11 พ.ค. เวลา 00:00 • การเมือง

บทความ Blockdit ตอน ลีกวนยูสร้างชาติอย่างไร ตอน 14 ต้าน ‘หมีโซเวียต’ หรือต้าน ‘มังกรจีน’?

ลมตะวันออกเปลี่ยนทิศ
2
เติ้งเสี่ยวผิงเดินทางไปสิงคโปร์ครั้งแรกในปี 1920 ระหว่างการแวะพักสองวันก่อนเดินทางต่อไปฝรั่งเศส ในวัยสิบหก เขาเป็นหนึ่งในนักศึกษา 84 คนจากเสฉวนไปฝรั่งเศสเพื่อทำงานและเรียน เรือของเขาหยุดแวะสิงคโปร์สองวัน 58 ปีให้หลัง เขามาเยือนที่นี่อีกหน
2
มันเป็นเดือนพฤศจิกายน ปี 1978 ประเทศสิงคโปร์มีอายุเพียง 13 ปี (นับจากวันที่ตั้งเป็นประเทศอย่างเป็นทางการ)
แต่เติ้งเสี่ยวผิงตั้งใจไปเยือนสิงคโปร์ด้วยเหตุผลอื่น ก่อนหน้าไปสิงคโปร์ เขาเยือนกรุงเทพฯและกัวลาลัมเปอร์ เขาต้องการโน้มน้าวใจประเทศอาเซียนให้เข้ากับจีน ต่อต้านโซเวียตลูกพี่ของเวียดนาม
1
เติ้งเสี่ยวผิงพบลีกวนยูครั้งแรก 1978
เติ้งเสี่ยวผิงคาดว่าเขาจะเห็นสิงคโปร์เป็นเมืองเล็กๆ ล้าหลัง แต่ตรงกันข้าม สิ่งที่เขาเห็นคือเมืองที่ต่างจากที่เขาเคยเห็นเมื่อ 58 ปีก่อน สิงคโปร์เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ จากดินเป็นดาว จากเหวเป็นฟ้า มันเป็นการเดินทางที่ลีกวนยูบอกว่า “เปิดตาเติ้งเสี่ยวผิง”
ทันใดนั้นเติ้งเสี่ยวผิงก็ต้องการรู้ว่า สิงคโปร์ทำได้อย่างไร
ปีนั้นเติ้งเสี่ยวผิงอายุ 74 กลายเป็นผู้นำจีนหลังจากโค่นแก๊งสี่คน และต้องรับผิดชอบอนาคตของจีนที่ดูมืดมน
ลีกวนยูต้อนรับเติ้งเสี่ยวผิงอย่างอบอุ่นที่สนามบิน ปายา เลบาร์ (ตอนนั้นสนามบินสิงคโปร์ยังไม่ได้ย้ายไปที่ชางงีเช่นวันนี้) เติ้งเสี่ยวผิงก้าวลงจากเครื่องบินโบอิ้ง 707 เดินผ่านกองทหารเกียรติยศ นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์พาผู้นำจีนไปที่ Istana Villa บ้านพักแขกเมืองที่ทำเนียบ Istana
เติ้งเสี่ยวผิงบอกลีกวนยูว่าดีใจที่ได้มาเยือนสิงคโปร์ครั้งนี้ สิงคโปร์เปลี่ยนไปจากที่เขาเคยมาเยือนเมื่อ 58 ปีก่อนมาก เขาแสดงความยินดีต่อลีกวนยูที่พัฒนาประเทศได้ดีขนาดนี้ บอกว่า “คุณมีเมืองที่สวยงาม อุทยานนคร”
1
ลีกวนยูกล่าวขอบคุณ เอ่ยว่า “อะไรก็ตามที่เราทำ คุณสามารถทำได้ดีกว่า เพราะพวกเราเป็นเพียงลูกหลานของชาวไร่ชาวนาที่ไม่ได้รับการศึกษาในโรงเรียนจากตอนใต้ของจีน คุณมีปัญญาชน มีนักวิทยาศาสตร์ คุณมีผู้เชี่ยวชาญ”
3
เติ้งเสี่ยวผิงฟังแล้วก็เงียบ ไม่พูดอะไร
สิบสี่ปีต่อมา (1992) เติ้งเสี่ยวผิงไปกว่างตง พูดให้คนจีนฟังว่า “จงเรียนจากโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิงคโปร์ และทำให้ดีกว่าพวกเขา” ลีกวนยูบอกตัวเองว่า “อา! เขาไม่ลืมที่เราพูดกับเขา”
3
การไปเยือนสิงคโปร์สามวันนั้นเปลี่ยนจีนทั้งประเทศ และทำให้บุรุษทั้งสองกลายเป็นเพื่อนกัน และนับถือกัน
1
เหตุผลที่จีนมาเยี่ยม
ทั้งสองฝ่ายเริ่มประชุมกันในตอนบ่ายวันที่ 12 พฤศจิกายน 1978 ทั้งสองฝ่ายมีล่าม แม้ว่าลีกวนยูพูดภาษาจีนได้ แต่เขาบอกว่ามันไม่ดีพอ เขาจะไม่คุยด้วยภาษาจีน เพราะจะเสียเปรียบ การคุยหนึ่งชั่วโมงก็กลายเป็นสองชั่วโมงไป
1
ลีกวนยูให้เติ้งเสี่ยวผิงพูดก่อน เติ้งเสี่ยวผิงพูดยาวสองชั่วโมงครึ่ง พูดถึงโครงสร้างและจุดยืนของจีน และเรื่องโซเวียตหนุนหลังเวียดนามให้บุกกัมพูชา และประชิดชายแดนไทย
1
เติ้งเสี่ยวผิงพูดโน้มน้าวผู้นำสิงคโปร์ว่าทำไมประเทศอาเซียนควรรวมตัวกันเพื่อสู้เวียดนามที่แผ่อิทธิพลในเอเชียอาคเนย์
เติ้งเสี่ยวผิงบอกว่าจะเกิดสันติภาพในภูมิภาคนี้ ประเทศกลุ่มอาเซียนต้องร่วมมือกับจีนต้านโซเวียต
ลีกวนยูเล่าขําๆ ว่าล่ามจีนฟังแล้วไม่จดอะไรเลย แปลอย่างรวดเร็วและแม่นยําเขาพบความจริงในเวลาต่อมาว่า เติ้งเสี่ยวผิงพูดแบบนี้มาแล้วที่กรุงเทพฯกับกัวลาลัมเปอร์ นี่เป็นครั้งที่สาม ล่ามจึงจําได้ในหัว
4
เติ้งเสี่ยวผิงเป็นคนพูดน้อย แต่ทุกคำคิดก่อนพูดออกมา
1
สาระสำคัญของการประชุมคือภูมิรัฐศาสตร์โลก เรื่องความขัดแย้งระหว่างเวียดนามกับจีน
1
ทำไมจีนกับเวียดนามจึงบาดหมางกัน? คำตอบที่ลีกวนยูได้รับจากการคุยกับเติ้งเสี่ยวผิงคือ เวียดนามฝันที่จะสร้างสหพันธรัฐอินโดจีน (Indochina Federation) มานานแล้ว แม้แต่โฮจิมินห์ก็ต้องการอย่างนี้ แต่จีนไม่เห็นด้วย เวียดนามจึงมองว่าจีนเป็นอุปสรรคต่อการก่อตั้งสหพันธรัฐอินโดจีน การขับคนจีนออกจากเวียดนามก็เป็นความขัดแย้งหนึ่งที่เกิดขึ้น
เติ้งเสี่ยวผิงบอกว่า จีนเคยช่วยเวียดนามเป็นเงิน 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อจีนยุติความช่วยเหลือ โซเวียตก็ต้องเข้ามาอุ้มแทน แต่โซเวียตก็รับภาระนี้ไม่ไหว ต้องผลักภาระไปให้ประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกช่วย เวียดนามก็ขอความช่วยเหลือไปทั่ว ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ยุโรป ฝรั่งเศส แม้แต่สิงคโปร์
2
เติ้งเสี่ยวผิงบอกว่าภายในสิบปี จีนจะดึงเวียดนามออกจากโซเวียตอีกครั้ง ลีกวนยูจึงรู้ว่าเติ้งเสี่ยวผิงมองไกลมาก และแตกต่างจากผู้นำโลกตะวันตก
2
เติ้งเสี่ยวผิงมองว่า หากเวียดนามก่อตั้งสหพันธรัฐอินโดจีนสำเร็จ ผลกระทบจะเป็นคลื่นแผ่ไปทั่ว สหพันธรัฐอินโดจีนจะเป็นเหมือนคิวบาตะวันออก (คิวบาคือมีดของโซเวียตที่จ่อคอหอยสหรัฐฯ) โซเวียตจะขยายอำนาจมาแทนสหรัฐฯในภูมิภาคนี้
1
เติ้งเสี่ยวผิงบอกลีกวนยูว่า จีนจำเป็นต้องต้านโซเวียตในเรื่องนี้
เมื่อพูดจบก็เป็นเวลาเย็นหกโมงครึ่ง ลีกวนยูถามเติ้งเสี่ยวผิงว่า “จะให้ผมตอบตอนนี้เลย หรือว่าเราจะพักก่อน กินข้าวเย็น พรุ่งนี้เช้าสดชื่นค่อยคุยต่อ?”
1
เติ้งเสี่ยวผิงคิดว่าลีกวนยูต้องการเวลาคิด ซึ่งก็เป็นความจริงส่วนหนึ่ง ก็กินข้าวเย็น และคุยกันเรื่องอื่น
2
เติ้งเสี่ยวผิงชวนลีกวนยูไปเยือนปักกิ่งอีกครั้ง เพราะครั้งที่ลีกวนยูไปเยือนจีนใน 1976 เติ้งเสี่ยวผิงยังหลุดจากอำนาจ
เติ้งเสี่ยวผิงบอก “มาซี” ลีกวนยูบอกว่า “ผมจะไปอีกครั้งเมื่อจีนมีเสถียรภาพและเติบโต”
เติ้งเสี่ยวผิงว่า “โอ๊ย! นั่นมันอีกนาน มาเลยตอนนี้”
ลีกวนยูเห็นว่าเติ้งเสี่ยวผิงดูเป็นคนพูดตรง จึงคิดว่าวันรุ่งขึ้นจะพูดตรงๆ
1
ลีกวนยูไม่เคยไว้ใจจีน
1
ในการประชุมวันต่อมา ลีกวนยูพูด แต่แค่ครึ่งชั่วโมง
1
ลีกวนยูบอกเติ้งเสี่ยวผิงว่า “คุณอธิบายต่อผมว่าทำไมเอเชียอาคเนย์ควรร่วมกับจีนสกัดเวียดนาม ผมจะบอกคุณว่าเพื่อนบ้านผมอยากทำอะไร พวกเขาอยากให้ผมร่วมกับพวกเขาสกัดคุณต่างหาก ไม่ใช่โซเวียต โซเวียตอยู่ไกลจากเราหลายพันไมล์ โซเวียตก็ไม่มีสถานีวิทยุที่กระตุ้นให้พรรคคอมมิวนิสต์ในเอเชียอาคเนย์โค่นรัฐบาลของพวกเรา แต่คุณทำ จากสถานีวิทยุทางใต้ของจีน”
1
(ตอนนั้นลีกวนยูยังไม่รู้ว่าสถานีวิทยุไม่ได้อยู่ที่ยูนนาน แต่ที่หูหนาน)
1
และ
“คุณบอกผมเองเมื่อวานนี้ว่าคอมมิวนิสต์จะไม่แทรกแซงกิจกรรมของประเทศอื่น แล้วทำไมคุณจึงให้อาวุธและความสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์มาลายามาโค่นรัฐบาลสิงคโปร์” (หมายเหตุผู้เขียน : รวมทั้งประเทศไทยด้วย)
2
และ
“ตราบใดที่คุณทำเรื่องนี้ ให้เงินพวกคอมมิวนิสต์ซื้ออาวุธ ก็เป็นไปได้ยากที่ผมจะชวนเพื่อนบ้านไปร่วมมือกับคุณ”
1
ประกาศนําจับคอมมิวนิสต์ในสิงคโปร์ปี 1951
เป็นการพูดกับผู้นำจีนอย่างตรงและแรง
(ลีกวนยูเคยพูดในปี 1955 ว่า “ผมถูกกล่าวหาหลายเรื่องในชีวิต ทว่าแม้แต่ศัตรูฉกาจของผมก็ไม่เคยกล่าวหาว่าผมกลัวที่จะพูดสิ่งที่อยู่ในหัวผมออกมา”)
5
ในกาลต่อมา ลีกวนยูเล่าเรื่องนี้หลายครั้ง ทั้งในปาฐกถาและหนังสือ รายละเอียดปลีกย่อยต่างกันเล็กน้อย แต่สาระเหมือนกันคือจีนอยากให้ประเทศกลุ่มอาเซียนรวมกันต้าน ‘หมีโซเวียต’ แต่พวกอาเซียนกลับต้องการรวมกันต้าน ‘มังกรจีน’ เพราะอาเซียนกลัวจีนมากกว่า จีนสนับสนุนพวกคอมมิวนิสต์ในเอเชียอาคเนย์ ส่งวิทยุกระจายเสียงมาจากตอนใต้ของจีน ให้พวกคอมมิวนิสต์ต่อต้านรัฐบาล
1
ลีกวนยูบอกเติ้งเสี่ยวผิงว่า คลื่นวิทยุที่ออกอากาศจากจีนไปประเทศต่างๆ ให้คนจีนโพ้นทะเลในอาเซียน ทำให้อาเซียนไม่สบายใจ
1
เติ้งเสี่ยวผิงนั่งฟังเงียบๆ รู้ดีว่าลีกวนยูพูดตรงๆ แต่มันเป็นความจริง
ลีกวนยูพูดแล้วก็คาดว่าเติ้งเสี่ยวผิงจะตอกกลับแรงๆ
แต่เติ้งเสี่ยวผิงหยุด มองลีกวนยูแล้วบอกว่า “คุณจะให้ผมทำอะไร?”
1
ลีกวนยูงันไปเพราะผิดคาดที่ผู้นำประเทศยักษ์ใหญ่เอ่ยประโยคนี้
1
ลีกวนยูนึกในใจ บอกตัวเองว่า “คนคนนี้ทำธุรกิจด้วยได้ว่ะ”
1
ลีกวนยูตอบว่า “หยุดออกอากาศวิทยุนั่น หยุดการเรียกร้องความสนใจแบบนั้น มันจะดีกว่าสำหรับคนจีนโพ้นทะเล ถ้าจีนหยุดตอกย้ำเรื่องความเกี่ยวดองทางสายโลหิตเพื่อเรียกร้องความเห็นใจ ถ้าจีนพูดเรื่องสายเลือดจีนอย่างโจ่งแจ้งอย่างนี้ มันทำให้พวกเขาเพิ่มความระแวงต่อจีน จีนต้องหยุดออกอากาศจากจีนตอนใต้ที่กระทำโดยพรรคคอมมิวนิสต์มาลายาและอินโดนีเซีย”
3
เติ้งเสี่ยวผิงหยุดครู่ใหญ่ บอกว่า “ขอเวลาผมหน่อย”
ลีกวนยูไม่ได้พบเติ้งเสี่ยวผิงจน 18 เดือนต่อมา ในปี 1980 ที่กรุงปักกิ่ง เติ้งเสี่ยวผิงบอกลีกวนยูว่า “เราสั่งพวกนั้นให้หยุดแล้ว เราปิดสถานีวิทยุพวกนั้นแล้ว”
1
จีนปิดสวิตช์ทั้งพรรคคอมมิวนิสต์มาลายาและพรรคคอมมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
4
เรื่องนี้ย่อมเกี่ยวข้องกับบทบาทของไทยเช่นกัน
ไทยไปหาจีน
ในปี 1978 เมื่อเติ้งเสี่ยวผิงพบลีกวนยูที่สิงคโปร์ ลีกวนยูถามเติ้งเสี่ยวผิงว่าจะทำอย่างไรกับสถานการณ์ชายแดนไทย เมื่อ พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ของไทยเกหมดหน้าตักไว้ที่จีน ก่อนไปสิงคโปร์ เติ้งเสี่ยวผิงเยือนไทยก่อน ฝ่ายไทยต้อนรับผู้นำจีนอย่างดีเลิศ
1
ลีกวนยูเห็นว่าถ้าเวียดนามข้ามแม่น้ำโขง จีนควรทำอะไรบางอย่าง
2
เติ้งเสี่ยวผิงบอกว่าขอคิดดูก่อน
4
ไทยกับจีนเหมือนพี่น้องกันก็จริง แต่อุดมคติทางการเมืองทำให้ต้องเป็นศัตรูกันมาหลายสิบปี
2
ตั้งแต่ยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ต่อต้านจีนอย่างหนัก ไปจนถึงยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่ได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐฯให้ต่อต้านคอมมิวนิสต์ ‘จีนแดง’ เป็นคำต้องห้าม
1
ในยุคที่ไทยถูกกระหนาบด้วยประเทศคอมมิวนิสต์ยักษ์ใหญ่ทั้งจีนและโซเวียตประเทศไทยเลือกยืนฝั่งสหรัฐฯ ต่อต้านทุกอย่างเกี่ยวกับคอมมิวนิสต์ด้วยคุกและโทษประหาร
คอมมิวนิสต์คือปิศาจร้าย!
จนลมเปลี่ยนทิศเมื่อเกิดสิ่งที่เรียกว่า ‘การทูตปิงปอง’
5
ในปี 1971 ไทยส่งทีมปิงปองไปเชื่อมสัมพันธ์กับจีนผ่านกีฬา พร้อมคนระดับสูงที่ไปเจรจากับจีนคือ ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ กับ วรรณไว พัธโนทัย ทั้งสองได้เข้าพบเจ้าหน้าที่ชั้นสูงของจีน
3
ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ หรือ โค้วตงหมง เคยเป็นประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีหลายกระทรวง
ครั้งหนึ่งในการประชุมสภาที่วุ่นวาย เขาบ่นว่า “ยุ่งตายห่ะ” กลายเป็นวลีทองประจำตัวเขาไป
1
ประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ มาจากภาคเอกชน มีตําแหน่งสําคัญในธนาคารกรุงเทพจํากัด นอกจากนี้ยังเป็นนักเขียน นักหนังสือพิมพ์เป็นผู้แปลหนังสือชื่อ เจียงไคเช็ค ประมุขจีนใหม่ และรัฐธรรมนูญแห่งสหภาพโซเวียต เขาเขียนบทความเกี่ยวกับการเมืองสม่ําเสมอ จึงรู้เรื่องจีน
3
วรรณไว พัธโนทัย คือบุตรชายของ สังข์ พัธโนทัย อดีตที่ปรึกษาคนสําคัญของจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ต่อมา สังข์ พัธโนทัย มีบทบาทเป็นตัวกลางติดต่อให้แกนนําพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเจรจากับฝ่ายรัฐบาล เพื่อหาทางยุติสงครามของรัฐกับคอมมิวนิสต์ โดยเป็นผู้พา พ.อ. ชวลิต ยงใจยุทธไปคุยกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยที่ภาคอีสาน
3
แต่ความสัมพันธ์ไทยกับจีนที่กำลังจะเริ่ม ถูกเหตุการณ์ 14 ตุลาคมทำให้ชะงัก มารื้อฟื้นใหม่ในยุค ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
2
มันเป็นหมากตาบังคับ เพราะภูมิรัฐศาสตร์เปลี่ยนไป สหรัฐฯเปลี่ยนเกม ไปจับมือกับจีน ไทยจะอยู่เฉยๆ อย่างเดิมไม่ได้
วันที่ 17 เมษายน ปี 1975 กองทัพเขมรแดงเข้ายึดกรุงพนมเปญ วันที่ 30 เมษายน กองทัพเวียดนามเหนือบุกเข้ากรุงไซ่ง่อน Domino effect อาจเกิดขึ้นทุกเมื่อ
1
เวียดนามเหนือแสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อไทย ฝ่ายไทยต้องเดินยุทธศาสตร์ที่ถูกต้องและรวดเร็ว
1
นายกรัฐมนตรีไทยเวลานั้น ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ตัดสินใจไปเข้าหาจีน
1
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช อยู่ฝ่ายต่อต้านคอมมิวนิสต์มาตลอด แต่เมื่อคำนึงถึงผลประโยชน์และเอกราชของเมืองไทย ก็ยอมเปลี่ยนเกมไปหาคอมมิวนิสต์
4
เช่นเดียวกับที่ในเวลาต่อมา เติ้งเสี่ยวผิงผู้เป็นคอมมิวนิสต์ ยอมลดละหลักการที่ยึดมั่นมาหลายปี ไปโอบรับทุนนิยม ‘แมวดำ-แมวขาว’
1
แน่นอนไม่ทุกฝ่ายในไทยเห็นด้วยกับการเดินหมากปรับความสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน เพราะเล่นกับคอมมิวนิสต์ก็เหมือนเล่นกับไฟ ฝ่ายทหารหลายคนไม่เห็นด้วย แต่รัฐบาลเดินหน้า การเป็นมิตรกับสาธารณรัฐประชาชนจีนนั้นจะทำให้ไทยมีความมั่นคงมากกว่าอิงสหรัฐฯ เพราะไทยอยู่ติดพื้นที่สีแดง ไทยหวังพึ่งจีนช่วยปรามเวียดนามหากคิดรุกรานไทย
1
อีกประการ จีนยังสามารถปรามพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยในอาณัติของตน
1
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช พบเหมาเจ๋อตง
แล้วจีนต้องการอะไรจากไทย?
4
เมื่อสหรัฐฯถอนตัวออกไปจากเอเชียอาคเนย์หลังแพ้สงครามเวียดนาม ก็เกิดสุญญากาศแห่งอำนาจในพื้นที่นี้ โซเวียตย่อมเข้ามาแทนที่ หากไทยอยู่ฝ่ายจีน ย่อมช่วยสกัดกั้นการแผ่อิทธิพลของโซเวียตในภูมิภาคนี้
2
ก่อนที่ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เดินทางไปจีน ทั้งไทยและจีนทํางานหลังฉากมาก่อนแล้ว ฝ่ายไทยนําโดยนายอานันท์ ปันยารชุน เอกอัครราชทูตไทยประจํากรุงวอชิงตัน และผู้แทนถาวรประจําองค์การสหประชาชาติ ทีมงานคนสําคัญได้แก่ เตช บุนนาค (ต่อมาเป็นเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน) ชวาล ชวณิชย์ จากกรมการเมือง สุจินดา ยงสุนทร จากกรมสนธิสัญญา
3
คณะ อานันท์ ปันยารชุน ไปเจรจากับฝ่ายจีนในวันที่ 18-20 มิถุนายน 1975 และตกลงกันได้ ปัจจัยหนึ่งที่ทําให้การเจรจาสําเร็จราบรื่นคือความเป็นพี่น้องของจีนกับไทย
2
ไทยก็ยอมรับหลักการ One China คือมีจีนประเทศเดียว
1
วันที่ 30 มิถุนายน 1975 ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็เดินทางไปเมืองจีน พร้อม พล.ต. ชาติชาย ชุณหะวัณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและคณะ เปิดฉากใหม่ของความสัมพันธ์ไทย-จีน และส่งผลต่อการเมืองในภูมิภาคนี้
3
เกมภูมิรัฐศาสตร์แห่งเอเชียอาคเนย์เปลี่ยนไปอีกครั้ง อาเซียนจะยอมร่วมมือกับจีนต้านโซเวียต ก็ต่อเมื่อจีนยุติบทบาทสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ในอาเซียน
3
โฆษณา