Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
aomMONEY
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
3 พ.ค. 2024 เวลา 14:30 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
ภาพสะท้อนหนี้คนไทยจาก 'เธอ ฟอร์ แคช'
ที่ชี้ให้เห็นว่ามันเป็นเรื่องอันตรายแค่ไหน หากเราไม่เข้าใจเรื่องการเงิน
1
[Lifestyle] กระแสมาแรงกว่าที่คิดกับภาพยนตร์เรื่อง #เธอฟอร์แคช สินเชื่อ..รักแลกเงิน ซึ่งรีเมกจากภาพยนตร์ต้นฉบับจากเกาหลีเรื่อง ‘Man in love’ ที่เคยรีเมกในฉบับไต้หวันมาก่อนหน้านี้ด้วย
2
วันนี้เราจะมาคุยกันในเวอร์ชันบ้านเราที่ได้ ‘ญาญ่า-อุรัสยา’ ที่ประกบคู่กับ ‘ไบร์ท-วชิรวิชญ์’ กำกับโดย ‘วา-วาสุเทพ เกตุเพ็ชร์’ ว่ามีอะไรน่าสนใจ ในมุมมองของ #aomMONEY
ภาพยนตร์แนว ‘โรแมนติก-ดราม่า’ (Romantic Drama) ที่เกี่ยวข้องกับ ‘โบ้’ ชายผู้มีหน้าที่เก็บเงินจากลูกหนี้นอกระบบในเมืองพัทยา ที่มาตกหลุมรัก ‘อิ๋ม’ ลูกสาวของลุงอ๊อด ( วัชระ ปานเอี่ยม) หญิงสาวที่มีความพยายามดิ้นรนพาตัวเองออกจากวังวนของหนี้สินที่พ่อเธอก่อ
1
ภาพยนตร์สะท้อนเรื่องความโหดร้ายของการเป็นหนี้ ชี้ให้เห็นถึงความอันตรายแต่กลับเข้าถึงง่ายของหนี้นอกระบบ
8
ดอกเบี้ยรายวันแสนแพงที่สร้างภาระให้ลูกหนี้ที่ดูไม่มีท่าทีจะจบลง และความสำคัญของการวางแผนการเงิน การออมและการทำประกันภัย
ช่วงต้น หนังใช้ความเซอร์เรียล (Surreal) ของพระเอกในการเรียกรอยยิ้ม สร้างความฟินให้คนดูในช่วงกลางเรื่อง ก่อนลากเข้าสู่ความดำมืดแห่งปัญหาที่ไร้ทางออกของเหล่าตัวเอกในช่วงท้าย
น่าเสียดายที่หนังขาดรายละเอียดบางอย่าง เช่น ความสัมพันธ์ของพระเอกกับพ่อที่ไม่เข้าใจกันแต่ก็ไม่รู้ว่าทำไมถึงจูนกันไม่ติด หรือการตัดสินใจบางอย่างที่ดูเหมือนจะมีทางเลือกที่ดีกว่าแต่ก็ไม่ทำ
2
แต่แม้จะมีความไม่สมเหตุสมผลบางอย่าง หรือการทำให้เรื่องเซอร์เรียลตอนต้นส่งผลใหญ่เกินไปในตอนท้าย แต่ก็ยังได้การแสดงอันยอดเยี่ยมของคู่พระนางและนักแสดงสมทบตัวแม่อย่าง เบนซ์ พรชิตา มานำพาหนังไปจนจบในระดับยอดเยี่ยม
🚨[[ #สถานการณ์หนี้คนไทย ]]
ภาพยนตร์เรื่องนี้ตีแผ่เรื่องหนี้ได้อย่างชัดเจน ต้นตอสาเหตุของการเป็นหนี้ ทั้งการเที่ยวเตร่ การพนัน บางคนก็ต้องแบกรับปัญหาจากครอบครัวจนโงหัวไม่ขึ้น
ในโลกความเป็นจริงก็ต้องบอกว่าไม่แตกต่าง โดยเฉพาะหลังโควิด ที่ดูเหมือนสถานการณ์หนี้ครัวเรือนของประเทศไทยจะยิ่งขยายใหญ่
1
โดยแบบสำรวจ ‘SCB EIC Consumer Survey 2023’ ของธนาคารไทยพาณิชย์พบว่า
82% ของผู้ตอบแบบสอบถาม มีปัญหารายได้โตไม่ทันรายจ่าย
63% ของผู้ตอบเป็นหนี้
32% เป็นหนี้ในระบบ
22 % เป็นหนี้ทั้งในและนอกระบบ
9% เป็นหนี้นอกระบบเพียงอย่างเดียว
🥸[[ #ทักษะทางการเงิน ]]
อีกข้อมูลที่น่าสนใจในแบบสำรวจ SCB EIC Consumer Survey 2023 คือเรื่อง ‘ทักษะทางการเงิน’ (Financial Literacy) ซึ่งประกอบไปด้วย ‘ความรู้ทางการเงิน’ (Financial Knowledge) ‘พฤติกรรมทางการเงิน’ (Financial Behavior) และ ‘ทัศนคติทางการเงิน’ (Financial Attitude)
โดยรายงานบอกว่า คนไทยมี #ความรู้ทางการเงิน ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง ซึ่งหมายความว่า คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจเรื่องเงินค่อนข้างดี เช่น รู้ว่าเงินเฟ้อคืออะไร คำนวณดอกเบี้ยได้
#พฤติกรรมทางการเงิน ก็อยู่ในระดับปานกลาง กล่าวคือ มีการจัดสรรเงินก่อนนำไปใช้เป็น บริการจัดการเงินเป็น
1
แต่ปัญหากลับอยู่ที่คนไทยมี #ทัศนคติทางการเงิน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับไม่สูงนัก ทำให้การไตร่ตรองในการใช้เงินไม่ละเอียด รวมถึงไม่ค่อยให้ความสำคัญต่อการออมเงินเพื่ออนาคต เป็นต้น ซึ่งอาจจะพูดว่า การก่อหนี้ในบางครั้ง ไม่ได้เกิดจากความจำเป็น แต่เกิดจากอารมณ์พาไป
1
💲[[ #หนี้ไม่ใช่แค่ตัวเลข ]]
ปัญหาเรื่องหนี้ หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องของตัวเลข เมื่อยอดเงินติดลบ ทำให้เป็นบวกก็จบ
แต่ความจริงแล้ว การบริหารจัดการเงินที่ผิดพลาดนั้น ส่งผลกระทบต่อคนใกล้ตัวด้วย
ยกตัวอย่างเช่น นางเอกของเรื่อง ที่ต้องรับภาระหนี้สิน โดนตามทวงจากเจ้าหนี้นอกระบบ ส่งผลต่อสุขภาพจิต เกิดความเครียด กระทบต่อชีวิตประจำวันรวมถึงมีปัญหากับที่ทำงาน
ดังนั้นคนที่ประสบปัญหาหนี้สินหนักๆ จึงมักมีประสิทธิภาพในการทำงานหรือระดับคุณภาพการใช้ชีวิตลดลงไปด้วย
💵[[ #การบริหารจัดการหนี้ ]]
ในภาพยนตร์จะมีพระเอกอย่างโบ้ ที่ใจดีช่วยลูกหนี้อยู่บ่อยๆ บางครั้งช่วยสร้างรายได้ ไปจนถึงการจ่ายดอกเบี้ยแทนเลยก็มี
ในชีวิตจริงนั้น คงยากที่จะมีคนทวงหนี้ใจดีแบบ ดังนั้นสิ่งสำคัญนอกเหนือจากความรู้ด้านการเงินที่ถูกต้องแล้ว การบริหารจัดการหนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญ
แล้วจะเริ่มยังไงดี?
✅ 1 ประเมินตัวเอง
การแก้หนี้ก็เหมือนเรื่องอื่นที่ต้องตั้งเป้าหมาย ต้องรู้ว่ามีรายได้เท่าไหร่ เพื่อประเมินความสามารถในการใช้หนี้
เงินเข้าจากไหน จ่ายออกไปไหน เหลือเท่าไหร่ บริหารจัดการหนี้อย่างไรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
✅ 2 เจรจา
แม้ว่าเราจะยังจ่ายหนี้ไม่ได้ แต่ใช่ว่าจะพูดคุยกันไม่ลงตัว ถ้าเป็นหนี้ในระบบ การพูดคุยหาทางออกร่วมกันก็อาจจะช่วยได้
ลองขอเข้าไปเจรจา ไหวเท่าไหร่ พูดคุยตกลงกัน แต่กับหนี้นอกระบบอาจจะใช้วิธีนี้ลำบาก แต่ก็คงต้องลอง เชื่อว่าถ้าตั้งใจแก้ปัญหาจริงยังไงก็มีทางไปต่อได้
✅ 3 โปะ-ปิดได้ ให้รีบทำ
ลูกหนี้อาการหนักส่วนใหญ่เป็นหนี้หลายทาง ถ้าพอจะมีเงินเข้าบ้างก็ให้รีบจัดการหนี้ที่เหลือน้อยให้จบก่อน
อย่าเพิ่งไปดูเรื่องดอกเบี้ยที่ไหนสูงกว่า ต่ำกว่า เพราะการปิดหนี้บางรายการได้ นอกจากจะทำให้มีเงินเหลือในการใช้หนี้อื่นเยอะขึ้นในรอบต่อไปแล้ว ยังช่วยให้มีกำลังใจเพิ่มขึ้นด้วย
✅ 4 อย่าสร้างหนี้เพิ่ม
อย่าก่อหนี้ใหม่ ไม่สร้างภาระเพิ่ม หยุดการใช้ชีวิตฟุ่มเฟือย ช่วงแก้หนี้ต้องเหนื่อยหน่อย ให้กำลังใจตัวเองเสมอว่า ชีวิตที่ดีนั้นรอเราอยู่
✅ 5 สร้างนิสัยการเงินใหม่
สุดท้ายคือการสร้างนิสัยใหม่ เข้าไปดูรายละเอียดการใช้เงิน อันไหนไม่ได้ใช้ก็ตัดทิ้ง เรื่องไหนเสียเงินอย่าเพิ่งไปยุ่ง Streaming หนัง ละครพักก่อน วันชอปปิง 1.1, 2.2 หรือโปรโมชันอะไรต่างๆ อดใจไว้ ทำตามเป้าหมายให้ได้ เมื่อทำเป็นนิสัย ก็จัดการอะไรก็ง่ายขึ้น
😓[[#ในหนังและความเป็นจริง ]]
แม้ ‘เธอฟอร์แคช’ สะท้อนปัญหาหลายอย่าง ทั้งเรื่องหนี้นอกระบบ การทวงเงินแบบฮาร์ดคอร์ จนก่อความรุนแรง ปัญหาค่าครองชีพ ทัศนคติการใช้เงิน ความเหลื่อมล้ำ หรือแม้กระทั่งการเข้าไม่ถึงสินเชื่อของกลุ่มคนเปราะบาง จนทำให้รู้สึกแย่
แต่มันทำให้เห็นภาพว่ามันเป็นเรื่องที่อันตรายแค่ไหนหากไม่เข้าใจเรื่องการเงิน
ใครยังพอปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายได้ก็ควรรีบจัดการ ไม่ก่อหนี้ที่ไม่จำเป็น เก็บออม และบริหารจัดการเรื่องเงินให้ดี
แต่ใครมีปัญหาหนี้หรือสภาพคล่อง ก็ขอเป็นกำลังใจให้ผ่านวิกฤตให้ได้ อาจจะใช้เวลาหน่อยแต่ถ้าตั้งใจจริงก็ทำได้
สุดท้ายอยากฝากคำที่ลุงอ๊อดบอกกับโบ้ก่อนจากโลกนี้ไปว่า
‘คนเรามันต้องมีความหวัง คนที่ไม่มีความหวัง ก็มีแต่คนตายเท่านั้นแหละ’
เรียบเรียงโดย อติพงษ์ ศรนารา
อ้างอิง :
https://www.scbeic.com/.../SCB-EIC_In-Focus_Consumer
...
https://www.facebook.com/story.php/?story_fbid=794179989416987&id=100064749784425&paipv=0&eav=AfYdiXrLbABC8eNwcihW1Qfc7LukHY0mCqqccefv8X5kDrk-siAF3TdZh4FF_JOWv1Y&_rdr
#ออมมันนี #เธอฟอร์แคช #ภาพยนตร์ไทย #หนี้นอกระบบ #ญาญ่า #ไบร์ท #การเงิน #การบริหารจัดการ #ครอบครัว
63 บันทึก
58
3
94
63
58
3
94
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย