3 พ.ค. เวลา 01:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

โอกาสเท่าเทียม เพื่อทุกชีวิตที่เท่ากัน

การปรับเปลี่ยนจากยุคแอนะล็อกเป็นดิจิทัลอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ผู้คนเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านการติดต่อสื่อสาร การเข้าถึงข้อมูล การเรียนรู้ การประกอบอาชีพ และการทำธุรกรรมทางการเงิน แต่มีสถิติที่น่าสนใจจาก สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล พบว่าปัจจุบันมีกลุ่มคนเปราะบางมากถึง 1 ใน 4 ของประชากรไทย ที่ต้องเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล (digital divide)
เนื่องด้วยข้อจำกัดทางกายภาพและการเรียนรู้ ที่ทำให้ต้องปรับตัว เพื่อให้เข้าถึงสื่อและระบบบริการได้อย่างเท่าเทียม ซึ่งส่งผลให้คนกลุ่มนี้ขาดโอกาสในการเข้าถึงข่าวสารที่มีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิต และเกิดความเหลื่อมล้ำในการนำความรู้มาพัฒนาศักยภาพ เพื่อการดำรงชีพในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลในปัจจุบัน
มีข้อมูลทางสถิติที่น่าสนใจจาก กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่าปัจจุบันมีจำนวน “ผู้พิการ” ในประเทศไทยอยู่ 2,183,982 คน และมีแนวโน้มสูงขึ้นในทุกปี
ซึ่งกลุ่มผู้พิการเป็นบุคคลที่ได้รับความสำคัญตามกฎหมาย ย่อมได้รับสิทธิเท่าเทียมในการดำรงชีวิต และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งบริการต่างๆ ดังนั้น เมื่อการพัฒนาเทคโนโลยีมีความก้าวหน้า การยกระดับสิทธิความเท่าเทียมทางสังคมก็ย่อมต้องได้รับการยกระดับและส่งต่อสู่กลุ่มผู้พิการด้วยเช่นกัน
กสทช. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลการให้บริการโทรคมนาคมของประเทศ มีนโยบายเรื่องนี้อย่างชัดเจน จึงทำงานร่วมกับ Mobile Operator ต่อยอดแพ็กเกจเสริมเพื่อผู้พิการทุกกลุ่ม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการโทรคมนาคม รวมถึงคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มผู้พิการซึ่งต้องใช้โทรศัพท์มือถือ และเทคโนโลยีในการดำเนินชีวิตเหมือนบุคคลทั่วไป เพราะปัจจุบันโทรศัพท์มือถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือพื้นฐานในการดำรงชีวิตของคนทุกกลุ่มให้สามารถสื่อสาร เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และต่อยอดการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย
ซึ่งที่ผ่านมา Operator อย่าง AIS ในฐานะ Digital Life Service Provider ที่มีเป้าหมายในการนำศักยภาพจากเทคโนโลยี digital มาสร้างประโยชน์ให้แก่คนไทยทุกคน เพื่อช่วยลดข้อจำกัด สร้างความเท่าเทียม และเข้าถึงโอกาสที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือ Digital Inclusion ก็ให้ความสำคัญเกี่ยวกับบริการเพื่อกลุ่มผู้พิการ หรือ กลุ่มเปราะบางอย่างเต็มที่อยู่แล้ว ในทุกๆมิติ
เริ่มตั้งแต่การออกแบบแพ็คเกจโปรโมชั่นเพื่อผู้พิการ ที่มีทั้งส่วนที่สอดคล้องกับนโยบายของ กสทช. และแพ็คเกจของการให้บริการที่วิเคราะห์จากพฤติกรรมของลูกค้า ซึ่งก็มีหลากหลายให้เลือกได้ ทั้งแบบเติมเงินและรายเดือน
ส่วนต่อมา คือ การพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ทั้งเครือข่ายที่ต้องทั่วถึงและเสถียร รวมไปถึงการดูแลผ่าน customer touch point ทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Call Center ที่ถูกออกแบบมาอย่างละเอียด คำนึงถึงทุกๆ Journey เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้พิการ เช่น การมีพนักงานที่ใช้ภาษามือในการสื่อสารพร้อม สิทธิพิเศษต่างๆ เฉกเช่นผู้ใช้บริการทั่วไป ซึ่ง AIS ยังทำงานเพิ่มเติมตลอดเวลา ในการใช้เทคโนโลยีปัจจุบัน อย่าง AI, ML เข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่ออำนวยความสะดวก อย่างต่อเนื่อง
ท้ายที่สุด คือ การสร้างอาชีพให้แก่ผู้พิการทุกกลุ่ม เพราะทุกท่านล้วนมีศักยภาพ มีความสามารถ และมีทักษะการทำงาน ไม่ต่างจากคนปกติ ซึ่ง AIS ได้จัดสรรเครื่องมือที่จะเป็นตัวช่วยให้ผู้พิการแต่ละกลุ่ม มีโอกาสประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งหมดคือ โอกาส ที่เท่าเทียม ซึ่งมาจากเทคโนโลยี Digital อันจะช่วยให้ทุกชีวิตในสังคมมีโอกาสที่เท่ากันนั่นเอง
โฆษณา