะมีความคิดที่จะทำเป็นศิลปะร่วมสมัยให้เป็นปริศนาธรรมภายในศาลายังมีจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงาม
- วังปลาเฉลิมพระเกียรติ วังปลาเฉลิมพระเกียรติแห่งที่ ๙ ให้อาหารปลา นั่งพักผ่อน อ่านหนังสือ ทีมาของวังปลาแห่งนี้ เมื่อ 3 ปีก่อน มีปลาว่ายมารวมกันอยู่ที่บริเวณนี้เอง แรกๆเป็นปลาตัวเล็กๆ ทางวัดก็เอาข้าวก้นบาตรมาให้เป็นอาหาร ต่อมามีปลามามากขึ้นๆ จึงซื้ออาหารมาเลี้ยง โดยไม่เคยปักเขตกั้นปลา แต่ปลาก็ไม่ว่ายไปที่อื่น ต่อมาวัดก็เสนอทางเขต
จนได้เป็นวังปลาเฉลิมพระเกียรติแห่งที่ 9 โดยสามารถทำบุญให้อาหารปลาได้ ทางวัดเตรียมอาหารไว้จำหน่าย บรรยากาศร่มรื่นเย็นสบาย ได้ทำบุญและพักผ่อนไปในตัว ก่อนกลับอย่าลืมแวะไหว้ขอพรจากพระพิฆเนศ ที่ตั้งอยู่ใกล้วังปลาด้วย จะได้เป็น
สิริมงคลแก่ตัวเอง
เครดิตข้อมูล
อ้างอิงจาก
ผิงดาว. สัมผัสธรรม. อ้างอิงจาก http://www.truelife.com/old/detail/
สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2559
Watthai. วัดเศวตฉัตรราชวรมหาวิหาร.
สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2559
อ้างอิงจาก http://www.zthailand.com/place/wat-pariwas-temple-bangkok/ สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2559
โฆษณา