2 พ.ค. เวลา 12:53 • ธุรกิจ

วิถี Satya Nadella เด็กหนุ่มอินเดีย คอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่กรุงเทพฯ สู่ซีอีโอร่างทองแห่ง Microsoft

ว่ากันด้วยซีอีโอบริษัทระดับโลกที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดแห่งยุคนี้ เชื่อว่าต้องมีชื่อของ Satya Nadella (สัตยา นาเดลลา) เป็นหนึ่งในนั้นแน่นอน
ผู้ที่ฉุด Microsoft หลุดพ้นจากศตวรรษที่ยากลำบากให้กลับขึ้นสู่จุดสูงสุดอีกครั้ง ประสบความสำเร็จทั้งในเหลี่ยมของโมเดลทางธุรกิจ การสร้างวัฒนธรรมองค์กร รวมทั้งราคาหุ้น MSFT ที่สูงขึ้นเกือบ 10 เท่าตลอดระยะ 10 ปีที่เข้ามารับตำแหน่งผู้นำของ Microsoft
เด็กหนุ่มชาวอินเดียที่หลงใหลในคอมพิวเตอร์
จุดเริ่มต้นของ Satya Nadella เกิดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1967 ที่เมืองไฮเดอราบัด ประเทศอินเดีย เติบโตมาในครอบครัวชนชั้นกลางที่ให้คุณค่ากับการศึกษา โดยมีพ่อเป็นข้าราชการด้านเศรษฐศาสตร์ และแม่เป็นอาจารย์สอนภาษาสันสกฤตโบราณ
1
ช่วงวัยเด็กเขามีความชัดเจนว่าชื่นชอบเกี่ยวกับการประดิษฐ์ และต้องการสร้างสิ่งใหม่ ๆ จึงเริ่มมีความสนใจในคอมพิวเตอร์
เกร็ดน่ารู้ คือคอมพิวเตอร์เครื่องแรกในชีวิตของ Satya Nadella เกิดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในปี 1981 เนื่องจากพ่อของเขาเดินทางมาทำงานที่ประเทศไทย และได้ซื้อชุดคอมพิวเตอร์ Sinclair ZX Spectrum มาจากสิงคโปร์
3
ซึ่งนั่นได้จุดประกายความหลงใหลในคอมพิวเตอร์ เขาค้นพบว่าเราสามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ มากมาย ด้วยรหัสเพียงไม่กี่บรรทัด! จึงได้ตัดสินเข้าเรียนปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าจาก Manipal Institute of Technology (MIT) ในอินเดีย และเรียนต่อปริญญาโท สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ University of Wisconsin-Milwaukee ที่สหรัฐอเมริกา
เส้นทางสายอาชีพเทคโนโลยีของ Satya Nadella
หลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ปี 1990 Satya Nadella เข้าสู่สายงานเทคโนโลยีครั้งแรก กับ Sun Microsystems บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ใน Silicon Valley
ก่อนที่ในปี 1992 จะย้ายเข้ามาทำงานกับ Microsoft โดยรับตำแหน่งนักพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในยุคการบริหารของ Bill Gates (บิล เกตส์)
Satya Nadella ค่อย ๆ เติบโตในองค์กร กระทั่งปี 2001 จึงขยับขึ้นมาทำงานบริหารในฝ่าย Business Solution ซึ่งต้องดูแลเทคโนโลยีให้กับภาคธุรกิจ เช่น การสร้างระบบ CRM ที่ใช้ฐานข้อมูลบน Cloud
1
ปี 2007 เขาก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งรองประธานอาวุโสของ Microsoft Online Services ที่ดูแลการพัฒนาและการให้บริการออนไลน์ เช่น Bing, Microsoft Office Online, Xbox Live เป็นต้น
1
ปี 2011 ดำรงตำแหน่งประธานแผนก Server and Tools ดูแลธุรกิจศูนย์ข้อมูลซึ่งเป็นธุรกิจหลักที่ทำเงินให้กับ Microsoft ในเวลานั้นทั้ง Windows Server, ระบบฐานข้อมูล SQL Server รวมถึง Cloud Platform อย่าง Microsoft Azure ที่เพิ่งเปิดตัว
1
จุดสูงสุดในชีวิตการทำงานกับ Microsoft ของ Satya Nadella มาถึงเมื่อปี 2014 ด้วยการขึ้นมานั่งตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) คนที่ 3 ต่อจาก Bill Gates และ Steve Ballmer ซึ่งมีภารกิจสำคัญคือการพาบริษัทเทคโนโลยีที่กำลังตกขบวน พลิกกลับมาเป็นผู้ชนะอีกครั้ง
ซีอีโอผู้รีเฟรช Microsoft ให้ยิ่งใหญ่ยิ่งกว่าเคย
Bill Gates พูดว่าในช่วงการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญของ Microsoft คงไม่มีใครเหมาะสมที่จะเป็นผู้นำบริษัทมากไปกว่า Satya แล้ว เขามีทักษะด้านวิศวกรรมเต็มร้อย มีมุมมองด้านธุรกิจ สามารถรวมใจพนักงานได้ และที่สำคัญคือการมีวิสัยทัศน์ต่อเทคโนโลยีในโลกอนาคต
2
Steve Ballmer เองก็ยืนยันจากการร่วมงานกับ Satya มานานกว่า 20 ปี และคิดว่าเขานั้นเหมาะสมที่จะเป็นผู้นำของบริษัทแล้วในห้วงเวลานี้
1
วันแรกที่ Satya Nadella คุมบังเหียน (4 กุมภาพันธ์ 2014) หุ้น Microsoft (MSFT) มีมูลค่า $36.35 เหรียญต่อหุ้น Market Cap. อยู่ที่ประมาณ $3 แสนล้านเท่านั้น
2
จากวันนั้นถึงวันนี้ 10 ปีเต็ม มูลค่า Microsoft ขึ้นไปแตะระดับ $3 ล้านล้านได้สำเร็จ และพลิกกลับมาเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกได้อีกครั้ง สามารถเป็นคู่ต่อสู้ที่สูสีกับ Apple Google และ Amazon
1
คำถามคือเขาทำได้อย่างไร? เพราะหากย้อนมองในช่วงกลางทศวรรษ 2000 ภาพจำของ Microsoft คือเสือหลับในยุคสมาร์ทโฟน โดยเจอความท้าทายทางธุรกิจรอบด้าน อาทิ
- ธุรกิจเสิร์ชเอนจิน Bing ที่แพ้ให้กับ Google ราบคาบ
- ธุรกิจสมาร์ทโฟน ที่บริษัทไปซื้อกิจการ Nokia มาใส่ระบบปฏิบัติการ Windows ก็ไม่ประสบความสำเร็จเหมือนคู่แข่งอย่าง Apple ที่มี iPhone และ iOS รวมถึง Google ที่มี Android
- ธุรกิจคลาวด์ Azure ก็เจอคู่แข่งที่แข็งแกร่งอย่าง Amazon AWS
- ธุรกิจโซเชียลมีเดีย MSN หรือ Spaces นั้นโดนตีตลาดกระจุยจาก Facebook และ WhatsApp
1
พูดตามตรงเป็นยุคที่ Microsoft มือตกจริง ๆ แม้แต่ระบบปฏิบัติการ Windows 8 ก็ไม่สามารถชนะใจผู้ใช้งานได้เหมือนเดิม
1
ทว่าสิ่งแรก ๆ ที่ Satya Nadella เข้ามาจัดการ ก็คือการเปลี่ยน Vision ของ Microsoft จาก “a computer on every desk and in every home.” มาเป็น “empower every person and every organization on the planet to achieve more.”
3
เพื่อต้องการบอกให้ทุกคนเลิกยึดติดกับความสำเร็จเดิม ๆ และเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งเขาคิดถูก และนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่จริง ๆ
จากนั้นเขาจึงเริ่มพลิกธุรกิจในแง่มุมต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่เปิดตัว Windows 10 ที่เอื้อต่อการใช้งานทั้งบนคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน
1
หันมาให้ความสำคัญกับธุรกิจคลาวด์ Azure เป็นแกนหลัก และกระโดดเข้าสู่โมเดลลสมัครสมาชิก (Subscription) ของ Window และ Office 365
1
พร้อมกันนี้ก็ได้ขายธุรกิจมือถือของ Nokia ออกไป และเข้าซื้อกิจการที่มีอนาคตอย่าง LinkedIn, GitHub, Activision Blizzard และล่าสุดกับการลงทุนใน ChatGPT ของ Open AI
นอกจากนั้น Microsoft ยังพยายามขยายธุรกิจแบบข้ามแพลตฟอร์ม ด้วยการร่วมมือกับบริษัทต่าง ๆ เช่น Salesforce, IBM, Dropbox และหนึ่งในจุดเปลี่ยนสำคัญก็คือการเปลี่ยนศัตรูเป็นมิตร โดยการนำผลิตภัณฑ์และบริการของตนเองไปเปิดตัวบน iPhone และ Android ถือเป็นการก้าวข้ามขีดจำกัดเดิมแบบที่ไม่เคยทำมาก่อน
1
ผลประกอบการและโครงสร้างรายได้ของ Microsoft
ผลประกอบการและโครงสร้างรายได้ของ Microsoft Source: App Economy Insights as of 26/04/2024
จะเห็นว่าปัจจุบัน รายได้ส่วนใหญ่ของ Microsoft มาจากธุรกิจคลาวด์ Azure ซึ่งแซงหน้า Office และ Window ไปแล้ว
กองทุนที่ลงทุนในหุ้น Microsoft
สุดท้ายนี้ ถ้าอยากซื้อกองทุนที่มีหุ้น Microsoft ในสัดส่วนเยอะ ๆ มีกองทุนไหนให้เลือกบ้าง เอาเป็นว่าเรารวบรวมมาฝากด้วยกัน 5 กองทุนเน้น ๆ ดังนี้
ES-USTECH
1
สัดส่วนลงทุนใน MSFT ประมาณ 23.44%
นโยบายการลงทุน: ลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่จากดัชนี S&P 500 ของสหรัฐฯ
TUSTECH-A TUSTECH-SSF
สัดส่วนลงทุนใน MSFT ประมาณ 22.93%
นโยบายการลงทุน: ลงทุนในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ
MEGA10-A MEGA10-SSF MEGA10RMF
สัดส่วนลงทุนใน MSFT ประมาณ 9.31%
นโยบายการลงทุน: เน้นลงทุนในหุ้นที่ทรงอิทธิพลที่สุด 10 อันดับแรกในตลาดหุ้นสหรัฐฯ
B-USALPHA
สัดส่วนลงทุนใน MSFT ประมาณ 9.15%
นโยบายการลงทุน: เน้นลงทุนแบบ Growth Style ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ
KFGTECH-A KFGTECHRMF
สัดส่วนลงทุนใน MSFT ประมาณ 8.30%
นโยบายการลงทุน: เน้นลงทุนในหุ้นที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการพัฒนาหรือใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม SSF และ RMF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขกองทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต |
กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย |
1
ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
โฆษณา