Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วินทร์ เลียววาริณ
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
4 พ.ค. 2024 เวลา 00:00 • การเมือง
บทความ Blockdit ตอน ลีกวนยูสร้างชาติอย่างไร ตอน 13 ลีกวนยูชําแหละอเมริกา
ความเห็นต่อประธานาธิบดีสหรัฐฯ
1
ลีกวนยูเล่าว่าเขาไปเยือนสหรัฐครั้งแรกในปี 1962 สงครามโลกเพิ่งผ่านพ้นไปได้ไม่ถึงยี่สิบปี อิทธิพลของอังกฤษลดหายไปแทบหมด จีนยังไม่เกิด สหรัฐฯกลายเป็นเจ้าโลก คนอเมริกันที่เขาพบแต่ละคนล้วนมีความมั่นใจในตนเองสูงมาก
2
อังกฤษรู้ว่าตนพ้นสภาพจากมหาอํานาจของโลกและจักรวรรดิที่มีอาณานิคมทั่วโลกแล้ว อํานาจใหม่ถูกโอนไปให้สหรัฐฯ เพราะสหรัฐฯช่วยอังกฤษรบกับเยอรมนี ราคาที่ต้องจ่ายคือการยอมรับสหรัฐฯเป็นลูกพี่
1
และเมื่อลิ้มรสของการเป็นลูกพี่ของโลกนานหลายสิบปี สหรัฐฯจึงทนไม่ได้ที่เห็นจีนอยากเป็นลูกพี่บ้าง
ต้องขัดขวางทุกทาง เตะขัดขาทุกเรื่อง
ลีกวนยูมีโอกาสพบประธานาธิบดีสหรัฐฯหลายคน ในช่วงสงครามเวียดนาม เขาพบ ลินดอน บี. จอห์นสัน เขามองว่าจอห์นสันเป็นประธานาธิบดีที่เข้มแข็ง แต่สงครามเวียดนามเป็นภาระหนักอึ้งของเขา และลงท้ายที่สหรัฐฯแพ้สงคราม แต่ในฐานะประธานาธิบดี ลีกวนยูเห็นว่าจอห์นสันเป็นคนเก่ง
สําหรับ เจอรัลด์ ฟอร์ด เขาเห็นว่าเป็นประธานาธิบดีธรรมดาไม่ฉลาดนัก แต่โชคดีมีที่ปรึกษาเก่งๆ หลายคน เช่น เฮ็นรี คิสซิงเจอร์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอีกหลาย จึงรอดตัวไปได้
ริชาร์ด นิกสัน เป็นคนเก่งในสายตาของลีกวนยู เป็นนักคิดนักวางยุทธศาสตร์ที่เก่งมาก แต่น่าเสียดายที่จบไม่สวยด้วยคดีวอเตอร์เกต ลีกวนยูประทับใจนิกสันมาก เขาชอบใจนิกสันมาตั้งแต่ยังไม่ได้เป็นประธานาธิบดี นิกสันไปเยือนสิงคโปร์คุยกับลีกวนยูเพื่อรับไอเดียใหม่ๆ
ลีกวนยูเปรียบเทียบให้นิกสันฟังว่า ประเทศต่างๆ ก็เหมือนต้นไม้ชนิดต่างๆ บางประเทศหยั่งรากลึก ลําต้นขึ้นตรงและสูง บางประเทศเป็นไม้เลื้อย ต้องมีต้นไม้ใหญ่ให้เกาะ ลีกวนยูพูดขําๆ ว่าโชคดีที่นิกสันไม่เขียนเรื่องนี้ในหนังสือ แต่เชื่อว่าเข้าใจ
2
ประเทศที่ลําต้นสูง เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี แม้แต่เวียดนาม
ลีกวนยูนับถือประธานาธิบดี รอนัลด์ เรแกน ไม่ใช่คนคิดเก่งแต่มีที่ปรึกษาเก่ง ทํา
ให้เกิดนโยบายดีๆ หลายอย่าง เรแกนรู้จักเลือกคนมาทํางาน
สําหรับประธานาธิบดี บิล คลินตัน เขาเห็นว่าเป็นคนที่มีประสิทธิภาพและนักพูดที่ดี
ลีกวนยูพบกับประธานาธิบดี จอร์จ บุช ทั้งคนเป็นพ่อและลูก เขาเห็นว่า จอร์จ บุช คนพ่อสุขุมกว่าคนลูกอาจยังฝังหัวอยู่ในอุดมคติบางอย่าง พาอเมริกาเข้าสู่สงครามอิรักและอัฟกานิสถาน จนเกิดหายนะไปทั่ว ทําให้ชื่อเสียงด่างพร้อย
ลีกวนยูพบประธานาธิบดี รอนัลด์ เรแกน
สําหรับประธานาธิบดี บารัค โอบามา มีทีมงานเก่งเช่นกัน แต่คนเก่งหลายคนหนีไป พูดอีกอย่างคือที่ปรึกษาพวกนั้นไม่เห็นด้วยกับนโยบายของโอบามา
ลีกวนยูบอกว่าไม่มีประธานาธิบดีคนไหนสมบูรณ์แบบ จําเป็นต้องพึ่งทีมที่ปรึกษา การที่ที่ปรึกษาหนีจากโอบามาไม่ใช่สัญาณที่ดีเพราะแสดงว่าพวกนั้นไม่สามารถโน้มน้าวใจเขาได้
นักข่าวอเมริกันถามลีกวนยูในปี 2008 “คุณอยากได้อะไรจากประธานาธิบดีสหรัฐฯคนต่อไป?”
“เกี่ยวข้องกับโลก ทําให้การค้าเดินไปได้ อย่าเปลี่ยนนโยบายกลับไปกลับมา มันจะทําให้ประเทศคุณเสียหาย และทําให้โลกเสียหายด้วย ทําให้เกิดความขัดแย้ง พยายามรักษาสมดุล เพื่อให้สันติภาพและเสถียรภาพเป็นเรื่องแน่นอน โดยปราศจากความขัดแย้ง”
จุดเด่นของอเมริกัน
ลีกวนยูมองอเมริกันแบบสองจิตสองใจ เขาชอบทัศนคติ ‘can-do’ ของอเมริกัน พวกนั้นฉลาด พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดเวลา แต่เขาไม่ชอบที่อเมริกันมักใช้มันไปในทางที่ผิด
ลีกวนยูเห็นว่าพวกอเมริกันขาดสํานึกทางประวัติศาสตร์ (a sense of history)
ลีกวนยูกล่าวว่า “ถ้าคุณไม่รู้ประวัติศาสตร์ คุณคิดแบบระยะสั้น ถ้าคุณรู้ประวัติศาสตร์ คุณคิดแบบระยะกลางและระยะยาว”
3
แม้ไม่ได้ชื่นชอบสหรัฐฯนัก แต่ลีกวนยูก็เห็นว่าสหรัฐฯเป็นปัจจัยและตัวแปรสําคัญต่อการรักษาสันติภาพและความสมดุลในเอเชีย
ลีกวนยูบอกว่า “อีก 2-3 ทศวรรษ อเมริกาจะยังคงเป็นมหาอํานาจเดียว สหรัฐฯเป็นประเทศที่มีแสนยานุภาพทางทหารและพลวัตเศรษฐกิจที่สุดในโลก มันเป็นเครื่องจักรที่ขับเคลื่อนความเติบโตของโลก ผ่านนวัตกรรม ผลผลิต และการบริโภค วันนี้และอีกหลายทศวรรษถัดไป เป็นสหรัฐฯรายเดียวที่กําหนดเกม...
1
“สิ่งที่ทําให้เศรษฐกิจสหรัฐฯโดดเด่นคือวัฒนธรรมการลงทุนธุรกิจของมัน ผู้ประกอบการและผู้ลงทุนมองเห็นความเสี่ยงและความล้มเหลวเป็นเรื่องธรรมชาติ และจําเป็นต่อความสําเร็จ เมื่อพวกเขาล้มพวกเขาก็ลุกขึ้นแล้วเริ่มต้นใหม่”
นี่คือจุดเด่นของอเมริกัน
ก่อนลงจากตําแหน่งในเดือนพฤศจิกายน ปี 1990 ลีกวนยูเซ็นสัญญา Memorandum of Understanding กับรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ แดน เควล (Dan Quayle) ที่กรุงโตเกียว ยินยอมให้สหรัฐฯ ใช้สิงคโปร์เป็นที่พักเรือและเครื่องบิน เพื่อให้สหรัฐฯรักษาเสถียรภาพในเอเชียอาคเนย์
ลีกวนยูเชื่อในศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ของคนอเมริกันเสมอ เขาเชื่อว่าอเมริกันคิดค้นอะไรใหม่ๆ มาได้เสมอ
หลายคนมองว่าสหรัฐฯอยู่ในขาลง แต่ลีกวนยูบอกว่าไม่ใช่ สหรัฐฯอาจพลาดในเรื่องสงครามในตะวันออกกลางที่อิรักและอัฟกานิสถาน และปัญหาวิกฤตการเงิน แต่จากประวัติศาสตร์ เช่น The Great Depres-sion สงครามเวียดนาม ฯลฯ สหรัฐฯก็จะกลับมาได้ทุกครั้ง
2
ลีกวนยูวิเคราะห์ว่า ความสําเร็จของอเมริกาอยู่ที่พลวัตของเศรษฐกิจและนวัตกรรมที่ไม่เคยหยุด ไอโฟน ไอแพด ไมโครซอฟท์อินเทอร์เน็ต ล้วนกําเนิดที่สหรัฐฯจีนมีคนเก่งและอัจฉริยะไม่แพ้อเมริกันแน่ แต่คนเหล่านั้นขาดหัวเทียนจุดประกายไฟ
เขาเห็นว่าอเมริกาเป็นชาติที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงที่สุดในโลก
ลีกวนยูบอกว่าประเทศเล็กๆ อย่างสิงคโปร์ ทําอะไรพลาดเรื่องเดียว จะส่งหายนะต่อประเทศทันที แต่ประเทศใหญ่อย่างสหรัฐฯทําอะไรพลาดจะใช้เวลาสร้างแรงกระทบ
ลีกวนยูเห็นว่า สหรัฐฯไม่ได้อยู่ในขาลง แต่เมื่อมีเมืองจีนก็อาจถูกลดทอนอํานาจลงไปบ้าง มันเลี่ยงไม่พ้น เพราะ GDP ของจีนมีแต่โตขึ้นและจะโตข้ามสหรัฐฯ
เลี่ยงไม่พ้น มันเป็นภาคบังคับ
แต่สหรัฐฯก็จะยังคงโตและพัฒนาต่อไป
ลีกวนยูให้เหตุผลว่า สังคมสหรัฐฯน่าสนใจกว่าสังคมจีน มันดึงดูดคนเก่งมาได้มากกว่า ไม่มีใครอยากไปทํางานในจีนเท่าสหรัฐฯคนเก่งอยากมีชีวิตที่เสรีกว่าสังคมแบบจีน
ทั้งสหรัฐฯและประเทศอื่นๆ ในโลก ต้องการคนเก่งและต้องดึงคนเก่งมาช่วยพัฒนาชาติ เพราะไอเดียใหม่ๆ เกิดขึ้นจากความคิดต่างด้วยแรงดึงดูดคนเก่ง สหรัฐฯจะยิ่งพัฒนาขึ้นไปอีก
1
สหรัฐฯวันนี้ดึงคนเอเชียไปจํานวนมาก หลายคนก้าวขึ้นถึงระดับซีอีโอ เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้ยากมากในสังคมจีนหรือญี่ปุ่น
2
ลีกวนยูมองว่า โลกวันนี้ไม่อาจแข่งกันด้วยอาวุธ เพราะมันมีแต่ทําลายกันและกัน แต่แข่งกันบนเวทีเศรษฐกิจและเทคโนโลยี และคนเก่งเป็นตัวแปรของการแข่งขัน
1
ลีกวนยูเล่าว่าแรงดึงดูดของสหรัฐฯแรงมาก เพราะคนสิงคโปร์จํานวนมากไปเรียนต่อที่สหรัฐฯแล้วไม่ยอมกลับบ้าน ลีกวนยูจึงมีนโยบายให้ทุนรัฐบาลแก่เด็กเก่งไปเรียนต่อที่อังกฤษแทน รับรองว่าพวกนี้จะกลับมาทํางานที่บ้านเกิด เพราะอังกฤษไม่ต้อนรับ เศรษฐกิจมีพลังน้อยกว่า งานก็มีน้อยกว่า
6
อีกเหตุผลหนึ่งที่เมืองจีนดึงดูดคนเก่งจากชาติได้น้อยกว่าสหรัฐฯเพราะภาษา ภาษาจีนยากกว่าภาษาอังกฤษมาก
จุดแข็งอีกอย่างหนึ่งของสหรัฐฯคือการแข่งขันเข้มข้นมาก การแข่งขันทําให้เกิดความหลากหลาย ความหลากหลายทําให้เกิดไอเดียใหม่ๆ อเมริกันจดสิทธิบัตรใหม่ๆมากกว่าประเทศอื่น
1
สหรัฐฯยังมีจุดดีอีกอย่างคือวัฒนธรรมการยกย่องคนที่สร้างตัวขึ้นมาได้ และไม่มีพฤติกรรมเหยียดหยามคนที่ไม่ประสบความสําเร็จ เพราะถือว่าความล้มเหลวเป็นบันไดขั้นหนึ่งของความสําเร็จ
1
จุดนี้อเมริกาต่างจากอังกฤษ อังกฤษยังมี ‘ชนชั้น’ อยู่ แต่ละคนรู้ว่าตัวเองยืนอยู่ตรงไหน คนอังกฤษเป็นพวกที่ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งสําคัญมากมายในโลก เครื่องจักรไอน้ํา เครื่องทอผ้า มอเตอร์ไฟฟ้า ฯลฯ ได้รับรางวัลโนเบลทางวิทยาศาสตร์มากมาย แต่สิ่งประดิษฐ์น้อยอย่างที่พัฒนาต่อไปเป็นธุรกิจพาณิชย์ใหญ่โต ทําไมจึงเป็นเช่นนั้น?
ลีกวนยูเห็นว่า การมีอาณานิคมนานมากกว่าสองร้อยปี ทําให้อังกฤษเป็นสังคมของความมั่งคั่งแบบเก่า และยกย่องชนชั้นสูง คนที่เพิ่งรวยใหม่ๆ มักถูกมองว่าน่ายกย่อง นักศึกษาเก่งๆ จึงไปเรียนกฎหมาย หมอ วิชาชีพที่สังคมยกย่องว่าเป็นคนฉลาด เป็นพวกใช้สมอง แต่ในสหรัฐฯตรงกันข้าม มันไม่มีชนชั้น ทุกคนยกย่องคนที่สร้างตัวจนรวย ทุกคนอยากรวยสิ่งนี้เป็นแรงจูงใจให้เกิดนวัตกรรม
2
กระนั้นลีกวนยูก็ยังมองเห็นจุดอ่อนของสังคมสหรัฐฯและพูดตรงๆ เสมอ ในสายตาของลีกวนยู สหรัฐฯมีจุดอ่อนเรื่องการระบาดของปืน ความล่มสลายของสังคมพลเรือนและการกัดกร่อนรากฐาน
1
ลีกวนยูกับ บิล คลินตัน
“ผมเป็น Social Darwinist”
ในโลกตะวันตก คนเชื่อว่าประชาธิปไตยทําให้เกิดการพัฒนา แต่ลีกวนยูเห็นตรงข้าม ลีกวนยูบอกว่า “หนึ่งคนหนึ่งเสียงเลือกตั้งเป็นรูปแบบรัฐบาลที่ยากที่สุด บางครั้งบางคราวผลอาจผิดพลาดได้ บางทีประชาชนก็อาจโลเล พวกเขาเบื่อหน่ายกับการพัฒนาแบบเรียบๆ และมั่นคง และในช่วงอารมณ์บ้าๆ ก็โหวตให้มีการเปลี่ยนแปลงแค่เพื่อต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลง...
“ในประเทศใหม่ๆ ประชาธิปไตยจะทํางานได้ผลและสร้างผลลัพธ์ ก็ต่อเมื่อมีรัฐบาลที่ซื่อสัตย์และมีประสิทธิภาพ ซึ่งหมายความว่าประชาชนต้องฉลาดพอที่จะเลือกรัฐบาลแบบนั้น รัฐบาลที่ได้รับเลือกตั้งจะดีได้ก็เท่ากับประชาชนที่เลือกพวกนั้นเข้ามา...
4
“ตรงกันข้ามกับที่นักวิจารณ์การเมืองของสหรัฐฯพูด ผมไม่เชื่อว่าประชาธิปไตยจําเป็นว่าจะนําไปสู่การพัฒนา ผมเชื่อว่าสิ่งที่ประเทศหนึ่งจําเป็นต้องใช้พัฒนาคือวินัยมากกว่าประชาธิปไตย...
8
“ความเบ่งบานของประชาธิปไตยนําไปสู่การไร้วินัยและภาวะไร้ระเบียบซึ่งเป็นศัตรูของการพัฒนา บททดสอบสูงสุดในคุณค่าของระบบการเมืองคือมันจะช่วยสังคมสร้างภาวะที่พัฒนามาตรฐานการครองชีพของคนส่วนใหญ่หรือเปล่า บวกกับการให้สิทธิอิสรภาพส่วนตัวสูงสุดให้เข้ากันกับอิสรภาพของคนอื่นๆ ในสังคม มันไม่มีรัฐบาลไหนให้มีการเล่นเกมอย่างยุติธรรม ที่ช่วยฝ่ายตรงข้ามชนะโหวตหรอก...
6
“จุดอ่อนของประชาธิปไตยคือการทึกทักเอาว่า มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกันและมีความสามารถช่วยสังคมส่วนรวมได้เท่ากัน เป็นความคิดที่มีจุดด้อย”
7
ในความคิดของลีกวนยู สังคมจะไปได้ต้องฟูมฟักคนเก่งและพัฒนาคนไม่เก่ง
แต่เขาก็รับความคิดตะวันตกที่เห็นว่าดี นั่นคือสถาบันที่แข็งแรงที่ทําให้กฎหมายออกมาดี
ลีกวนยูเห็นว่ามุมมองของตะวันตกที่ว่า “Democracy is des-tiny.” (ประชาธิปไตยคือชะตาลิขิต)ไม่น่าดีเท่า “Culture is destiny.” (วัฒนธรรมคือชะตาลิขิต)
2
นักข่าวถามลีกวนยูในวัย 85 ว่า “สิ่งหนึ่งที่คุณต่อต้านคือการที่สหรัฐฯพยายามแพร่ประชาธิปไตยให้โลก นโยบายของ บิล คลินตันหรือนโยบาย Freedom ของ จอร์จ บุช คุณต่อต้านอะไรหรือ?”
1
“ผมไม่คิดว่ามันทําได้ ผมเป็น Social Darwinist”
3
“คนแข็งแรงที่สุดอยู่รอด?”
1
“ไม่ใช่ การอยู่รอดต้องการให้คุณสามารถเปลี่ยน ถ้าคุณไม่เปลี่ยน คุณจะไม่มีความสําคัญ แล้วสูญพันธุ์”
“คุณเห็นสหรัฐฯเผยแพร่ประชาธิปไตยไปทั่วโลก...”
1
“แล้วพวกคุณทําสําเร็จไหมล่ะ? พวกคุณไปช่วยไฮติสร้างประเทศ... มันทําไม่ได้ (undoable)”
1
เมื่อประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช บุกอิรัก โค่นจอมเผด็จการ ซัดดัม ฮุสเซน ประกาศว่า จะไปสร้างประชาธิปไตยในอิรัก ลีกวนยูกลั้นลมหายใจ คิดในใจว่ามันคือสัญญาณของความโอหังชัดๆ ลีกวนยูคิดกับตัวเอง นี่คือประเทศที่มีสังคมอายุสี่พันปีที่กําลังจะถูกเปลี่ยนแปลงโดยสังคมที่มีประวัติศาสตร์แค่ 400 ปี สหรัฐฯยกเลิกตํารวจอิรัก สร้างรัฐบาลใหม่จากศูนย์และอบรมคนให้มีสํานึกประชาธิปไตย
5
ผลลัพธ์คือหายนะ
เขาเปรียบเทียบว่า เมื่อญี่ปุ่นครองสิงคโปร์ ก็ยังคงตํารวจไว้เพราะมีความจําเป็นที่จะดูปกครองแลสังคม
1
ปัญหาของอเมริกันคือไปที่ไหนพร้อมความเชื่อมั่นว่ามีอํานาจเปลี่ยนระบบได้
พวกเขาผิดเสมอ พวกเขาไม่สามารถเปลี่ยนโลกได้
ความเห็นของผู้นําตะวันตกต่อลีกวนยู
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เฮ็นรี คิสซิงเจอร์ เขียนถึงลีกวนยูว่า “สิ่งหนึ่งที่ไม่สมดุลของประวัติศาสตร์คือการขาดการสื่อสารระหว่างความสามารถของผู้นําบางคนกับอํานาจของประเทศของพวกเขา”
ในหนังสือ Leaders ของ เฮ็นรี คิสซิงเจอร์ เขาเขียนว่า นิกสันบอกว่า ลีกวนยูและ รอเบิร์ต เมนซีส์ (Robert Menzies) ทั้งคู่มีความโดดเด่นของการเป็น “คนใหญ่ในเวทีเล็ก เป็นผู้นําที่ถ้าอยู่ในกาลอื่นสถานที่อื่น อาจจะได้รับสถานะโลกเช่น เชอร์ชิล Benjamin Disraeli หรือ William Ewart Gladstone”
2
ทั้งสามคนนี้เป็นนายกฯอังกฤษในศตวรรษที่ 19-20
ส่วน รอเบิร์ต เมนซีส์ เป็นนายกฯออสเตรเลียที่ลีกวนยูยกย่องเช่นกัน
เฮ็นรี คิสซิงเจอร์ เป็นเพื่อนของลีกวนยู ทั้งสองคุยกันทุกเดือนคิสซิงเจอร์บอกว่า “ไม่มีผู้นําโลกคนไหนสอนผมมากกว่าเขา”
คนฉลาดชอบคุยกับคนฉลาด
2
เวลา เฮ็นรี คิสซิงเจอร์ ไปสิงคโปร์ ก่อนไปลีกวนยูจะส่งรายการอาหารมาให้เขาเลือก ถ้าไม่ชอบเมนูไหน ก็สามารถเปลี่ยนได้ แต่เขาไม่เคยเปลี่ยนเพราะลีกวนยูแม่นยําทุกเรื่อง
2
ประธานาธิบดี บารัค โอบามา พูดถึงลีกวนยูว่าเป็น ‘giant of history’ (ยักษ์แห่งประวัติศาสตร์)
ในปี 1998 มาร์กาเร็ต แธตเชอร์ นายกฯอังกฤษ กล่าวว่า “เมื่อเป็นนายกฯ ฉันอ่านและวิเคราะห์ทุกคําพูดของเขา เขาไม่เคยพลาด”
4
เฮ็นรี คิสซิงเจอร์ เขียนว่า “ลีกวนยูทําให้ตัวเขาเองเป็นเพื่อนที่จําเป็นอย่างยิ่งของสหรัฐฯ ไม่ใช่อํานาจที่เขาเป็นตัวแทน แต่จากวิธีคิดระดับสุดยอดของเขา การวิเคราะห์ของเขามีคุณภาพและความลึก จนทําให้คนที่ติดต่อเขารู้สึกว่าการพบกับเขาเป็นการศึกษาทางหนึ่ง...
2
“นอกจากนี้ลีกวนยูสามารถบอกเราเกี่ยวกับสภาพของโลกที่เราเผชิญอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเข้าใจอย่างถ่องแท้ที่เจาะลึกความคิดในภูมิภาคของเขา"
1
"การวิเคราะห์ของลีกวนยูให้แสงสว่างในความท้าทายที่สําคัญที่สุดที่สหรัฐฯต้องเผชิญในระยะยาว นั่นคือจะสร้างความสัมพันธ์ขั้นพื้นฐานและจริงใจกับเอเชีย รวมทั้งจีนอย่างไร ไม่มีใครอีกแล้วที่สามารถสอนเรามากกว่านี้เกี่ยวกับธรรมชาติและขอบเขตของความพยายามนี้ยิ่งไปกว่าลีกวนยู ลีกวนยูมิเพียงเป็นหนึ่งในผู้นําที่ทรงอิทธิพลในยุคของเรา แต่ยังเป็นนักคิดที่เรายอมรับความเฉียบแหลมทางยุทธวิธีที่เป็นเอกของเขา”
2
นิตยสาร Time Magazine สรุปตัวตนลีกวนยูด้วยประโยคเดียวว่า “บุรุษผู้มองเห็นทุกอย่าง”
2
ลีกวนยู
สิงคโปร์
สหรัฐอเมริกา
43 บันทึก
89
2
43
43
89
2
43
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย