3 พ.ค. 2024 เวลา 07:37 • ข่าว

เงินเยนญี่ปุ่นอ่อนค่า หลังเฟดแถลง เยนพุ่ง 4 เยน แตะ 153 เยน 3% มองรัฐแอบแทรกค่าเงิน

เงินเยนของญี่ปุ่นได้อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง
จากเมื่อปี 2540 ช่วงเงินบาทอ่อนค่า
ประเทศไทยเผชิญ “วิกฤติต้มยำกุ้ง”
เงิน 100 เยน เคยแลกได้สูงถึง 44 บาท
ช่วงก่อนโรคโควิด-19 ระบาดในปี 2562
อยู่ที่เท่ากับประมาณ 33 บาท
หลังโควิด-19 ระบาด ลงมาอยู่ที่ประมาณ 25 บาท
ล่าสุดในเดือนเมษายน เงินเยนได้อ่อนค่าลงอีก
จนทุบสถิติใหม่หลายครั้งในรอบ 34 ปีหลังปี 2533 เป็นต้นมา
เมื่อเงินญี่ปุ่น 100 เยน ลงมาแตะที่ประมาณ 23 บาท
ณ วันนี้ (3 พ.ค.) อยู่ที่ 100 เยน
เท่ากับประมาณ 24 บาท
เงินเยนที่รัฐบาลญี่ปุ่นต้องการให้อ่อนค่า
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้พ้นจากภาวะที่เงินฝืด
มานานด้วยนั้น
สถานการณ์ได้อ่อนค่าลงมาอย่างต่อเนื่อง และคาดว่า
จะมีแนวโน้มจะอ่อนค่าลงอีก จนเริ่มเป็นที่วิตกกังวลในสังคมญี่ปุ่นว่า จะอ่อนค่ามากเกินไปหรือไม่
ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ก็จะผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
และค่าครองชีพของคนญี่ปุ่นอย่างมิอาจมองข้ามได้
และจะส่งผลให้คนญี่ปุ่นยากจนลงได้
รัฐบาลญี่ปุ่นก็กำลังจับตาความเคลื่อนไหวในตลาดปริวรรตเงินตรา (Foreign Exchange) พร้อมให้สัญญาณว่า พร้อมที่จะรับมืออย่างเหมาะสมเสมอ
หากจำเป็น
แต่ไม่ระบุชัดเจนว่า จะแทรกแซงค่าเงินเยนหรือไม่ เมื่อไร อย่างไร
Image Credits: Gettyimage, เงินสกุลเยนของญี่ปุ่น ธนบัตรมูลค่าสูงสุดขนาด 10,000 เยน เท่ากับประมาณ 2,400 บาท ณ 3 พฤษภา (ศุกร์)
จนล่าสุด เมื่อวานนี้ (2 พ.ค.) เงินเยนได้กระเถิบตัว
สูงขึ้นผิดปกติอีกครั้ง ต่อจากวันที่ 29 เมษายน 2567 (จันทร์) ถึง 2 วัน
ซึ่งเป็นช่วงที่ตรงกับเทศกาลวันหยุดยาวช่วงสัปดาห์ทอง
ของญี่ปุ่น ที่เริ่มหยุดกันตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2567
ถึง วันที่ 6 พฤษภาคม 2567 ที่ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่
มักหยุดพักผ่อน
จนหลายฝ่ายมองว่า รัฐบาลและธนาคารกลางของญี่ปุ่น
น่าจะใช้จังหวะนี้ ในช่วงเช้ามืดของวันที่ 2 พฤษภาคม
ดังกล่าวเข้าแทรกค่าเงินครั้งที่ 2 อีกครั้ง ในช่วงที่ตลาด
ยุโรปและแม็กซิโกก็ตรงกับวันหยุดด้วย โดยอาจ
ขายเงินสกุลดอลล่าร์ซื้อสกุลเงินเยน
ลักษณะที่สันนิษฐานว่า น่าจะมีการแทรกเงิน
ครั้งที่ 2 คือ ตลาดแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศ
ในเช้าวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 (พฤหัสบดี) นี้ พบว่า
Image Credits: FED, นายเจอโรม เอช พาวเวลล์ (Mr. Jerome H. Powell) ประธานของ ธนาคารกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ เฟด (The Federal Reserve : FED) กำลังแถลงข่าว
เงินเยนยังอ่อนค่าตามปกติ ในขณะที่นายเจอโรม
เอช พาวเวลล์ (Mr. Jerome H. Powell) ประธานของ
ธนาคารกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ เฟด
(The Federal Reserve : FED) กำลังแถลงข่าว
(ทรานสคริปต์: https://www.federalreserve.gov/
mediacenter/files/FOMCpresconf20240501.pdf)
ซึ่งบทบาทของธนาคารกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา
หรือ เฟด เป็นที่จับตามองของตลาดโลกและของญี่ปุ่น
ด้วยมีหน้าที่สำคัญในการกำหนดทิศทางเศรษฐกิจ
การจ้างงาน อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย และปัจจัยอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรักษาเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาให้เกิด
ประสิทธิภาพและมีเสถียรภาพ อันมีผลต่อการตัดสินใจ
ของนักลงทุน และมีผลกระทบต่อค่าเงินเยนของญี่ปุ่นด้วย
โดยนายเจอโรม พาวเวลล์ได้แถลงรายงาน
ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังเสร็จสิ้น
การประชุมนโยบายการเงินของประเทศสหรัฐอเมริกา
กับคณะกรรมการนโยบายการเงิน (The Federal
Open Market Committee: FOMC) (ประกอบด้วย
สมาชิก 12 คน) เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม (วันพุธ)
ให้ทราบถึงภาพรวมของเศรษฐกิจและมาตรการ
ด้านนโยบายการเงิน ว่า
จะยังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ย ยังคงความอิสระใน
การตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย อันหมายถึง
จะตรึงอัตราดอกเบี้ยต่อติดต่อกันเป็นครั้งที่ 6
ซึ่งในขณะที่กำลังแถลงข่าวนั้น ค่าเงินเยนยัง
เคลื่อนไหวในวงจำกัด
แต่หลังการแถลงข่าวเสร็จสิ้นไปชั่วขณะ เงินเยน
ได้กลับพลิกตัวแข็งค่า กระเถิบตัวสูงขึ้นอย่างกระทันหัน
เพิ่มขึ้นมากกว่า 4 เยน แตะ 1 ดอลล่าร์เท่ากับ 153 เยนพอดี เท่ากับขึ้นมากกว่า 3% ในช่วงท้ายของการซื้อขาย
ที่ตลาดนิวยอร์ก และขึ้นไปถึง 5 เยน หลังการแถลงการณ์ผ่านไปประมาณ 6 ชั่วโมง
จึงเป็นที่คาดคะเนกันอย่างมากว่า มีความเป็นไปได้สูง
ที่รัฐบาลญี่ปุ่นหรือไม่ก็ธนาคารกลางญี่ปุ่น น่าจะเข้า
แทรกแซงค่าเงินเยนในตลาดปริวรรตเงินตรา
(Foreign Exchange: FX) หลายครั้ง ในลักษณะ
เช่นเดียวกับความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่
29 เมษายนที่ผ่านมา
Image: นายมาซาโตะ คันดะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์
แต่นายมาซาโตะ คันดะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
การคลังฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ได้กล่าวกับทีมผู้สื่อข่าว ว่า
“ไม่มีความเห็น” ( “No comment”) โดยกล่าว
เมื่อประมาณ 16:00 น. (เวลา 14:00 น. ของประเทศไทย) ของวันที่ 2 พฤษภาคมนี้ ขณะเยือนประเทศมาเลเซีย ว่า “ผมไม่มีอะไรจะกล่าวเลยว่าจะมีแทรกแซงไหม”
แต่ได้เคยกล่าวไว้ก่อนหน้าก่อนออกเดินทาง
ไปประเทศมาเลเซีย ว่า “ตลาดแลกเปลี่ยนที่
ผันผวนมากเกินไป จะกระทบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น
อย่างมาก เป็นเรื่องที่มิอาจฝมองข้ามได้ ถึงแม้ว่า
จะอยู่ต่างประเทศ ก็พร้อมรองรับอย่างเหมาะสม
ตลอด 24 ชั่วโมงได้ หากจำเป็น”
ในขณะที่นายเอสุเกะ ซากาคิบาระ
เจ้าของฉายา “มิสเตอร์เยน” อดีตรัฐมนตรีช่วยว่า
การกระทรวงการคลังฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ผู้เคยแทรก
ค่าเงินเยนหลายต่อหลายครั้งมาก่อน กล่าวว่า
เงินเยนที่ขยับตัว ก้าวสูงกระทันหันอย่างนั้น
เป็นไปได้สูง ที่รัฐบาลกับธนาคารกลางญี่ปุ่น
อาจเข้าแทรกแซงค่าเงินเยน
ซึ่งนักวิเคราะห์การเงินของเอกชน ก็วิเคราะห์พบว่า
มีเงินเข้าแทรกแซงตลาดถึงขนาดประมาณ 3 ล้านล้านเยน
โดยเมื่อเวลาเช้ามืดของญี่ปุ่นของวันที่ 2 พฤษภาคม
สกุลเงินยังเคลื่อนไหวในวงจำกัด แต่ได้พลิกผันทันควัน
หลังรับรู้ถ้อยแถลงของประธานพาวเวลล์ ซึ่งอาจใช้ช่วงจังหวะเวลาที่นักลงทุนกำลังพักหายใจ เข้าแทรกแซงตลาด
บริษัท เดอะ โตทันรีเสิร์ช์ จำกัด ชี้ว่า
ธนาคารกลางของญี่ปุ่นน่าจะดำเนินการ
แทรกแซงเข้าซื้อสกุลเงินเยนขายสกุลเงินดอลล่าร์
ในตลาด ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ซึ่งน่าจะ
เข้าซื้อที่ขนาด 3 ล้านล้านเยน หลังเข้าแทรกแซงครั้งที่ 1
เมื่อวันที่ 29 เมษายน (จันทร์) มีขนาด 5 ล้านล้านเยน
หรือ 1.2 ล้านล้านบาท
นายเอสุเกะ ซากาคิบาระ เจ้าของฉายา “มิสเตอร์เยน”
อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า
จังหวะที่รัฐเหมาะเข้าแทรกแซงแล้วได้ผล คือ
ช่วงเวลาที่มีการซื้อขายเบาบาง
ในช่วงวันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือตอนเช้า
จึงเข้าซื้อสกุลเงินเยนขายสกุลเงินดอลล่าร์
เพื่อให้ได้ผล อันเป็นแพทเทิร์นปกติ
แต่ไม่ทราบว่า เป็นการเข้าแทรกแซงแบบใด
แต่ต้องมีคนผิดสังเกตแน่ๆ แล้วก่อนจะเข้าแทรกแซง
จะต้องมีการโทรศัพท์ติดต่อเพื่อตกลงล่วงหน้า
ร่วมกันกับอีกฝ่ายก่อนเสมอ เนื่องจากว่า หากอีก
ฝ่ายไม่เห็นชอบด้วย หรือคัดค้านรุนแรง ก็จะทำไม่ได้
แต่นายซากาคิบาระ อดีตรัฐมนตรีช่วยฯ ได้ให้
ความเห็นเพิ่มเติมว่า การแทรกแซงค่าเงินเพื่อให้
เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญนั้น เป็นเรื่องที่
ยากทีเดียว เพราะเงินเยนที่อ่อนค่าในเวลานี้
อยู่ในลักษณะการต่อกรระหว่างเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา
กับเศรษฐกิจญี่ปุ่น
ทั้งมองว่า ธุรกิจญี่ปุ่นที่ก้าวหน้าในการโกอินเตอร์
มาถึงขณะนี้ สกุลเงินเยนที่แข็งค่าอาจเป็นประโยชน์
กับประเทศญี่ปุ่นมากกว่า
นายทัตสึโอะ ยามาซากิ อดีตรมช. การคลังฝ่ายวิเทศสัมพันธ์อีกท่านหนึ่ง ชี้ว่า เงินเยน ณ ขณะนี้
มองว่า อ่อนค่ามากเกินไป เป็นผลกระทบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นในทางลบ ข้าวของเครื่องใช้และการรับประทานอาหารนอกบ้านแพงขึ้น ต้นทุนบริษัทธุรกิจกลาง
และย่อมสูงขึ้น ต้นทุนจากค่าจ้างแรงงานที่ต้องปรับตัว
สูงขึ้นต่อไปก็จะได้รับผลกระทบด้วย คนญี่ปุ่นอาจจนลง
อย่างไรก็ตาม แม้รัฐบาลและธนาคารกลางญี่ปุ่น
จะเข้าแทรกแซงด้วยการซื้อเงินสกุลเยนขายสกุล
ดอลล่าร์เพื่อให้เงินเยนแข็งขึ้นก็ตาม
แต่ก็มีเสียงมองว่า ปัจจัยสำคัญไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัย
ภายในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น
แต่ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยของทางสหรัฐอเมริกาด้วย
ที่แม้เวลานี้ อาจจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้
แต่ผลการปรระชุมเกี่ยวกับนโยบายการเงินของ
ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา หรือธนาคารประเทศอื่นๆ
มีผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินเยน
หากธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา (เฟด)
หรือธนาคารที่อื่นๆ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก
ก็จะมีผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินเยน
ที่มีโอกาสเผชิญกับความผันผวนได้อีก
แต่หากเฟดยังไม่ได้ให้สัญญาณว่า
ยังต้องขึ้นดอกเบี้ยอีก
นักเก็งกำไรทั้งหลายก็จะรู้สึกสบายใจ
อาจมีความเคลื่อนไหว กลับมาซื้อเงินเยนต่อ
อีกชั่วขณะหนึ่ง นายทัตสึโอะ ยามาซากิ
อดีตรมช. การคลังฯ กล่าว
พร้อมกล่าวว่า ตลาดแลกเปลี่ยนสกุลเงินหลังจากนี้
กำลังให้ความสนใจกับดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่น ว่า
เมื่อถึงจุดหนึ่ง หน่วยงานการเงินสหรัฐอเมริกาอาจจะปรับลด
ดอกเบี้ยลงอีก ที่รัฐบาลญี่ปุ่นก็ต้องให้ความระมัดระวัง
ในการวางนโยบายการเงินด้วย
รัฐบาลญี่ปุ่นน่าจะมีแนวโน้มที่ต้องใช้กระบวนการ
ในการขึ้นดอกเบี้ยด้วย หากมองในแง่นี้ การขึ้น
ดอกเบี้ยจึงเป็นเรื่องของเวลา
นายทัตสึโอะ ยามาซากิ อดีตรมช. การคลัง ฯ
กล่าวต่อว่า เงินเยนที่อ่อนค่าและเงินดอลล่าร์
ที่สูงผิดปกติในเวลานี้ เมื่อถึงจุดหนึ่ง น่าจะต้อง
พลิกกลับคืนสู่สภาพปกติ ไม่จำเป็นต้องแทรกแซง
เป็นเงิน ด้วยการซื้อเงินเยน เป็นเงิน 100 ล้านล้านเยน
หรือ 200 ล้านล้านเยน
อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกา จึงเป็นปัจจัย
ที่กดดันสกุลเงินเยน และมีผลต่อเศรษฐกิจ
ความเจริญเติบโตของญี่ปุ่น
Image Credits: Gettyimage
ดังนั้น ครั้งนี้ การที่ญี่ปุ่นใช้เวลาในช่วงเช้ามืดที่ตลาดบางแห่งหยุด มีการซื้อเบาบางเข้าแทรกแซงค่าเงิน
เพื่อชะลอการแข็งตัวของเงินสกุลดอลล่าร์ไม่ให้เงินเยนอ่อนค่ามากเกินไป
เป็นที่มองกันว่า ถือเป็นจังหวะที่ฉลาดเพราะเป็นจังหวะดี
ที่ตลาดยุโรปและแม็กซิโกปิดตลาดด้วย และเฟดมีจุดยืน
ที่มีท่าทีที่ผ่อนคลายทางการเงิน ส่งผลให้เงินเยนเคลื่อนไหวในทางบวกตามที่กล่าวข้างต้น
ส่วนจะเป็นการแทรกแซงจริงหรือไม่นั้น แม้รัฐบาล
จะไม่ยืนยันชัดเจนก็ตาม
การแทรกแซงสามารถยืนยันได้เมื่อเวลาผ่านไป
ประมาณหนึ่งเดือน
แต่การแทรกแซง จะทำให้เงินเยนแข็งค่าได้
ในระยะเวลานานเท่าไรนั้น ยังเป็นที่ต้อง
คาดคะเนและจับตามองต่อไป
แต่เฮเลน กิฟเว่น เทรดเลอร์สกุลเงินของ
“มาแน็กซ์ยูเอสเอ” ที่มีฐานอยู่ที่กรุงวอชิงตัน
ให้สัมภาษณ์กับเอ็นเอชเค ว่า
เงื่อนไขพื้นฐานของเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังอ่อนแอ และ GDP
ยังเติบโตไม่แข็งแกร่งมากนัก ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น
น่าจะยังไม่ขึ้นดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงช่วงฤดูใบไม้ร่วง
(ประมาณกันยายน) ถึงแม้ว่า อัตราดอกเบี้ยระหว่างญี่ปุ่นกับสหรัฐอเมริกาจะยังห่างกันค่อนข้างมากก็ตาม
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิงจาก:
files/FOMCpresconf20240501.pdf
หากเนื้อหาสาระนี้ มีประโยชน์ต่อท่าน
กรุณา กด “ไลค์” กด “แชร์”
เสนอ “คอมเม้นท์”
เพื่อการปรับปรุงและนำเสนอสาระข่าวสาร
ดีๆ ต่อไปด้วยจักขอบคุณยิ่ง
โฆษณา